การอ้างเหตุในการเลิกจ้าง กรณีการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ไม่จำเป็นต้องระบุเหตุไว้ในหนังสือบอกเลิกจ้าง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4440/2547)

ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที

การอ้างเหตุในการเลิกจ้าง กรณีการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ไม่จำเป็นต้องระบุเหตุไว้ในหนังสือบอกเลิกจ้าง

            คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4440/2547 แม้จำเลยจะระบุเหตุในการเลิกจ้างโจทก์ไว้ในหนังสือเลิกจ้างว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร มีการยุบหน่วยงานบางหน่วยซึ่งรวมถึงหน่วยงานของโจทก์และไม่มีตำแหน่งว่างที่เหมาะสมกับคุณสมบัติของโจทก์ในหน่วยงานที่เหลืออยู่ โดยมิได้อ้างเหตุว่าจำเลยประสบภาวะการขาดทุนก็ตาม แต่ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุเหตุไว้ในหนังสือบอกเลิกจ้าง นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคสาม นั้น ข้อห้ามดังกล่าวไม่รวมถึงข้อต่อสู้ในกรณีลูกจ้างฟ้องว่าการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมด้วย เนื่องจากการวินิจฉัยว่าการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 นั้น ศาลจะต้องพิจารณาถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างของนายจ้างว่ามีเหตุอันสมควรหรือไม่ซึ่งอาจไม่ใช่เหตุที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 ก็ได้ จำเลยจึงมีสิทธิที่จะให้การต่อสู้ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากประสบภาวะการขาดทุน ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมได้

Share