เรื่อง เช่าซื้อ พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2562)

ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2562

พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย

การฟ้องคดีผู้บริโภคโจทก์เพียงบรรยายข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีรวมทั้งคำขอบังคับชัดเจนพอที่จะทำให้เข้าใจได้ตามที่บัญญัติในมาตรา  20  วรรคสอง  แห่ง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค  พ.ศ. 2551  ก็เป็นการเพียงพอ  โจทก์หาจำต้องปรับบทกฎหมายที่ฝ่ายจำเลยต้องรับผิดมาในคำฟ้องไม่  การที่โจทก์ตั้งข้อหาในฟ้องว่าเป็นเรื่องสินค้าที่ไม่ปลอดภัยเพราะความชำรุดบกพร่องของรถพิพาทและฟ้องให้จำเลยที่  1  ผู้ผลิต  จำเลยที่  2  ผู้รับหรือซื้อรถพิพาทจากจำเลยที่  1  ไปจำหน่าย  จำเลยที่  3  ผู้แทนจำหน่ายของจำเลยที่  2  และจำเลยที่  4  ผู้ให้เช่าซื้อรถพิพาทแก่โจทก์ ร่วมกันรับผิดโดยบรรยายฟ้องถึงเหตุแห่งความรับผิดว่า  รถพิพาทมีความชำรุดบกพร่อง  เครื่องยนต์ดับในขณะที่รถแล่นหรือจอดและไม่สามารถติดเครื่องยนต์ได้  ก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยในชีวิตของโจทก์และผู้อื่นนั้น  นอกจากเป็นการฟ้องให้รับผิดตาม พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย  พ.ศ. 2551  แล้ว  ยังเป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งสี่รับผิดในความชำรุดบกพร่องของรถพิพาทซึ่งอยู่ในเกณฑ์ต้องบังคับตาม ป.พ.พ. และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค  พ.ศ. 2551  อยู่ด้วย  ฟ้องโจทก์หาได้จำกัดความรับผิดของจำเลยทั้งสี่เพียงในฐานะเป็นผู้ประกอบการตาม พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย  พ.ศ. 2551  ไม่

จำเลยที่  3  เป็นผู้จำหน่ายรถพิพาทแก่โจทก์  จึงอยู่ในฐานะผู้ขายรถพิพาทซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจโดยมีโจทก์อยู่ในฐานะเป็นผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้บริโภคตามมาตรา  3  แห่ง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค  พ.ศ. 2551  และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค  พ.ศ. 2522  แม้จำเลยที่  3  ตกลงให้โจทก์ใช้วิธีการเช่าซื้อรถพิพาทและจัดหาจำเลยที่  4  ให้เป็นผู้ให้เช่าซื้อโดยมีโจทก์เป็นผู้เช่าซื้อ  ก็หามีผลเปลี่ยนแปลงนิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่  3 กับโจทก์ดังกล่าวไม่  เมื่อรถพิพาทมีความชำรุดบกพร่อง  จำเลยที่  3  ซึ่งเป็นผู้ขายจึงต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา  472    จึงไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหายส่วนนี้ ./

               จำเลยที่  2  ซึ่งให้จำเลยที่  3  เป็นผู้จำหน่ายรถเชฟโรเลตรวมทั้งรถพิพาทแก่ตนนั้น  ตามพฤติการณ์ในการประกอบธุรกิจของจำเลยที่  1  ผู้ผลิตรถเชฟโรเลต  ที่มีจำเลยที่  2  เป็นตัวแทนจำหน่าย  และจำเลยที่  2  ให้จำเลยที่  3  เป็นผู้แทนจำหน่ายของตน  โดยมีระบบการรับประกันรถยนต์ที่จำหน่ายด้วยการให้ศูนย์บริการของเชฟโรเลตทั่วประเทศให้บริการซ่อมและบำรุงรักษารถเชฟโรเลตตามระยะเวลาหรือระยะทางที่รับประกันภายใต้การควบคุมคุณภาพและกำกับดูแลมาตรฐานการซ่อมของจำเลยที่  2  โดยใกล้ชิด  ซึ่งย่อมเป็นไปเพื่อรักษาชื่อเสียงรถยนต์เชฟโรเลตที่จำเลยที่  1  ผลิตให้เป็นที่เชื่อถือในท้องตลาด  อันเป็นประโยชน์ในธุรกิจของจำเลยที่  1  ในฐานะผู้ผลิต  จำเลยที่  2  ในฐานะตัวแทนจำหน่ายร่วมกับจำเลยที่  3  ในฐานะผู้แทนจำหน่ายของจำเลยที่  2  กรณีเช่นนี้  แม้จำเลยที่  1  ถึงที่  3  จะเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกัน จำเลยที่  2  และที่  3  ก็มีฐานะเป็นผู้ร่วมกันประกอบธุรกิจจำหน่ายและให้บริการซ่อมบำรุงรถยนต์เชฟโรเลตรวมทั้งรถพิพาทแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกค้าผู้บริโภคและต่างต้องร่วมกันกับจำเลยที่  1  รับผิดต่อโจทก์ในความชำรุดบกพร่องของรถพิพาทด้วย 

 จำเลยที่  4  ผู้ให้เช่าซื้อและเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถพิพาท  ย่อมมีหน้าที่ส่งมอบรถพิพาทให้แก่โจทก์ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในสภาพที่เรียบร้อยและสมบูรณ์  จำเลยที่  4  ไม่อาจอ้างว่าเป็นเพียงผู้ให้สินเชื่อแก่โจทก์ในการซื้อรถพิพาทจากจำเลยที่  3  แล้วนำออกให้โจทก์เช่าซื้อขึ้นเป็นเหตุปฏิเสธความรับผิดได้  ที่จำเลยที่  4  ให้การปฏิเสธความรับผิดในความชำรุดบกพร่องของรถพิพาทโดยอ้างความตกลงตามสัญญาเช่าซื้อ  เอกสารหมาย  ล.5  ข้อ  3  ที่ระบุความว่า  ผู้เช่าซื้อไม่มีสิทธิเรียกร้องใด ๆ  สำหรับความชำรุดบกพร่องของรถยนต์ที่เกิดขึ้นหรือปรากฏหลังจากวันที่ผู้เช่าซื้อรับมอบรถยนต์  ไม่ว่าตรวจพบขณะส่งมอบหรือไม่  เจ้าของไม่ต้องรับผิดเนื่องจากความชำรุดบกพร่องนั้น  พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม  พ.ศ. 2540  มาตรา  6  บัญญัติว่า  สัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพที่มีการชำระหนี้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้บริโภค  จะมีข้อตกลงยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพเพื่อความชำรุดบกพร่องหรือเพื่อการรอนสิทธิไม่ได้  เว้นแต่ผู้บริโภคได้รู้ถึงความชำรุดบกพร่องหรือเหตุแห่งการรอนสิทธิอยู่แล้วในขณะทำสัญญา  ในกรณีนี้ให้ข้อตกลงยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดนั้นมีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น  ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน  ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา  142  (5)  ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค  พ.ศ. 2551  มาตรา  7  เช่นนี้  ข้อตกลงที่ยกเว้นความรับผิดกรณีชำรุดบกพร่องที่เกิดขึ้นหลังจากวันที่รับมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อซึ่งไม่สามารถตรวจพบขณะส่งมอบ  จึงเป็นข้อตกลงที่ก่อให้จำเลยที่  4  ผู้ให้เช่าซื้อเกิดความได้เปรียบโจทก์ผู้เช่าซื้อซึ่งเป็นผู้บริโภคเกินสมควรจึงไม่อาจบังคับได้  เมื่อความชำรุดบกพร่องของรถพิพาทปรากฏขึ้นภายหลังจากวันที่โจทก์รับมอบรถพิพาทแล้ว  จำเลยที่  4  จึงต้องร่วมกับจำเลยที่  1  รับผิดต่อโจทก์ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา  472  ซึ่งใช้บังคับแก่การเช่าซื้อด้วยตามมาตรา  549 

          จำเลยที่  1  ถึงที่  3  ไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถพิพาทในขณะโจทก์ฟ้องคดี  ทั้งไม่ใช่ผู้รับชำระค่าเช่าซื้อรถที่โจทก์ชำระไปแล้วจากโจทก์  โจทก์ในฐานะผู้บริโภคคงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่  1  ถึงที่  3  ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนสินค้าที่ชำรุดบกพร่องและเรียกค่าเสียหายภายใต้บังคับของกฎหมายเท่านั้น  กรณีย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยที่  1  ถึงที่  3  รับรถพิพาทคืนไปจากโจทก์และชำระค่าเช่าซื้อรถที่โจทก์ชำระไปคืนแก่โจทก์ตามคำขอบังคับของโจทก์ได้  ส่วนจำเลยที่  4  ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถพิพาทและเป็นผู้ให้เช่าซื้อ  ส่งมอบรถพิพาทที่มีความชำรุดบกพร่องแม้ไม่เห็นประจักษ์ในขณะส่งมอบให้แก่โจทก์  ย่อมเป็นการชำระหนี้ที่ไม่ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้  จำเลยที่  4  จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อ  เมื่อสัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาต่างตอบแทน  โจทก์ย่อมปฏิเสธยังไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาได้จนกว่าจำเลยที่  4  จะปฏิบัติตามสัญญาด้วยการแก้ไขปัญหาความชำรุดบกพร่องให้รถพิพาทที่เช่าซื้ออยู่ในสภาพสมบูรณ์เรียบร้อยพร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภัยเสียก่อน  และจำเลยที่  4  จะยกเอาเหตุที่โจทก์ไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามกำหนดเป็นเหตุผิดนัดเพื่อบอกเลิกสัญญาไม่ได้ตาม ป.พ.พ.  มาตรา  369  การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อของจำเลยที่  4  จึงไม่มีผลเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยชอบ  แม้คดีไม่ปรากฏจากทางนำสืบของโจทก์ว่า  ก่อนฟ้องคดีโจทก์นำรถพิพาทไปคืนหรือแสดงเจตนาคืนรถพิพาทให้แก่จำเลยที่  4  หรือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ  แต่การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยที่  4  รับรถพิพาทคืนไป  ย่อมเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อด้วยเหตุอันเกิดแต่จำเลยที่  4  เป็นฝ่ายผิดสัญญา  คู่กรณีจึงต้องกลับสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  391  โจทก์จึงขอให้บังคับจำเลยที่  4  ใช้เงินค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระไปแล้วแก่โจทก์ได้  โดยโจทก์ต้องส่งมอบรถพิพาทคืนแก่จำเลยที่  4  และต้องชำระค่าใช้รถพิพาทแก่จำเลยที่  4  ด้วย  เมื่อพิเคราะห์ถึงเงินลงทุนและค่าธรรมเนียมเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อ  เอกสารหมาย  จ.5  ประกอบด้วยแล้ว  เห็นควรกำหนดให้จำเลยที่  4  รับผิดคืนเงินส่วนนี้แก่โจทก์  250,000  บาท  เมื่อโจทก์ส่งมอบรถพิพาทที่มีความชำรุดบกพร่องของเครื่องยนต์ดังวินิจฉัยคืนแก่จำเลยที่  4  โดยสภาพรถพิพาทส่วนอื่นอยู่ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดีแล้วเสียก่อน 

          จำเลยที่  2  ถึงที่  4  ไม่ใช่ผู้ประกอบการตาม พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย  พ.ศ. 2551  จึงไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหายเชิงลงโทษ  และแม้คำฟ้องโจทก์เป็นการขอบังคับตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค  พ.ศ. 2551  อยู่ด้วย ซึ่งตามมาตรา  42  เป็นบทบัญญัติให้ศาลกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษได้  แต่เมื่อไม่ปรากฏความว่า  จำเลยที่  2  ถึงที่  4  มีการกระทำโดยเจตนาเอาเปรียบโจทก์โดยไม่เป็นธรรม  หรือจงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหาย  หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่นำพาต่อความเสียหายที่จะเกิดแก่โจทก์  หรือกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อความรับผิดชอบของตน  อันเป็นเหตุที่จะกำหนดให้รับผิดในค่าเสียหายเชิงลงโทษได้ตามพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค  พ.ศ. 2551  มาตรา 42 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 

 (ฎีกา 1455/2562)  (อัพเดท 24.02.2563)

Share