คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 651/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

คำฟ้องในข้อหาฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานเมื่อโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดตลอดทั้งข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆอีกทั้งบุคคลที่เกี่ยวข้องคือเจ้าหน้าที่แผนกบัตรประจำตัวประชาชน.ที่ว่าการอำเภอเมืองนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมาซึ่งพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วแม้จะไม่ได้ระบุชื่อของเจ้าพนักงานผู้รับแจ้งมาในฟ้องด้วยก็ไม่ทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุม. จำเลยเป็นคนญวนยื่นคำร้องขอมีบัตรประจำตัวประชาชนต่อเจ้าหน้าที่แผนกบัตรประจำตัวโดยอ้างว่าเป็นบุคคลสัญชาติไทย.แม้ผู้รับแจ้งจากจำเลยเป็นลูกจ้างชั่วคราวแต่ก็ได้นำเรื่องเสนอต่อช.และว.ซึ่งเป็นปลัดอำเภอทำหน้าที่ฝ่ายบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อตรวจหลักฐานแล้วดำเนินการส่งต่อไปยังกองบัตรประจำตัวประชาชนถือว่าจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา137แต่การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา267เพราะผู้ที่รับแจ้งจากจำเลยและเป็นผู้จดข้อความตามที่จำเลยแจ้งเป็นลูกจ้างชั่วคราวมิใช่เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย เป็น บุคคล เชื้อชาติ ญวน สัญชาติ ญวน กระทำ ผิดกฎหมาย หลายบท หลายกรรม ต่างกัน กล่าวคือ
ก. เมื่อ ระหว่าง วันที่ 22 เมษายน 2519 เวลา กลางวัน ถึง วันที่14 มีนาคม 2523 เวลา กลางวัน วัน เวลา ใด ไม่ ปรากฏ ชัด จำเลย ซึ่ง ไม่มี สิทธิ เข้า รับราชการทหาร และ ไม่ มี สิทธิ ได้ รับ ใบสำคัญ แสดงสถานะ ทาง ทหาร แบบ สค. 9 ได้ ปลอม เอกสาร ใบสำคัญ แสดง สถานะ ทาง ทหารแบบ สด. 9 ที่ 450 แทน ฉบับ ชำรุด สูญหาย อัน เป็น เอกสาร ราชการ ของที่ว่าการ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ขึ้น ทั้ง ฉบับ โดย ประการ ที่ น่าจะ เกิด ความเสียหาย ต่อ หัวหน้า เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร และ สัสดีเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร และ เพื่อ ให้ ผู้อื่น หลงเชื่อ ว่า เป็นเอกสาร ราชการ อัน แท้จริง เหตุ เกิด ที่ ตำบล ใด ไม่ ปรากฏ ชัด ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร และ ที่ ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองนครราชสีมาจังหวัด นครราชสีมา เกี่ยวพัน กัน
ข. เมื่อ วันที่ 22 เมษายน 2519 เวลา กลางวัน จำเลย ซึ่ง ประสงค์ จะขอ มี บัตรประจำตัว ประชาชน ไว้ ใช้ เป็น พยานหลักฐาน ว่า ตน เป็นบุคคล มี สัญชาติ ไทย ได้ นำ ข้อความ ที่ จำเลย รู้ อยู่ แล้ว ว่าเป็น ความเท็จ แจ้ง ต่อ เจ้าหน้าที่ แผนก บัตรประจำตัว ประชาชน ของที่ว่ารการ อำเภอ เมืองนครราชสีมา จังหวัด นครราชสีมา ว่า จำเลย เป็นบุคคล เชื้อชาติ ไทย สัญชาติ ไทย มี บิดา ชื่อ นาย พรหมา มารดา ชื่อนาง ศูนย์ และ อ้าง เอกสาร สำเนา ทะเบียนบ้าน เลขที่ 238 ถนน จอมพลตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองนครราชสีมา จังหวัด นครราชสีมา ของ จำเลยอัน เป็น เอกสาร ราชการ ที่ จำเลย ได้ แจ้ง ให้ เจ้าพนักงาน ผู้ กระทำการ ตาม หน้าที่ จด ข้อความ อัน เป็น เท็จ ว่า จำเลย เป็น บุคคลสัญชาติ ไทย ชื่อ นาย ทองดี บุญเพิ่ม มี บิดา ชื่อ นาย พรหมา มารดาชื่อ นาง ศูนย์ ลง ใน เอกสาร ราชการ ดังกล่าว เพื่อ ใช้ เป็นพยานหลักฐาน ว่า จำเลย เป็น บุคคล สัญชาติ ไทย แล้ว ยื่น คำขอ มีบัตรประจำตัว ประชาชน ต่อ เจ้าหน้าที่ แผนก บัตรประจำตัว ประชาชน ซึ่งเป็น เจ้าพนักงาน ผู้ มี อำนาจ ออก บัตรประจำตัว ประชาชน หลงเชื่อ ในความเท็จ ที่ จำเลย แจ้ง และ เอกสาร สำเนา ทะเบียนบ้าน ที่ จำเลย อ้างจึง ได้ จด ข้อความ อัน เป็น เท็จ ลง ใน แบบพิมพ์ คำขอ มี หรือ เปลี่ยนบัตรประจำตัว ประชาชน (แบบ บป. 1) และ แบบพิมพ์ ใบรับ คำขอ มี หรือเปลี่ยน บัตรประจำตัว ประชาชน (แบบ บป. 2) ซึ่ง เป็น เอกสาร ราชการ ของที่ว่าการ อำเภอ เมืองนครราชสีมา และ ดำเนินการ จน ได้ ออกบัตรประจำตัว ประชาชน เลขที่ 2 นม. 1-110360 ให้ กับ จำเลย ใน เวลาต่อมา ความจริง จำเลย มี เชื้อชาติ ญวน สัญชาติ ญวน ชื่อ นาย หวาน หรือหาญ แซ่เล เป็น บุตร นาย เกอ นาง ฟาน แซ่เล ซึ่ง มี เชื้อชาติ ญวนสัญชาติ ญวน จำเลย จึง ไม่ มี สิทธิ มี บัตรประจำตัว ประชาชน การ กระทำของ จำเลย ทำ ให้ อำเภอ เมืองนครราชสีมา และ กองบัตรประจำตัว ประชาชนกระทรวง มหาดไทย เสียหาย เหตุ เกิด ที่ ตำบล ในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัด นครราชสีมา
ค. เมื่อ วันที่ 6 มีนาคม 2522 เวลา กลางวัน จำเลย ซึ่ง ประสงค์ จะ มีบัตรประจำตัว ประชาชน ไว้ เพื่อ ใช้ เป็น พยานหลักฐาน ว่า ตน มีสัญชาติ ไทย ได้ นำ ข้อความ ที่ จำเลย รู้ อยู่ แล้ว ว่า เป็น ความเท็จแจ้ง ต่อ เจ้าหน้าที่ แผนก บัตรประจำตัว ประชาชน ของ ที่ว่าการ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัด นครราชสีมา ว่า จำเลย มี เชื้อชาติ ไทยสัญชาติ ไทย บุตร นาย พรหมา นาง ศูนย์ และ อ้าง เอกสาร สำเนาทะเบียนบ้านเลขที่ 238 ถนนจอมพล ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ของ จำเลย ดังกล่าว ใน ฟ้อง ข้อ ข. แล้ว ยื่น คำขอ มีบัตรประจำตัว ประชาชน แทน บัตรประจำตัว ประชาชน ฉบับเลขที่ 2 นม.1-110360 ซึ่ง จำเลย อ้างว่า สูญหาย เจ้าหน้าที่ แผนกบัตรประจำตัวประชาชน อำเภอ เมืองนครราชสีมา จังหวัด นครราชสีมาซึ่ง เป็น เจ้าพนักงาน ผู้ มี อำนาจ ออก บัตรประจำตัวประชาชน หลงเชื่อ ใน ความเท็จ ที่ จำเลย แจ้ง และเอกสาร สำเนา ทะเบียนบ้าน ที่ จำเลย อ้าง จึง ได้ จด ข้อความ อัน เป็นเท็จ นั้น ลง ใน แบบพิมพ์ คำขอ มี หรือ เปลี่ยน บัตรประจำตัว ประชาชน(แบบ บป. 1) และ แบบพิมพ์ ใบรับ คำขอ มี หรือ เปลี่ยน บัตรประจำตัวประชาชน (แบบ บป. 2) ซึ่ง เป็น เอกสาร ราชการ ของ ที่ว่าการ อำเภอเมืองนครราชสีมา และ ดำเนินการ จน ได้ ออก บัตรประจำตัว ประชาชน เลขที่3 นม. 1-068557 ให้ จำเลย ซึ่ง ความจริง บัตรประจำตัว ประชาชน เลขที่2 นม. 1-110360 มิได้ สูญหาย และ จำเลย ก็ เป็น บุคคล เชื้อชาติ ญวนสัญชาติ ญวน ไม่ มี สิทธิ มี บัตรประจำตัว ประชาชน การ กระทำ ของ จำเลยทำ ให้ อำเภอ เมืองนครราชสีมา และ กองบัตรประจำตัว ประชาชน กระทรวงมหาดไทย เสียหาย เหตุ เกิด ที่ ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองนครราชสีมาจังหวัด นครราชสีมา
ง. เมื่อ วันที่ 14 มีนาคม 2523 เวลา กลางวัน จำเลย อ้าง ใบสำคัญแสดง สถานะ ทางทหาร แบบ สด. 9 ที่ 450 แทน ฉบับ ชำรุด สูญหาย ซึ่ง เป็นเอกสาร ปลอม ตาม ฟ้อง ข้อ ก. และ บัตรประจำตัว ประชาชน เลขที่ 2 นม.1-110360 ของ จำเลย ซึ่ง เป็น เอกสาร ราชการ ที่ ทางราชการ ออก ให้เนื่องจาก จำเลย แจ้ง ให้ เจ้าพนักงาน ผู้ กระทำการ ตาม หน้าที่ จดข้อความ อัน เป็น เท็จ ว่า จำเลย มี สัญชาติ ไทย ดังกล่าว ใน ฟ้อง ข้อข. อ้าง ต่อ ร้อยตำรวจเอก บรรเจิดศักดิ์ เปรมปรีดิ์ รองสารวัตร ปกครองป้องกัน สถานีตำรวจ ภูธร อำเภอ เมืองนครราชสีมา เพื่อ เป็น หลักฐานแสดงว่า ตน เป็น บุคคล สัญชาติ ไทย ซึ่ง น่า จะ ทำ ให้ หัวหน้า เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร สัสดี เขต ดุสิต กรุงเทพมหานคร อำเภอเมืองนครราชสีมา และ กองบัตรประจำตัว ประชาชน กระทรวง มหาดไทย เสียหายและ เพื่อ ให้ ร้อยตำรวจเอก บรรเจิดศักดิ์ เปรมปรีดิ์ หลงเชื่อ ว่าเป็น เอกสาร ราชการ อัน แท้จริง เหตุ เกิด ที่ ตำบล ในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัด นครราชสีมา ขอ ให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137, 265, 267, 268, 91 ประกาศ ของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11ลง วันที่ 21 พฤศจิกายน 2514 ข้อ 2 ริบ บัตรประจำตัว ประชาชน เลขที่3 นม. 1-068557 ของกลาง
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา265 ตาม ฟ้อง ข้อ ก. กระทง หนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137, 267,90 ลงโทษ ตาม มาตรา 267 ซึ่ง เป็น บทหนัก ตาม ฟ้อง ข้อ ข. กระทง หนึ่งตาม ฟ้อง ข้อ ค. กระทง หนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 ตาม ฟ้องข้อ 2. อีก กระทง หนึ่ง สำหรับ ความผิด ตาม มาตรา 265 ตาม ฟ้อง ข้อ ก.และ ความผิด ตาม มาตรา 268 ตาม ฟ้อง ข้อ ง. ให้ ลงโทษ ตาม มาตรา 268ตาม ฟ้อง ข้อ ง. แต่ กระทง เดียว ให้ ลงโทษ จำเลย เรียง กระทง ความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ให้ ลงโทษ จำเลย กระทง แรก และ กระทง ที่สอง (ตาม ฟ้อง ข้อ ข. และ ข้อ ค.) จำคุก กระทง ละ หก เดือน กระทง ที่สาม (ตาม ฟ้อง ข้อ ก. และ ง.) จำคุก หนึ่ง ปี รวม สาม กระทง จำคุก สองปี
จำเลย อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ เห็น ว่า ฟ้อง โจทก์ ข้อหา แจ้งความ และ ให้จด ข้อความ เท็จ เคลือบคลุม พยาน โจทก์ ไม่ พอ ฟัง ว่า จำเลย ปลอมเอกสาร ราชการ และ ใช้ เอกสาร ราชการ ปลอม พิพากษา กลับ ให้ ยกฟ้อง
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ‘ปัญหา ข้อ แรก โจทก์ ฎีกา ว่า ฟ้อง ข้อ ข. และข้อ ค. บรรยาย ข้อเท็จจริง และ รายละเอียด ครบถ้วน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว ไม่ จำต้อง ระบุชื่อ เจ้าพนักงาน ศาลฎีกา เห็น ว่า โจทก์ บรรยฟ้อง ข้อ ข. และ ข้อ ค.ถึง การ กระทำ ทั้งหลาย ที่ อ้างว่า จำเลย ได้ กระทำ ผิด มี ข้อเท็จจริงและ รายละเอียด เกี่ยวกับ เวลา และ สถานที่ ซึ่ง เกิด การ กระทำ นั้นๆอีก ทั้ง บุคคล ที่ เกี่ยวข้อง คือ เจ้าหน้าที่ แผนก บัตรประจำตัวประชาชน ของ ที่ว่าการ อำเภอ เมืองนครราชสีมา จังหวัด นครราชสีมา ซึ่งพอ สมควร ที่ จะ ให้ จำเลย เข้าใจ ข้อหา ได้ ดี แล้ว แม้ จะ มิได้ ระบุชื่อ ของ เจ้าพนักงาน ก็ เป็น เรื่อง ที่ จะ นำสืบ กัน ใน ชั้น พิจารณาต่อไป ฟ้อง ข้อ ข. และ ข้อ ค. จึง ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) แล้ว ที่ ศาลอุทธรณ์พิพากษา ว่า ฟ้อง ข้อ ข. และ ข้อ ค. เคลือบคลุม ศาลฎีกา ไม่ เห็นพ้องด้วย ฎีกา ของ โจทก์ ข้อ นี้ ฟัง ขึ้น’
ส่วน ปัญหา ว่า จำเลย กระทำ ผิด ฐาน ปลอม เอกสาร ใบสำคัญ แสดง สถานะทางทหาร แบบ สด. 9 ที่ 450 แทน ฉบับ ชำรุด สูญหาย เอกสาร หมาย ล. 1 ตามฟ้อง ข้อ ก. หรือไม่ นั้น ศาลฎีกา เห็นว่า ‘โจทก์ ไม่ มี พยานหลักฐานอันใด แสดงว่า จำเลย ปลอม เอกสาร ดังกล่าว ข้อเท็จจริง ฟัง ได้ เพียงว่า จำเลย นำ เอกสาร ฉบับ นี้ ไป แสดง แก่ พันตำรวจตรี บรรเจิดศักดิ์เปรมปรีดิ์ เท่านั้น ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยกฟ้อง จำเลย ใน ข้อหา นี้ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา โจทก์ ข้อ นี้ ฟัง ไม่ ขึ้น’
สำหรับ ปัญหา ที่ ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา137, 267 ตาม ฟ้อง ข้อ ข. หรือ ค. หรือไม่ ‘ศาลฎีกา เห็น สมควร วินิจฉัยเสียก่อน ว่า จำเลย เป็น บุคคล สัญชาติ ไทย ชื่อ นาย ทองดี บุญเพิ่มหรือ เป็น คน ญวน อพยพ ชื่อ นาย หวาน หรือ หาญ แซ่เล โจทก์ มีพันตำรวจเอก สมัคร เกิดสว่างเนตร รองผู้บังคับการ ตำรวจภูธร 5 ซึ่งเคย รับราชการ เป็น ผู้บังคับกอง สถานีตำรวจ ภูธร อำเภอเมืองอุบลราชธานี มี หน้าที่ ควบคุม คน ญวน อพยพ พันตำรวจตรี ธวัชชัยเศรษฐมาตย์ ซึ่ง เคย รับราชการ ที่ สถานีตำรวจ ภูธร อำเภอเมืองอุบลราชธานี มี หน้าที่ ทำ ทะเบียน คนต่างด้าว และ คน ญวน อพยพพันตำรวจตรี บุญช่วย สินค้า ซึ่ง เคย รับราชการ ที่ กองกำกับการ ตำรวจภูธร จังหวัด อุบลราชธานี มี หน้าที่ ควบคุม คน ญวน อพยพ เบิกความสอดคล้อง ต้องกัน หลังจาก ดู ภาพถ่าย จำเลย ใน บัตรประจำตัว ประชาชนเอกสาร หมาย จ. 6 ว่า จำเลย คือ นาย หวาน หรือ หาญ แซ่เล เป็น คน ญวนอพยพ อยู่ ใน ท้องที่ อำเภอ เมืองอุบลราชธานี จำเลย มี ตำหนิ ที่ เห็นได้ ชัดเจน คือ หูขวา ขาด พันตำรวจเอก สมัคร เบิกความ ว่า จำเลย หลบหนีออก นอก เขต ไป ประกอบ อาชีพ ที่ อำเภอ เมืองนครราชสีมา ถูก เจ้าพนักงานตำรวจ ท้องที่ จับกุม ส่ง ตัว จำเลย คืน มา จำเลย ได้ ทำ ทัณฑ์บน ไว้โดย จะ ไป รายงานตัว ทุก 7 วัน ปรากฏ ตาม เอกสาร หมาย ป.จ. 1 ว่า จำเลยให้ ถ้อยคำ ไว้ ว่า จำเลย ถูก จับกุม มา จาก บ้านเลขที่ 1669 ถนน จอมพลตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองนครราชสีมา เมื่อ วันที่ 23 กรกฎาคม 2507 ปรากฏตาม สำเนา ทะเบียนบ้าน หลัง นี้ เอกสาร หมาย ป.จ. 12 ไม่ มี ชื่อ นายหวาน หรือ หาญ แซ่เล มี แต่ ชื่อ นาย ทองดี บุญเพิ่ม พันตำรวจตรีธวัชชัย เบิกความ ว่า ใน ปี พ.ศ. 2513 พยาน พบ จำเลย ตั้ง ร้านค้า วิทยุอยู่ ที่ บ้านเลขที่ 1959 ถนน จอมพล ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองนครราชสีมาจึง รายงาน ผู้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชา สั่ง ให้ พยาน ตรวจสอบหลักฐาน เกี่ยวกับ จำเลย ที่ จังหวัด อุบลราชธานี พยาน ได้ตรวจสอบ หลักฐาน พบ เรื่อง จำเลย ขอ ย้าย ภูมิลำเนาไป อยู่ จังหวัด อุดรธานี ทางการ อนุมัติ แต่ ไม่ มีหลักฐาน ตอบรับ ว่า จำเลย ย้าย ไป อยู่ จังหวัด อุดรธานี แล้วพยาน จึง รายงาน ผู้บังคับบัญชา ให้ ทราบ ร้อยตำรวจเอก สุภร สุภรัตน์พนักงาน สอบสวน กองปราบปราม เบิกความ ว่า จำเลย สมคบ กับ นาย กรานต์บุญเพิ่ม และ นาย สม กำนัน ตำบล บัวลาย ทำ หลักฐาน ให้ จำเลย แจ้ง ย้ายเข้าไป อยู่ บ้าน เดียว กับ นาย กรานต์ บุญเพิ่ม และ จำเลย เป็น บุตรนาย พรหมา นาง ศูนย์ บิดา มารดา เดียว กับ นาย กรานต์ ข้อ นี้ นายกรานต์ นาง อาน เจริญตา ซึ่ง เป็น บุตร ของ นาย พรหมา นาง ศูนย์เบิกความ ตรงกัน ว่า ไม่ มี พี่น้อง ชื่อ ทองดี บุญเพิ่ม เมื่อ จำเลยย้าย ภูมิลำเนา เข้า ไป อยู่ ใน บ้าน นาย กรานต์ แล้ว ได้ มี การ แจ้งย้าย ออก ใน วันเดียวกัน แล้ว แจ้ง ย้าย ไป อยู่ ใน ที่ ต่างๆ จนกระทั่งไป อยู่ ใน บ้าน เลขที่ 1959 ถนน จอมพล ซึ่ง ทางการ ได้ เปลี่ยน เลขบ้าน เป็น เลขที่ 238 ภายหลัง ยิ่งกว่านั้น เมื่อ นำ ลายพิมพ์ นิ้วมือจำเลย ไป เปรียบเทียบ กับ ลายพิมพ์ นิ้วมือ ของ นาย เหวียน หรือ หาญแซ่เล ก็ ปรากฏ ว่า เป็น ลายพิมพ์ นิ้วมือ ของ บุคคล เดียว กัน ปรากฏตาม เอกสาร หมาย ป.จ. 2 และ เอกสาร หมาย ป.จ. 6 แม้ โจทก์ จะ มิได้ นำเจ้าหน้าที่ ผู้ พิสูจน์ นิ้วมือ มา เบิกความ แต่ ก็ มี บันทึก ของร้อยตำรวจเอก ประพันธ์ บุญเอี่ยม สารวัตร แผนก ทะเบียน ประวัติ ยืนยันผล การ ตรวจ พิสูจน์ ลายพิมพ์ นิ้วมือ ดังกล่าว เป็น ทางราชการ ไป ยังสารวัตรใหญ่ สถานี ตำรวจ ภูธร อำเภอ เมืองนครราชสีมา และ เมื่อเปรียบเทียบ ลายพิมพ์ นิ้วมือ เอกสาร ใน ทั้ง สอง ฉบับ ดู แล้ว ลายพิมพ์นิ้วมือ ของ บุคคล ทั้ง สอง เหมือน กัน ทุก นิ้ว พยานหลักฐาน ของ โจทก์เชื่อ ได้ ว่า จำเลย คือ นาย หวาน หรือ หาญ แซ่เล คน ญวน อพยพ มิใช่บุคคล สัญชาติ ไทย
เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟัง ได้ ว่า จำเลย เป็น คน ญวน อพยพ ชื่อ นาย หวานหรือ หาญ แซ่เล มิใช่ บุคคล สัญชาติ ไทย ชื่อ ทองดี บุญเพิ่ม แล้วการ ที่ จำเลย ไป ยื่น คำร้อง ขอ มี บัตร หรือ เปลี่ยน บัตรประจำตัวประชาชน ต่อ เจ้าหน้าที่ แผนก บัตรประจำตัว ประชาชน อำเภอเมืองนครราชสีมา ทั้ง สอง ครั้ง โดย อ้าง ว่า จำเลย เป็น บุคคล สัญชาติไทย ชื่อ นาย ทองดี บุญเพิ่ม มี บิดา ชื่อ นาย พรหมา มารดา ชื่อ นางศูนย์ จึง เป็น การ แจ้ง ข้อความ อัน เป็น เท็จ แก่ เจ้าพนักงาน แม้ผู้ ที่ รับ แจ้ง จาก จำเลย เป็น ลูกจ้าง ชั่วคราว แต่ ก็ ได้ นำ เรื่องเสนอ นาย ชรินทร์ สุขนิรันดร และ นาย วิทยา เกษคุปต์ ซึ่ง เป็ปลัดอำเภอ เมืองนครราชสีมา ทำ หน้าที่ ฝ่าย บัตรประจำตัว ประชาชน เพื่อตรวจ หลักฐาน แล้ว ดำเนินการ ส่ง ต่อ ไป ยัง กอง บัตรประจำตัว ประชาชนถือ ได้ ว่า จำเลย แจ้ง ข้อความ อัน เป็น เท็จ แก่ เจ้าพนักกาน อัน เป็นความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 แล้ว แต่ โดย ที่ ผู้ รับแจ้งจาก จำเลย และ เป็น ผู้จด ข้อความ ตาม ที่ จำเลย แจ้ง เป็น ลูกจ้างชั่วคราว มิใช่ เจ้าพนักงาน ผู้ กระทำการ ตาม หน้าที่ การ กระทำ ของจำเลย จึง ไม่ เป็น ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 และ เฉพาะความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 ตาม ฟ้อง ข้อ ข. ซึ่ง จำเลยกระทำ ผิด เมื่อ วันที่ 22 เมษายน 2519 โจทก์ นำ มา ฟ้อง เมื่อ วันที่24 มีนาคม 2525 พ้น กำหนด ห้า ปี แล้ว จึง ขาด อายุความ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 (4) ฎีกา ของ โจทก์ ข้อ นี้ ฟัง ขึ้น บางส่วน
ปัญหา สุดท้าย จำเลย กระทำ ความผิด ฐาน ใช้ เอกสาร ปลอม ใบสำคัญ แสดงสถานะ ทางทหาร แบบ สด. 9 หรือไม่ ศาลฎีกา เห็น ว่า ร้อยตำรวจเอก สุภรและ พันตำรวจตรี บรรเจิดศักดิ์ พยาน โจทก์ เบิกความ ตรงกัน ว่า ใบสำคัญแสดง สถานะ ทางทหาร เอกสาร หมาย ล.1 ที่ โจทก์ อ้าง ว่า ปลอม นั้น เป็นแบบพิมพ์ ของ ทางราชการ แม้ ร้อยตำรวจเอก สุภร จะ เบิกความ ว่า เอกสารสด. 9 เป็น เอกสาร ปลอม เพราะ ถ้า จำเลย เป็น บุตร นาย พรหมา นาง ศูนย์จริง จะ ต้อง มี ภูมิลำเนา ทหาร อยู่ ที่ อำเภอ เลิงนกทา ซึ่ง เป็นภูมิลำเนา ของ บิดา มารดา และ จำเลย พึ่ง ย้าย เข้า ไป อยู่ บ้านเลขที่128 ถนน ราชวิถี แขวง ถนน พญาไท กรุงเทพมหานคร เมื่อ วันที่ 14 กันยายน2507 แต่ เอกสาร สด. 9 ออก ให้ เมื่อ วันที่ 18 มีนาคม 2501 ก็ ตามโจทก์ มิได้ นำสืบ ว่า ตัว หนังสือ ลายมือชื่อ หรือ ดวงตรา ที่ ปรากฏ ในเอกสาร ดังกล่าว อย่างใด อย่างหนึ่ง ปลอม เมื่อ ปรากฏ ใน เอกสาร ซึ่งเป็น แบบพิมพ์ ของ ทางราชการ มี ลายมือชื่อ ผู้ ลงชื่อ แทน นายอำเภอประทับตรา ประจำ ตำแหน่ง เป็น สำคัญ มี ข้อความ รับรอง ถูกต้อง ด้านหลังลง ลายมือชื่อ และ ตำแหน่ง สัสดีอำเภอ และ ปรากฏ ตาม เอกสาร หมาย จ.13ซึ่ง เป็น หนังสือ หัวหน้าเขต ดุสิต แจ้ง ว่า เอกสาร หลักฐาน ทางทหารได้ ชำรุด สูญหาย ไป หมด แล้ว ไม่ มี หลักฐาน ที่ จะ ตรวจสอบ ให้ ได้ไม่ อาจ คัดสำเนา ใบสำคัญ แบบ สด. 9 ที่ ทาง เขต ดุสิต ออก ให้ ได้จึง ไม่ อาจ ฟัง ได้ ว่า เอกสาร หมาย ล.1 เป็น เอกสาร ปลอม อาจ เป็นเอกสาร ที่ แท้จริง ซึ่ง พนักงาน เจ้าหน้าที่ ได้ ทำ ขึ้น ตาม ที่ มีผู้แจ้ง ข้อความ อัน เป็น เท็จ ให้ จด ลง ไว้ ก็ ได้ เมื่อ ฟัง ไม่ ได้ว่า เอกสาร หมาย ล.1 เป็น เอกสาร ปลอม การ ที่ จำเลย นำ เอกสาร ดังกล่าวไป ใช้ จึง ไม่ เป็น ความผิด ฐาน ใช้ เอกสาร ปลอม ที่ ศาลอุทธรณ์พิพากษา ยกฟ้อง โจทก์ ใน ข้อหา นี้ ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา โจทก์ข้อ นี้ ฟัง ไม่ ขั้น
พิพากษา แก้ เป็น ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา137 ลงโทษ จำคุก หก เดือน ริบ บัตรประจำตัว ประชาชน ของกลาง นอกจาก ที่แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์’

Share