คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1895/2543

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

++ เรื่อง เพิกถอนการฉ้อฉล ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 227418 และ 227419 ตำบลจรเข้บัว อำเภอบางกะปิกรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้ให้ กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ผู้รับ ให้จำเลยทั้งสี่นำโฉนดที่ดินไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ หากไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสี่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยทั้งสี่ฎีกา
++
++ ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4
++ เดิมจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เมื่อเดือนมีนาคม2538 จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงนายชนินทร์ เลาหเลิศศักดา บุตรโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตาย โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 ต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2539 ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวน 2,049,389 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระแก่โจทก์ทั้งสองเสร็จสิ้น ตามสำเนาคำพิพากษาเอกสารหมาย จ.11
++ วันที่ 5 และวันที่ 18 มิถุนายน 2539 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โดยเสน่หา
++
++ ปัญหาวินิจฉัยมีว่า นิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นการฉ้อฉลโจทก์ทั้งสองหรือไม่
++
++ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงบุตรโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตาย โจทก์ทั้งสองต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคท้าย
++ โจทก์ทั้งสองจึงเป็นเจ้าหนี้ และจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด และสิทธิเรียกร้องของโจทก์ทั้งสองเกิดขึ้นนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิด
++ ต่อมาโจทก์ทั้งสองใช้สิทธิเรียกร้องโดยยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2539 ก่อนจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเวลา 2 เดือนเศษ
++ และได้ความตามคำเบิกความของนายวิชัย เอื้อภัทรพงศ์ บุตรจำเลยที่ 1ว่า จำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระหนี้แก่ธนาคารได้อยู่แล้ว หลังเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ถูกศาลพิพากษาให้จำคุกข้อหาฆ่าบุตรของโจทก์ทั้งสองมีกำหนด14 ปี จำเลยที่ 1 จึงไม่สามารถชำระหนี้แก่ธนาคารโดยสิ้นเชิง
++ ซึ่งจำเลยที่ 1 อ้างตนเองเป็นพยานเบิกความในทำนองเดียวกันนี้
++ ดังนั้น นิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจึงเป็นการโอนไปซึ่งทรัพย์สินมีค่าชิ้นสุดท้ายที่จำเลยที่ 1 มีอยู่
++ ต่อมาจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็นำที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันเงินกู้จำนวน 2,000,000 บาท แก่ธนาคารโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้และได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลแล้วย่อมเสียเปรียบด้วย มิอาจบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ได้
++ จำเลยที่ 1 ยื่นคำแถลงในคดีอาญาตามเอกสารหมาย ล.9 ปรากฏข้อความในวรรคสามว่า บุตรของจำเลยที่ 1ได้ออกเงินชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเงินจำนวน 100,000 บาท บ่งชี้ว่าจำเลยที่ 1 ตระหนักแน่ชัดว่าตนมีภาระผูกพันต้องชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองนับแต่วันที่ทำละเมิด
++ ดังนั้น ในวันทำนิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง จำเลยที่ 1 จึงรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบ เมื่อจำเลยที่ 1 ฝืนทำนิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โดยเสน่หาไป นิติกรรมดังกล่าวจึงเป็นการฉ้อฉลโจทก์ทั้งสอง
++
++ จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า ไม่รู้เรื่องที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีละเมิด เพราะจำเลยที่ 1 ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษมีนบุรี ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้อยู่อาศัยในบ้านที่โจทก์ทั้งสองนำพนักงานศาลไปส่งสำเนาฟ้องนั้น
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า การจะรู้ว่าโจทก์ทั้งสองได้ใช้สิทธิเรียกร้องแล้วหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นที่จะวินิจฉัยชี้ขาดว่านิติกรรมที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำไม่เป็นการฉ้อฉลโจทก์ทั้งสอง หากแต่อยู่ที่จำเลยทั้งสี่รู้ในขณะทำนิติกรรมให้หรือไม่ว่านิติกรรมให้ที่ได้ทำขึ้นนั้นจะเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบ
++ เมื่อปรากฏว่า คดีนี้จำเลยที่ 1 เป็นผู้รู้ถึงทางเสียเปรียบของโจทก์ทั้งสองแต่เพียงฝ่ายเดียว ก็เป็นอันเพียงพอให้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอเพิกถอนได้แล้วเนื่องจากเป็นนิติกรรมยกกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้โดยเสน่หา
++ ส่วนฎีกาจำเลยทั้งสี่ที่ว่า บุตรจำเลยที่ 1 ต้องหาเงินมาไถ่ถอนจำนองเป็นเงินจำนวน 1,000,000 บาทเศษ นิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจึงเป็นการยกให้โดยมีค่าตอบแทน
++ ข้อฎีกาของจำเลยทั้งสี่นี้เป็นการกล่าวอ้างที่ขัดแย้งกับข้อความในนิติกรรมสัญญาให้ที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่ระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นการยกให้โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน และการที่บุตรจำเลยที่ 1 หาเงินมาไถ่ถอนจำนองก็เป็นการทำหน้าที่บุตรที่ต้องอุปการะบิดาตามศีลธรรม
++
++ ส่วนฎีกาจำเลยทั้งสี่ที่คัดค้านคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น กรณีอนุญาตให้โจทก์ทั้งสองใช้พยานเอกสารในชั้นไต่สวนขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลพิพากษาเป็นกรณีฉุกเฉินมาเป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณา ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 117 นั้น
++ เห็นว่า พยานเอกสารดังกล่าวโจทก์ได้ระบุไว้แล้วในบัญชีพยาน และในชั้นพิจารณา ทนายจำเลยทั้งสี่ก็ได้มีโอกาสถามค้านแล้ว ศาลย่อมมีสิทธินำมาพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีได้ทั้งสิ้น
++ สำหรับฎีกาจำเลยทั้งสี่ในประการอื่นไม่อาจทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้ ++

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ ๑ฐานละเมิดเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน ๓,๕๖๒,๓๙๘ บาท คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๓๙ จำเลยที่ ๑ จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ ๒๒๗๔๑๘ และ ๒๒๗๔๑๙ ตำบลจรเข้บัว อำเภอบางกะปิ กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ โดยเสน่หาโดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ เพื่อไม่ให้โจทก์ทั้งสองได้รับชำระหนี้ อันเป็นการฉ้อฉล ขอให้เพิกถอนนิติกรรมให้ที่ดินโฉนดเลขที่ ๒๒๗๔๑๘ และ ๒๒๗๔๑๙ ตำบลจรเข้บัว อำเภอบางกะปิ กรุงเทพมหานครพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างจำเลยที่ ๑ กับจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ ให้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาลาดพร้าว จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจากจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ เป็นจำเลยที่ ๑ ดังเดิม โดยให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันนำโฉนดที่ดินดังกล่าวไปมอบให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง หากจำเลยทั้งสี่ไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาและในวันยื่นฟ้องโจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลพิพากษาเป็นกรณีฉุกเฉิน ศาลชั้นต้นไต่สวนพยานโจทก์ทั้งสองแล้วมีคำสั่งห้ามจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องจนกว่าคดีถึงที่สุด
จำเลยทั้งสี่ให้การว่า โจทก์ทั้งสองไม่ใช่เจ้าหนี้จำเลยที่ ๑จำเลยที่ ๑ ทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔เพื่อปรับปรุงหาผลประโยชน์โดยไม่มีเจตนาฉ้อฉลโจทก์ทั้งสอง ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมให้ที่ดินโฉนดเลขที่ ๒๒๗๔๑๘และ ๒๒๗๔๑๙ พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ระหว่างจำเลยที่ ๑ ผู้ให้ กับจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ผู้รับ ให้จำเลยทั้งสี่นำโฉนดที่ดินไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงให้จำเลยที่ ๑ เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ หากไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสี่คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยทั้งสี่ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ ๑เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ เดิมจำเลยที่ ๑ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๓๘ จำเลยที่ ๑ ใช้อาวุธปืนยิงนายชนินทร์ เลาหเลิศศักดา บุตรโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตาย โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ ๑ ต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๓๙ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ ๑ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวน ๒,๐๔๙,๓๘๙บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระแก่โจทก์ทั้งสองเสร็จสิ้น วันที่ ๕ และวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๓๙ จำเลยที่ ๑ จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ โดยเสน่หา
ปัญหาวินิจฉัยมีว่า นิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างจำเลยที่ ๑ กับจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ เป็นการฉ้อฉลโจทก์ทั้งสองหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ ๑ ใช้อาวุธปืนยิงบุตรโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตาย โจทก์ทั้งสองต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ ๑ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๔๓ วรรคท้าย โจทก์ทั้งสองจึงเป็นเจ้าหนี้ และจำเลยที่ ๑ เป็นลูกหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด และสิทธิเรียกร้องของโจทก์ทั้งสองเกิดขึ้นนับแต่วันที่จำเลยที่ ๑ ทำละเมิด ต่อมาโจทก์ทั้งสองใช้สิทธิเรียกร้องโดยยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ เป็นคดีแพ่งเมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๓๙ ก่อนจำเลยที่ ๑จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ เป็นเวลา ๒ เดือนเศษ และได้ความตามคำเบิกความของนายวิชัย เอื้อภัทรพงศ์ บุตรจำเลยที่ ๑ ว่า จำเลยที่ ๑ ไม่สามารถชำระหนี้แก่ธนาคารได้อยู่แล้ว หลังเกิดเหตุจำเลยที่ ๑ ถูกศาลพิพากษาให้จำคุกข้อหาฆ่าบุตรของโจทก์ทั้งสองมีกำหนด ๑๔ ปีจำเลยที่ ๑ จึงไม่สามารถชำระหนี้แก่ธนาคารโดยสิ้นเชิง ซึ่งจำเลยที่ ๑ อ้างตนเองเป็นพยานเบิกความในทำนองเดียวกันนี้ ดังนั้น นิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจึงเป็นการโอนไปซึ่งทรัพย์สินมีค่าชิ้นสุดท้ายที่จำเลยที่ ๑ มีอยู่ ต่อมาจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ ก็นำที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันเงินกู้จำนวน๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท แก่ธนาคารโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้และได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลแล้วย่อมเสียเปรียบด้วยมิอาจบังคับคดีแก่จำเลยที่ ๑ ได้ จำเลยที่ ๑ยื่นคำแถลงในคดีอาญาตามเอกสารหมาย ล.๙ ปรากฏข้อความในวรรคสามว่าบุตรของจำเลยที่ ๑ ได้ออกเงินชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการที่จำเลยที่ ๑ ทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเงินจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท บ่งชี้ว่าจำเลยที่ ๑ ตระหนักแน่ชัดว่าตนมีภาระผูกพันต้องชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองนับแต่วันที่ทำละเมิด ดังนั้น ในวันทำนิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง จำเลยที่ ๑ จึงรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบ เมื่อจำเลยที่ ๑ ฝืนทำนิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ โดยเสน่หาไป นิติกรรมดังกล่าวจึงเป็นการฉ้อฉลโจทก์ทั้งสองจำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า ไม่รู้เรื่องที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีละเมิดเพราะจำเลยที่ ๑ ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษมีนบุรี ส่วนจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ มิได้อยู่อาศัยในบ้านที่โจทก์ทั้งสองนำพนักงานศาลไปส่งสำเนาฟ้องนั้น เห็นว่า การจะรู้ว่าโจทก์ทั้งสองได้ใช้สิทธิเรียกร้องแล้วหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นที่จะวินิจฉัยชี้ขาดว่านิติกรรมที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำไม่เป็นการฉ้อฉลโจทก์ทั้งสอง หากแต่อยู่ที่จำเลยทั้งสี่รู้ในขณะทำนิติกรรมให้หรือไม่ว่านิติกรรมให้ที่ได้ทำขึ้นนั้นจะเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบ เมื่อปรากฏว่าคดีนี้จำเลยที่ ๑ เป็นผู้รู้ถึงทางเสียเปรียบของโจทก์ทั้งสองแต่เพียงฝ่ายเดียว ก็เป็นอันเพียงพอให้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอเพิกถอนได้แล้วเนื่องจากเป็นนิติกรรมยกกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้โดยเสน่หา ส่วนฎีกาจำเลยทั้งสี่ที่ว่า บุตรจำเลยที่ ๑ต้องหาเงินมาไถ่ถอนจำนองเป็นเงินจำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาทเศษ นิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจึงเป็นการยกให้โดยมีค่าตอบแทน ข้อฎีกาของจำเลยทั้งสี่นี้เป็นการกล่าวอ้างที่ขัดแย้งกับข้อความในนิติกรรมสัญญาให้ที่ดินระหว่างจำเลยที่ ๑กับจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ ที่ระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นการยกให้โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทนและการที่บุตรจำเลยที่ ๑ หาเงินมาไถ่ถอนจำนอง ก็เป็นการทำหน้าที่บุตรที่ต้องอุปการะบิดาตามศีลธรรม ส่วนฎีกาจำเลยทั้งสี่ที่คัดค้านคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นกรณีอนุญาตให้โจทก์ทั้งสองใช้พยานเอกสารในชั้นไต่สวนขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลพิพากษาเป็นกรณีฉุกเฉินมาเป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณา ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๑๗ นั้น เห็นว่า พยานเอกสารดังกล่าวโจทก์ได้ระบุไว้แล้วในบัญชีพยาน และในชั้นพิจารณา ทนายจำเลยทั้งสี่ก็ได้มีโอกาสถามค้านแล้ว ศาลย่อมมีสิทธินำมาพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีได้ทั้งสิ้น
พิพากษายืน.

Share