แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยยังไม่ได้ชำระค่าเช่าตามหนังสือเช่า จำเลยต่อสู้ว่าเงินที่ชำระไปแล้ว เป็นเงินที่ชำระตามหนังสือสัญญาเช่า ไปแล้ว เป็นเงินที่ชำระตามหนังสือสัญญาเช่า เมื่อในหนังสือสัญญาเช่าไม่มีข้อความว่าได้รับเงินกันตามหนังสือสัญญาก่อนแล้ว โจทก์ย่อมนำสืบแสดงได้ว่า เงินที่จำเลยอ้างว่า ชำระตามหนังสือสัญญาเช่านั้น ความจริงมิใช่เงินที่ชำระตามหนังสือสัญญาเช่า แต่เป็นเงินที่ชำระกันตามข้อตกลงนอกหนังสือสัญญาเช่า การนำสืบดังกล่าวนี้เป็นการนำสืบถึงว่า เงินที่จำเลยเคยชำระให้โจทก์เป็นเงินชำระตามหนังสือสัญญาเช่านี้หรือไม่ มิใช่เป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมหนังสือสัญญาเช่า และมิใช่เป็นการสืบว่าเงินรายที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยเป็นเงินรายที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยเป็นเงินที่จำเลยสัญญาจะชำระนอกเหนือไปจากหนังสือสัญญาเช่า การนำสืบของโจทก์ดังนี้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
กรณีเรื่องเช่าทรัพย์ ผู้เช่ากับผู้ให้เช่าอาจชำระเงินต่อกันนอกไปจากหนังสือสัญญาเช่าก็ได้ หรือจะชำระเงินต่อกันโดยไม่ทำหนังสือเช่าก็ได้ ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ไม่เป็นโมฆะ
ย่อยาว
ตามฟ้องและคำให้การเป็นเรื่องโจทก์อ้างว่า จำเลยยังไม่ได้ชำระค่าเช่าตามหนังสือสัญญาเช่า ฝ่ายจำเลยอ้างว่าได้ชำระเงินค่าเช่า ฝ่ายจำเลยอ้างว่าได้ชำระเงินค่าเช่าตามสัญญาเช่านั้นแล้ว
ศาลชั้นต้นทำคำสั่งว่า การเช่าตัวอาคาร เป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ซึ่งต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ เมื่อสัญญาเช่ามีข้อความชัดว่า เช่ากันปีละ ๖,๐๐๐ บาท โจทก์จะนำสืบว่ามีข้อตกลงกันอย่างอื่นอีกไม่ได้ ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา ๙๔ จึงให้สืบกันเฉพาะในเรื่องค่าเช่าอุปกรณ์โรงแรมอย่างเดียว
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า จำเลยต่อสู้ว่าจำเลยชำระเงินค่าเช่าแล้วตามเช็ค ฝ่ายโจทก์ปฏิเสธว่า เงินที่ชำระนั้นมิใช่เงินค่าเช่าตามหนังสือสัญญา ฉะนั้น โจทก์ขอนำสืบประเด็นข้อนี้ได้ ไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสัญญาเช่า จึงพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นสืบพยานไปตามประเด็นที่คู่ความโต้เถียงกัน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า ตามฟ้องและคำให้การ เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าจำเลยยังไม่ได้ชำระเงินค่าเช่า ฝ่ายจำเลยอ้างว่า ได้ชำระเงินค่าเช่าตามสัญญาเช่านั้นแล้ว คดีจึงมีประเด็นว่าจำเลยได้ชำระเงินตามหนังสือสัญญาเช่าที่โจทก์ฟ้องหรือยังไม่ได้ชำระส่วนที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่าได้ตกลงเช่ากัน ๒๐,๔๐๐ บาท และตกลงให้จำเลยชำระค่าเช่าล่วงหน้าครึ่งหนึ่งในวันทำหนังสือสัญญาเช่า และจำเลยได้ชำระแล้ว เป็นเรื่องโจทก์กล่าวถึงความเป็นมาแต่เริ่มแรกของการทำสัญญาเช่าต่อกัน ข้อความดังกล่าวนี้ โจทก์มิได้ตั้งเป็นข้อหาหรือข้อเรียกร้องต่อจำเลย เมื่อจำเลยต่อสู้ว่าเงินที่ชำระไปแล้วเป็นเงินที่ชำระตามหนังสือสัญญาเช่า ฝ่ายโจทก์ก็ย่อมนำสืบแสดงได้ว่า เงินที่จำเลยอ้างว่าชำระตามหนังสือสัญญาเช่านั้น ความจริงมิใช่เงินที่ชำระตามหนังสือสัญญาเช่า แต่เป็นเงินที่ชำระกันตามข้อตกลงนอกหนังสือสัญญาเช่า การนำสืบดังกล่าวนี้เป็นการนำสืบถึงว่า เงินที่จำเลยเคยชำระให้โจทก์เป็นเงินชำระตามหนังสือเช่า แต่เป็นเงินที่ชำระกันตามข้อตกลงนอกหนังสือสัญญาเช่า การนำสืบดังกล่าวนี้เป็นการนำสืบถึงว่า เงินที่จำเลยเคยชำระให้โจทก์เป็นเงินชำระตามหนังสือสัญญาเช่านี้หรือไม่
มิใช่เป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมหนังสือสัญญาเช่า เพราะในหนังสือสัญญาเช่าไม่มีข้อความว่า ได้รับเงินกันไปตามหนังสือสัญญาก่อนแล้วแต่ประการใด และมิใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติมสัญญาว่า เงินรายที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยเป็นเงินที่จำเลยสัญญาจะชำระนอกเหนือไปจากหนังสือสัญญาเช่า การนำสืบของโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๙๔
ส่วนข้อที่จำเลยกล่าวในฎีกาว่า ฟ้องได้ระบุไว้โดยชัดแจ้งว่า เหตุผลที่ไม่ทำสัญญาเต็มตามความเป็นจริง ก็เพื่อให้เสียภาษีน้อยลงซึ่งเป็นการหลบเลี่ยงการเสียภาษีนั่นเอง จำเลยถือว่าขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะนั้น ศาลฎีกาเห็นว่า กรณีเรื่องเช่าทรัพย์นี้ผู้เช่ากับผู้ให้เช่าอาจชำระเงินต่อกันนอกไปจากหนังสือสัญญาเช่าก็ได้ หรือจะชำระเงินต่อกันโดยไม่ทำหนังสือสัญญาเช่าก็ได้ ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี หาเป็นโมฆะไม่ เพราะเงินจำนวนที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลยนี้เป็นเงินค่าเช่าตามหนังสือสัญญาที่ชอบด้วยกฎมาย และจำเลยก็ไม่ได้แสดงให้เห็นได้ว่าเป็นจำนวนที่ได้จากการหลีกเหลี่ยงการเสียภาษีประการใด และผู้มีหน้าที่เสียภาษีก็ต้องเอาเงินของเขาเองเสีย
พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์