คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3596/2543

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

++ เรื่อง ฝากทรัพย์ ตัวแทน ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า จำเลยที่ 4สาขาบางนา มีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ช่วยสมุห์บัญชี จำเลยที่ 2 เป็นสมุห์บัญชีจำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดการ โจทก์เป็นลูกค้าจำเลยที่ 4 สาขาบางนาโดยเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์บัญชีเลขที่ 058-2-04775-9 ต่อมาวันที่ 20เมษายน 2538 มีการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ดังกล่าว 2 ครั้งรวมเป็นเงิน 350,000 บาท
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยที่ 1 และที่ 4 ข้อแรกว่าลายมือชื่อในใบถอนเงินเอกสารหมาย จ.20 และ จ.21 เป็นลายมือชื่อปลอมหรือไม่ และจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เมื่อพิเคราะห์ใบถอนเงินเอกสารหมาย จ.20 และ จ.21 แล้ว ปรากฏว่าลงวันที่ 20 เมษายน 2538 แต่ตามเอกสารหมาย จ.20 ตีตราประทับของจำเลยที่ 4 สาขาบางนาว่า วันที่ 20 มีนาคม 2538 ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง และเลขที่บัญชีออมทรัพย์ของโจทก์ก็ไม่ถูกต้องโดยระบุบัญชีเลขที่058-2-0477-9 ที่ถูกต้องบัญชีเลขที่ 058-2-04775-9 ในช่องผู้จ่ายและอนุมัติไม่มีลายมือชื่อผู้จ่ายเงินและผู้อนุมัติ ในช่องลายมือชื่อเจ้าของบัญชีและช่องลายมือชื่อผู้รับเงินแต่ละช่องมีการลงลายมือชื่อถึงสองลายมือ เมื่อนำลายมือชื่อดังกล่าวเปรียบเทียบกับตัวอย่างลายมือชื่อโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 4 ตามเอกสารหมาย จ.1 เห็นได้ว่า ลายมือแรกไม่มีลักษณะรูปแบบใกล้เคียงหรือคล้ายคลึงกันแต่ประการใด ส่วนลายมือชื่อที่สองดูผิวเผินเห็นว่ามีคำว่า “สุ” ซึ่งเป็นชื่อคำแรกของโจทก์ แต่เมื่อตรวจพิเคราะห์แล้วจะเห็นได้ชัดว่าลีลาในการเขียนและคุณสมบัติรูปร่างตัวอักษรแตกต่างกันอย่างชัดเจน ส่วนใบถอนเงินตามเอกสารหมาย จ.21 ในช่องลายมือชื่อเจ้าของบัญชีมีถึง 4 ลายมือชื่อ เป็นหมึกสีดำกับสีน้ำเงิน ลายมือชื่อในช่องลายมือชื่อผู้รับเงินมีลายมือชื่อเดียวเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งลายมือชื่อทั้งห้าลายมือชื่อในช่องเจ้าของบัญชีและผู้รับเงินแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดและไม่คล้ายคลึงกันแต่ประการใดเลย ซึ่งศาลสามารถตรวจพิเคราะห์และมีความเห็นได้เองโดยไม่จำต้องอาศัยความเห็นของผู้เชี่ยวชาญแต่ประการใดและไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องฟังความเห็นของผู้เชี่ยวชาญประกอบการพิจารณาตามที่จำเลยที่ 1และที่ 4 ฎีกาแต่อย่างใด เมื่อปรากฏว่าลายมือชื่อเจ้าของบัญชีและผู้รับเงินแตกต่างกับตัวอย่างลายมือชื่อโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 4 เช่นนี้แล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ขอตรวจดูบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มาถอนเงินตามใบถอนเงินทั้งสองฉบับ ซึ่งมีข้อพิรุธ ทั้ง ๆ ที่จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของลายมือชื่อผู้ถอนเงินและผู้รับเงิน จำเลยที่ 1 จะต้องใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่โดยความละเอียดรอบคอบเพิ่มขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย หากจำเลยที่ 1 ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอแล้วย่อมจะทราบว่าไม่คล้ายคลึงกับตัวอย่างลายมือชื่อของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 4 แต่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 4 ในธุรกิจธนาคารหาได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในธุรกิจธนาคารไม่ เป็นการกระทำผิดหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659 วรรคสาม ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนั้นจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นคู่สัญญาฝากทรัพย์กับโจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 4 ตัวการต้องรับผิดต่อโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเพียงตัวแทนและกระทำการแทนจำเลยที่ 4 ในกิจการนี้ จึงไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ จึงไม่ต้องวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นของจำเลยที่ 1 อีกต่อไป คงเหลือปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 4 ข้อสุดท้ายที่ฎีกาว่า โจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่อร่วมด้วย เพราะโจทก์ต้องเก็บรักษาสมุดคู่ฝากไว้เป็นอย่างดีมิใช่นำไปเก็บไว้ในช่องเก็บของหน้ารถยนต์ของโจทก์และโจทก์ทราบว่าสมุดคู่ฝากหายหลังจากเกิดเหตุหลายเดือน อันจะเป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ เห็นว่า การที่โจทก์นำสมุดคู่ฝากไว้ในกระเป๋าหนังใส่ไว้ในช่องเก็บของหน้ารถยนต์ของโจทก์และเพิ่งทราบว่าสมุดคู่ฝากหายไปแล้วหลายเดือน ไม่ใช่กรณีผิดปกติวิสัย แต่เป็นกรณีที่อาจเกิดขึ้นได้ และพยานหลักฐานที่จำเลยที่ 4 นำสืบยังฟังไม่ได้ว่า ที่สมุดคู่ฝากหายไปนั้นเกิดจากความจงใจของโจทก์ เหตุที่เกิดขึ้นในคดีนี้เพราะมีผู้ปลอมลายมือชื่อของโจทก์ในใบถอนเงินและนำไปถอนเงินจากจำเลยที่ 4ซึ่งจำเลยที่ 4 โดยจำเลยที่ 1 ตัวแทนของจำเลยที่ 4 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในธุรกิจ ธนาคารได้จ่ายเงินให้แก่ผู้ปลอมไปดังที่วินิจฉัยข้างต้น โดยโจทก์ไม่มีส่วนรู้เห็นด้วย เหตุที่สมุดคู่ฝากของโจทก์หายไปไม่ใช่ผลโดยตรงที่ทำให้เกิดเหตุคดีนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 4 รับผิดต่อโจทก์นั้นชอบแล้ว สรุปแล้วฎีกาของจำเลยที่ 1 ฟังขึ้น ส่วนฎีกาของจำเลยที่ 4 ฟังไม่ขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ด้วยค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้เป็นพับนอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้จำเลยที่ 4 ใช้ค่าทนายความชั้นฎีกา 2,000 บาท แทนโจทก์.(ธีรศักดิ์ เตียวัฒนานนท์ – มงคล คุปต์กาญจนากุล – สุวัฒน์ วรรธนะหทัย)

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นลูกค้าจำเลยที่ ๔ สาขาบางนาบัญชีเงินฝากออมทรัพย์บัญชีเลขที่ ๐๕๘-๒-๐๔๗๗๕-๙ ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๐เมษายน ๒๕๓๘ จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ซึ่งเป็นลูกจ้างและทำการแทนจำเลยที่ ๔ ได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ไม่ใช้ความระมัดระวังตามวิสัยพฤติการณ์และตามวิชาชีพ ร่วมกันจ่ายเงินในบัญชีของโจทก์ให้แก่บุคคลอื่นที่โจทก์ไม่ได้มอบหมายจำนวน ๒ ครั้ง รวมเป็นเงิน๓๕๐,๐๐๐ บาท ซึ่งลายมือชื่อในใบเบิกถอนเงินนั้นเป็นลายมือชื่อปลอมและแตกต่างจากลายมือชื่อของโจทก์อย่างเห็นได้ชัด โจทก์ได้ติดต่อทวงถามให้จำเลยทั้งสี่ชำระเงินคืน แต่ถูกเพิกเฉย จำเลยทั้งสี่ต้องร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินจำนวน ๓๕๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๓๘ เป็นต้นไป เมื่อคำนวณถึงวันฟ้องเป็นเงินดอกเบี้ย ๒๔,๐๖๕ บาท ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินจำนวน ๓๗๔,๐๖๕ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปีจากต้นเงิน ๓๕๐,๐๐๐ บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยทั้งสี่ให้การทำนองเดียวกันว่า โจทก์ได้นำสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์มาเบิกเงิน พนักงานผู้มีหน้าที่ได้ตรวจสอบสมุดบัญชีเงินฝากและตัวอย่างลายมือชื่อของโจทก์แล้วได้จ่ายเงินให้แก่โจทก์โดยสุจริตอย่างผู้ประกอบวิชาชีพ จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ไม่มีหน้าที่จ่ายเงินโดยตรงโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริต เนื่องจากจำเลยที่ ๔ ได้มอบสมุดคู่ฝากให้โจทก์เพื่อใช้เบิกถอนเงินจากบัญชี ตามข้อตกลงโจทก์จะต้องเก็บรักษาสมุดคู่ฝากไว้เป็นอย่างดีและจะต้องนำสมุดคู่ฝากมาเบิกเงินด้วยทุกครั้ง โจทก์อ้างว่าบุคคลอื่นซึ่งโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจมาเบิกเงินเมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๓๘แต่โจทก์ทราบปลายปี ๒๕๓๘ หลังเกิดเหตุนานแล้ว โจทก์ย่อมรู้เห็นเป็นใจจำเลยทั้งสี่จึงไม่ต้องรับผิด ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยที่ ๑ และที่ ๔ร่วมกันชำระเงิน ๓๕๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปีนับแต่วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๓๘ จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ดอกเบี้ยถึงวันฟ้อง (วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๓๙) ต้องไม่เกิน ๒๔,๐๖๕ บาท กับให้จำเลยที่ ๑ และที่ ๔ ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ ๕,๐๐๐ บาท ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ให้เป็นพับ
จำเลยที่ ๑ และที่ ๔ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ให้จำเลยที่ ๑ และที่ ๔ ร่วมกันใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ ๓,๐๐๐ บาท
จำเลยที่ ๑ และที่ ๔ ฎีกา
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่า โจทก์เปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์กับจำเลยที่ ๔ สาขาบางนาบัญชีเลขที่ ๐๕๘-๒-๐๔๗๗๕-๙ ตามคำขอเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เอกสารหมาย จ.๑ และได้ให้ตัวอย่างลายมือชื่อไว้ ตามเอกสารหมายจ.๒ เพื่อหักชำระค่าน้ำประปาและค่าไฟฟ้า มีการเบิกเงินจากบัญชี ๖ ครั้งตามรายการบัญชีตั้งแต่ปี ๒๕๓๖ ถึงเกิดคดี ตามเอกสารหมาย จ.๑๒โจทก์เปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาบางจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาลุมพินี ตามคำขอเปิดบัญชีเงินฝากประจำและตัวอย่างลายมือชื่อเอกสารหมาย จ.๘ และ จ.๑๐ ลายมือชื่อที่ให้ไว้แก่ธนาคารดังกล่าวเป็นอย่างเดียวกัน และลายมือชื่อที่ให้ไว้แก่ธนาคารเป็นลายมื่อในการปฏิบัติราชการด้วย โจทก์เก็บสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารต่าง ๆ ไว้ในกระเป๋าหนังใบเล็กใส่ไว้ในช่องเก็บของหน้ารถยนต์ของโจทก์ตามภาพถ่ายรายการจดทะเบียนเอกสารหมาย จ.๑๓ และ จ.๑๔โจทก์เบิกเงินกับจำเลยที่ ๔ สาขาบางนา ครั้งสุดท้ายวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน๒๕๓๗ ต่อมาประมาณกลางเดือนตุลาคม ๒๕๓๘ โจทก์ต้องการเบิกเงินปรากฏว่าสมุดคู่ฝากหายไป โจทก์ติดต่อจำเลยที่ ๔ ขอทราบยอดคงเหลือปรากฏว่าเหลือประมาณ ๒๐,๐๐๐ บาท จึงติดต่อขอดูรายการทางบัญชีพนักงานจำเลยที่ ๔ สาขาบางนาแจ้งว่าอยู่ที่สำนักงานใหญ่ใช้เวลา๒ สัปดาห์ ระหว่างนี้โจทก์เดินทางไปต่างประเทศ กลับจากต่างประเทศวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๘ โจทก์ติดต่อจำเลยที่ ๔ สาขาบางนาอีก แต่ยังไม่ทราบผล จึงแจ้งความที่สถานีตำรวจนครบาลท่าเรือ ตามสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารหมาย จ.๑๗ หลังจากนั้น ๓ วัน ติดต่อจำเลยที่ ๔ อีกครั้งจึงได้รับรายการทางบัญชีที่สาขาบางนาของจำเลยที่ ๔ ทำขึ้นตามใบแจ้งรายการที่ไม่ได้พิมพ์ในสมุดคู่ฝากเอกสารหมาย จ.๑๘ ปรากฏว่าวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๓๘ ยอดคงเหลือ ๓๘๑,๓๘๑.๕๕ บาท วันที่ ๒๕เมษายน ๒๕๓๘ ยอดคงเหลือ ๓๑,๓๘๑.๙๕ บาท แต่เอกสารหมายจ.๑๘ ไม่ระบุการเบิกถอนเงินในวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๓๘ จึงต้องขอรายการทางบัญชีจากสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่ ๔ ต่อมาวันที่ ๒๗พฤศจิกายน ๒๕๓๘ พนักงานจำเลยที่ ๔ สาขาบางนา มอบรายการทางบัญชีที่สำนักงานใหญ่ส่งมาให้โจทก์ตามเอกสารหมาย จ.๑๙ พบว่าวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๓๘ มีการเบิกเงินจากบัญชีของโจทก์ ๒ ยอดยอดแรกจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ยอดที่ ๒ จำนวน ๒๕๐,๐๐๐ บาทโจทก์จึงขอดูใบเบิกถอนเงินทั้ง ๒ ยอด ตามใบถอนเงินเอกสารหมายจ.๒๐ หรือสำเนาเอกสารหมาย จ.๓ และ จ.๒๑ หรือสำเนาเอกสารหมาย จ.๔ ปรากฏว่าลายมือชื่อที่เบิกถอนไม่ใช่ลายมือชื่อของโจทก์จำเลยที่ ๑ เป็นผู้ตรวจลายมือชื่อเจ้าของบัญชีตามเอกสารหมาย จ.๓วงกลมสีแดงเลข ๕ เอกสารหมาย จ.๔ วงกลมสีแดงหมายเลข ๖จำเลยที่ ๒ ที่ ๓ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา และจำเลยที่ ๔ ซึ่งเป็นนายจ้างจะต้องร่วมรับผิด โจทก์ขอคิดค่าเสียหายจากต้นเงิน ๓๕๐,๐๐๐ บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับจากวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๓๘ซึ่งเป็นวันที่ให้ถอนเงินจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยที่ ๑ และที่ ๔ นำสืบว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ ๑เป็นผู้รับมอบอำนาจลงนามแทนสาขาของจำเลยที่ ๔ ตำแหน่งผู้ช่วยสมุห์บัญชีและคุมการฝากถอนเงินหน้าเคาน์เตอร์ วงเงินถอนเกิน ๕๐,๐๐๐ บาทแต่ไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท จำเลยที่ ๒ เป็นสมุห์บัญชี จำเลยที่ ๓ เป็นผู้จัดการสาขาบางนาของจำเลยที่ ๔ การเบิกถอนจะแบ่งหน้าที่รับผิดชอบเป็นพนักงานหน้าเคาน์เตอร์ พนักงานระดับอำนวยการ สำหรับคดีนี้เป็นหน้าที่ของพนักงานระดับอำนวยการคือจำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๓ มีหน้าที่ควบคุมดูแลให้บริการด้านสินเชื่อ การฝากถอนเงิน มีผู้ช่วยคือผู้ช่วยผู้จัดการขั้นตอนการเบิกเงินจะมาสิ้นสุดที่ผู้ช่วยผู้จัดการ พนักงานหน้าเคาน์เตอร์จะให้ผู้ถอนเงินลงลายมือชื่อกี่ครั้งก็ได้ แล้วแต่ดุลพินิจ แต่ถ้าลายมือชื่อแตกต่างกับตัวอย่างลายมือชื่อที่ให้ไว้อย่างชัดเจนก็จะขอตรวจบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๓๘ มีผู้มาขอเบิกถอนเงินจำนวน๒ ครั้ง ตามเอกสารหมาย จ.๒๐ และจ.๒๑ พนักงานหน้าเคาน์เตอร์ตรวจสอบใบเบิกถอนเอกสารหมาย จ.๒๐ และ จ.๒๑ แล้วได้ส่งใบเบิกถอนเงินพร้อมสมุดคู่ฝากซึ่งมีลายมือชื่อโจทก์อยู่ด้านหลังให้จำเลยที่ ๑ อนุมัติจำเลยที่ ๑ ตรวจดูลายมือชื่อในช่องเจ้าของบัญชีและในช่องผู้รับเงินแล้วตรงกับลายมือชื่อที่ให้ตัวอย่างไว้ จึงอนุมัติและลงชื่อในช่องผู้ตรวจและส่งคืนให้พนักงานหน้าเคาน์เตอร์ทำการจ่ายเงินให้แก่ผู้เบิกถอน ประมาณเดือนกันยายน ๒๕๓๘ โจทก์มาติดต่อพนักงานจำเลยที่ ๔ สาขาบางนา และแจ้งว่าเงินในบัญชีของโจทก์หายไป ต่อมาเดือนพฤศจิกายน ๒๕๓๘ โจทก์และสามีมาร้องเรียนต่อจำเลยที่ ๓ ว่าเงินในบัญชีของโจทก์หายไป จำนวน๓๕๐,๐๐๐ บาท ทั้งแจ้งว่าสมุดบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่เก็บไว้ในกระเป๋าหนังวางไว้ในช่องเก็บของด้านหน้าของรถยนต์หายไปและสงสัยว่ามีคนปลอมลายมือชื่อโจทก์เบิกเงินไป
พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า จำเลยที่ ๔สาขาบางนา มีจำเลยที่ ๑ เป็นผู้ช่วยสมุห์บัญชี จำเลยที่ ๒ เป็นสมุห์บัญชีจำเลยที่ ๓ เป็นผู้จัดการ โจทก์เป็นลูกค้าจำเลยที่ ๔ สาขาบางนาโดยเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์บัญชีเลขที่ ๐๕๘-๒-๐๔๗๗๕-๙ ต่อมาวันที่ ๒๐เมษายน ๒๕๓๘ มีการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ดังกล่าว ๒ ครั้งรวมเป็นเงิน ๓๕๐,๐๐๐ บาท
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยที่ ๑ และที่ ๔ ข้อแรกว่าลายมือชื่อในใบถอนเงินเอกสารหมาย จ.๒๐ และ จ.๒๑ เป็นลายมือชื่อปลอมหรือไม่ และจำเลยที่ ๑ กับจำเลยที่ ๔ ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เมื่อพิเคราะห์ใบถอนเงินเอกสารหมาย จ.๒๐ และ จ.๒๑ แล้ว ปรากฏว่าลงวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๓๘ แต่ตามเอกสารหมาย จ.๒๐ ตีตราประทับของจำเลยที่ ๔ สาขาบางนาว่า วันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๓๘ ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง และเลขที่บัญชีออมทรัพย์ของโจทก์ก็ไม่ถูกต้องโดยระบุบัญชีเลขที่๐๕๘-๒-๐๔๗๗-๙ ที่ถูกต้องบัญชีเลขที่ ๐๕๘-๒-๐๔๗๗๕-๙ ในช่องผู้จ่ายและอนุมัติไม่มีลายมือชื่อผู้จ่ายเงินและผู้อนุมัติ ในช่องลายมือชื่อเจ้าของบัญชีและช่องลายมือชื่อผู้รับเงินแต่ละช่องมีการลงลายมือชื่อถึงสองลายมือ เมื่อนำลายมือชื่อดังกล่าวเปรียบเทียบกับตัวอย่างลายมือชื่อโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ ๔ ตามเอกสารหมาย จ.๑ เห็นได้ว่า ลายมือแรกไม่มีลักษณะรูปแบบใกล้เคียงหรือคล้ายคลึงกันแต่ประการใด ส่วนลายมือชื่อที่สองดูผิวเผินเห็นว่ามีคำว่า “สุ” ซึ่งเป็นชื่อคำแรกของโจทก์ แต่เมื่อตรวจพิเคราะห์แล้วจะเห็นได้ชัดว่าลีลาในการเขียนและคุณสมบัติรูปร่างตัวอักษรแตกต่างกันอย่างชัดเจน ส่วนใบถอนเงินตามเอกสารหมาย จ.๒๑ ในช่องลายมือชื่อเจ้าของบัญชีมีถึง ๔ ลายมือชื่อ เป็นหมึกสีดำกับสีน้ำเงิน ลายมือชื่อในช่องลายมือชื่อผู้รับเงินมีลายมือชื่อเดียวเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งลายมือชื่อทั้งห้าลายมือชื่อในช่องเจ้าของบัญชีและผู้รับเงินแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดและไม่คล้ายคลึงกันแต่ประการใดเลย ซึ่งศาลสามารถตรวจพิเคราะห์และมีความเห็นได้เองโดยไม่จำต้องอาศัยความเห็นของผู้เชี่ยวชาญแต่ประการใดและไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องฟังความเห็นของผู้เชี่ยวชาญประกอบการพิจารณาตามที่จำเลยที่ ๑และที่ ๔ ฎีกาแต่อย่างใด เมื่อปรากฏว่าลายมือชื่อเจ้าของบัญชีและผู้รับเงินแตกต่างกับตัวอย่างลายมือชื่อโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ ๔ เช่นนี้แล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ ๑ ได้ขอตรวจดูบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มาถอนเงินตามใบถอนเงินทั้งสองฉบับ ซึ่งมีข้อพิรุธ ทั้ง ๆ ที่จำเลยที่ ๑ มีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของลายมือชื่อผู้ถอนเงินและผู้รับเงิน จำเลยที่ ๑ จะต้องใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่โดยความละเอียดรอบคอบเพิ่มขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย หากจำเลยที่ ๑ ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอแล้วย่อมจะทราบว่าไม่คล้ายคลึงกับตัวอย่างลายมือชื่อของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ ๔ แต่จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ ๔ ในธุรกิจธนาคารหาได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในธุรกิจธนาคารไม่ เป็นการกระทำผิดหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๙ วรรคสาม ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนั้นจำเลยที่ ๔ ซึ่งเป็นคู่สัญญาฝากทรัพย์กับโจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ ๔ ตัวการต้องรับผิดต่อโจทก์แล้ว จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นเพียงตัวแทนและกระทำการแทนจำเลยที่ ๔ ในกิจการนี้ จึงไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ จึงไม่ต้องวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นของจำเลยที่ ๑ อีกต่อไป คงเหลือปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ ๔ ข้อสุดท้ายที่ฎีกาว่า โจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่อร่วมด้วย เพราะโจทก์ต้องเก็บรักษาสมุดคู่ฝากไว้เป็นอย่างดีมิใช่นำไปเก็บไว้ในช่องเก็บของหน้ารถยนต์ของโจทก์และโจทก์ทราบว่าสมุดคู่ฝากหายหลังจากเกิดเหตุหลายเดือน อันจะเป็นเหตุให้จำเลยที่ ๔ ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ เห็นว่า การที่โจทก์นำสมุดคู่ฝากไว้ในกระเป๋าหนังใส่ไว้ในช่องเก็บของหน้ารถยนต์ของโจทก์และเพิ่งทราบว่าสมุดคู่ฝากหายไปแล้วหลายเดือน ไม่ใช่กรณีผิดปกติวิสัย แต่เป็นกรณีที่อาจเกิดขึ้นได้ และพยานหลักฐานที่จำเลยที่ ๔ นำสืบยังฟังไม่ได้ว่า ที่สมุดคู่ฝากหายไปนั้นเกิดจากความจงใจของโจทก์ เหตุที่เกิดขึ้นในคดีนี้เพราะมีผู้ปลอมลายมือชื่อของโจทก์ในใบถอนเงินและนำไปถอนเงินจากจำเลยที่ ๔ซึ่งจำเลยที่ ๔ โดยจำเลยที่ ๑ ตัวแทนของจำเลยที่ ๔ ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในธุรกิจ ธนาคารได้จ่ายเงินให้แก่ผู้ปลอมไปดังที่วินิจฉัยข้างต้น โดยโจทก์ไม่มีส่วนรู้เห็นด้วย เหตุที่สมุดคู่ฝากของโจทก์หายไปไม่ใช่ผลโดยตรงที่ทำให้เกิดเหตุคดีนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ ๔ รับผิดต่อโจทก์นั้นชอบแล้ว สรุปแล้วฎีกาของจำเลยที่ ๑ ฟังขึ้น ส่วนฎีกาของจำเลยที่ ๔ ฟังไม่ขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ ๑ ด้วยค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ ให้เป็นพับนอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้จำเลยที่ ๔ ใช้ค่าทนายความชั้นฎีกา ๒,๐๐๐ บาท แทนโจทก์.

Share