แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
โจทก์และพวกอิสลามิกชนในจังหวัดหนึ่งได้ร่วมกันบริจาคเงินซื้อที่ดินแปลงหนึ่ง ทำเป็นโรงเรียนสำหรับชาวอิสลามิคชนเข้าเรียน และได้ตั้งผู้จัดการจัดการโรงเรียนสืบต่อกันไป ดังนี้ถือว่าผู้จัดการเหล่านั้นเป็นตัวแทนโจทก์และพวก ฉะนั้นเมื่อผู้จัดการคนหนึ่งทำผิดโดยเอาที่ดินแปลงนี้ไปยกให้แก่บุตร แล้วบุตรโอน+ให้คนภายนอกเสีย เช่นนี้โจทก์แต่ผู้เดียวซึ่งเป็นเจ้าของรวมด้วยย่อมมีอำนาจฟ้องในนามของตนเอง ขอให้เพิกถอนสัญญาขายดังกล่าวเสีย หรือขอให้ใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน เพื่อจะได้จัดซื้อที่ดินจัดตั้งเป็นโรงเรียน+โรงเรียนเดิมได้
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๖ พวกอิสลามมิกชนในจังหวัดเชียงใหม่ได้บริจาคเงินร่วมกันซื้อที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้อง เพื่อจัดตั้งเป็นโรงเรียนสำหรับบุตรหลานของอิสลามมิคชนเข้าเล่าเรียน และให้ชาวอิสลามมิคชนเป็นเจ้าของร่วมกัน โจทก์ได้ร่วมบริจาคด้วยผู้หนึ่ง และมีส่วนเป็นเจ้าของด้วยเหมือนกัน เมื่อซื้อแล้วก็จัดตั้งเป็นโรงเรียนชื่อ โรงเรียนนูรูสอิสลาม มีผู้จัดการดูแลจัดการต่อ ๆ กันมาจนถึงบิดาจำเลยที่ ๑ ครั้นเมื่อบิดาจำเลยที่ ๑ ตายจำเลยที่ ๑ โอนขายที่ดินแปลงนี้แก่จำเลยที่ ๒ โดยไม่มีอำนาจ จึงขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายระหว่างจำเลย ถ้าไม่มีเหตุควรเพิกถอนก็ขอให้จำเลยร่วมกันใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ ๑๐๐๐๐ บาท เพื่อให้โจทก์จะได้จัดตั้งเป็นโรงเรียนแทนโรงเรียนเดิมต่อไป
จำเลยที่ ๑ เถียงว่าเป็นที่ของบิดากับตัดฟ้องว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ ๒ ต่อสู้ว่า ซื้อไว้โดยสุจริต
ศาลชั้นต้นเห็นว่า โจทก์ตั้งฟ้องมาโดยถือว่าที่พิพาทหนี้โจทก์เป็นจ้าของร่วมอยู่ด้วย จึงมีอำนาจฟ้องได้ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา ๑๓๕๙ ประกอบด้วย ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา ๕๕ ส่วนข้อเท็จจริงเชื่อตามฟ้องโจทก์ แต่เห็นว่าจำเลยที่ ๒ รับซื้อไว้โดยมีค่าตอบแทนและสุจริต ย่อมได้กรรมสิทธิ จึงพิพากษาให้จำเลยที่ ๑ ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ๘๐๐๐ บาท เพื่อโจทก์ในฐานะเจ้าของร่วมจะได้จัดหาซื้อที่อื่นจัดตั้งเป็นโรงเรียนแทนโรงเรียนเดิมต่อไป ให้ยกฟ้องโจทก์เฉพาะจำเลยที่ ๒
ศาลอุทธรณ์พิพากาษายืน
จำเลยที่ ๑ ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า โรงเรียนนูรูลอิสลามมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องในนามของโรงเรียนได้ แต่โจทก์เป็นเจ้าของที่รายพิพาทด้วย และเนื่องจากโจทก์กับพวกควบคุมดูแลที่พิพาทกล่าวคือได้มอบหมายให้ผู้มีชื่อจัดการ บิดาจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นผู้จัดการเพียงแทนของโจทก์กับพวกผู้เป็นเจ้าของที่รายพิพาทเท่านั้น เมื่อบิดาจำเลยที่ ๑ หรือจำเลยที่ ๑ ซึ่ง+ทายาททำผิด โจทก์ผู้เป็นเจ้าของก็ฟ้องในนามของตนเองได้
ส่วนข้อเท็จจริงคงฟังตามศาลล่าง จึงพิพากษายืน