แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
ค่าครองชีพเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้ลูกจ้างเป็นจำนวนแน่นอนเป็นรายเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือนหรือค่าจ้างจึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานเช่นเดียวกับเงินเดือนถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนหรือค่าจ้างแต่การที่จะนำค่าครองชีพมารวมเป็นฐานคำนวณเงินบำเหน็จหรือไม่ย่อมแล้วแต่หลักเกณฑ์ที่นายจ้างกำหนดเพราะเงินบำเหน็จกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานมิได้บังคับให้นายจ้างต้องจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อออกจากงานเป็นเพียงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างด้วยความสมัครใจ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่า’เงินเพิ่มสำหรับผู้ปฏิบัติงานกะเป็นเงินช่วยเหลือพิเศษไม่นำไปรวมเป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง’เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินเพิ่มพิเศษจะนำไปรวมเป็นฐานคำนวณเงินบำเหน็จด้วยมิได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
ย่อยาว
ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่า ค่าครองชีพ และ เงิน ค่า กะ มี ลักษณะเป็น เงินเดือน หรือ ค่าจ้าง ต้อง นำ ไป รวม คิด เป็น เงิน บำเหน็จ
จำเลย อุทธรณ์
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า ที่ จำเลย อุทธรณ์ ว่า ค่าครองชีพเป็น เพียง เงิน ช่วยเหลือ พนักงาน ผู้ มี รายได้ น้อย ให้ สามารถดำรงชีพ อยู่ ได้ พอ สมควร ใน ภาวะ เศรษฐกิจ ปัจจุบัน เพื่อ ให้ ได้รับ ประโยชน์ อย่างอื่น นอกเหนือ จาก เงินเดือน มิใช่ เงินเดือน หรือค่าจ้าง จะ นำ มา รวม เป็น ฐาน คำนวณ เงิน บำเหน็จ มิได้ นั้น เห็นว่า จำเลย จ่าย ค่า ครองชีพ เป็น จำนวน แน่นอน เป็น รายเดือน เช่นเดียวกับ เงินเดือน หรือ ค่าจ้าง ค่าครองชีพ จึง เป็น เงิน ที่ นายจ้าง จ่ายเพื่อ ตอบแทน การ ทำงาน เช่นเดียว กับ เงินเดือน ถือ ว่า เป็น ส่วนหนึ่ง ของ เงินเดือน หรือ ค่าจ้าง มิใช่ ประโยชน์ อย่างอื่น ตามข้อบังคับ ของ จำเลย ฉบับที่ 209 ว่า ด้วย กองทุน บำเหน็จ ให้ นิยามคำว่า ‘เงินเดือน’ และ ‘ค่าจ้าง’ ไว้ ว่า
‘เงินเดือน’ หมายความ ว่า เงิน ที่ ปตท. จ่าย ให้ พนักงาน ตาม อัตราตำแหน่ง และ อัตรา เงินเดือน ของ ปตท. โดย รวม เป็น เงิน เพิ่ม พิเศษสำหรับ การ สู้รบ เข้า ด้วย แต่ ไม่ รวม เงิน ตอบแทน ใน ลักษณะ ค่าล่วงเวลา โบนัส เบี้ยกรรมการ เบี้ยเลี้ยง หรือ ประโยชน์ อย่างอื่น
‘ค่าจ้าง’ หมายความ ว่า เงิน ที่ ปตท. จ่าย ให้ แก่ ลูกจ้าง เป็น การตอบแทน การ ทำงาน ใน เวลา ทำงาน ปกติ ของ วัน ทำงาน โดย รวม เงิน เพิ่มพิเศษ สำหรับ การ สู้รบ ด้วย แต่ ไม่ รวม เงิน ตอบแทน ใน ลักษณะ ค่าล่วงเวลา โบนัส เบี้ยกรรมการ เบี้ยเลี้ยง หรือ ประโยชน์ อย่างอื่น
การ คำนวณ เงิน บำเหน็จ ตาม ข้อบังคับ ที่ กล่าว ข้างต้น กำหนด ไว้ ว่า ‘การคำนวณ บำเหน็จ เพื่อ จ่าย ตาม ข้อบังคับ นี้ ให้ ตั้ง อัตราเงินเดือน หรือ ค่าจ้าง เดือน สุดท้าย คูณ ด้วย จำนวน ปี อายุ การทำงาน’
ตาม ข้อบังคับ ของ จำเลย มิได้ กำหนด ยกเว้น มิให้ นำ ค่าครองชีพไป รวม เป็น ฐาน คำนวณ เงิน บำเหน็จ เมื่อ ค่าครองชีพ เป็น ส่วนหนึ่งของ เงินเดือน หรือ ค่าจ้าง จึง ต้อง นำ ไป รวม เป็น ฐาน คำนวณ เงินบำเหน็จ ด้วย
ที่ จำเลย อุทธรณ์ ว่า ค่างานกะ มี จำนวน ไม่ แน่นอน จ่าย ไม่ เท่ากัน ทุก เดือน ไม่ เป็น การ แน่นอน ว่า ผู้ ปฏิบัติ งาน กะ แต่ ละ คนจะ เข้า กะ อย่างใด วันใด จึง มี ลักษณะ เป็น กำลังใจ ใน การ ปฏิบัติหน้าที่ ที่ เคร่งเครียด มี ลักษณะ เช่นเดียว กับ เบี้ยขยัน ถือ ไม่ ได้ว่า เป็น เงินเดือน หรือ ค่าจ้าง ที่ จะ นำ มา เป็น ฐาน คำนวณ เงินบำเหน็จ ให้ โจทก์ ที่ 20 ดัง ที่ ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย นั้นศาลฎีกา เห็นว่า เงิน บำเหน็จ นี้ กฎหมาย ว่า ด้วย การคุ้มครองแรงงานมิได้ บังคับ ให้ นายจ้าง ต้อง จ่าย แก่ ลูกจ้าง เมื่อ ออก จาก งานแต่ เป็น เงิน ที่ นายจ้าง จ่าย ให้ แก่ ลูกจ้าง ด้วย สมัครใจ เพื่อตอบแทน คุณความดี ของ ลูกจ้าง ที่ ทำงาน ด้วย ดี ตลอด จน ออก จาก งานไป เพราะฉะนั้น นายจ้าง ย่อม มี สิทธิ ที่ จะ กำหนด หลักเกณฑ์ และวิธี การ จ่าย เงิน บำเหน็จ ประการ ใด ก็ ได้ สุด แต่ นายจ้าง หรือสุดแต่ ข้อบังคับ หรือ ระเบียบ ว่า ด้วย การ นี้ แต่ ละ สถาน ประกอบกิจการ เป็น รายๆ ไป คดี นี้ การ ที่ จะ พิจารณา ว่า เงินเพิ่ม สำหรับผู้ ปฏิบัติ งาน กะ จะ นำ ไป รวม เป็น ฐาน คำนวณ เงิน บำเหน็จ ด้วยหรือ ไม่ จะ ต้อง พิจารณา ข้อบังคับ ของ จำเลย ประกอบ ปรากฏ ตามข้อบังคับ ของ จำเลย ข้อ 8 (เอกสาร หมายเลข 4 ท้าย คำให้การ) กำหนดว่า ‘เงิน เพิ่ม สำหรับ ผู้ ปฏิบัติ งานกะ เป็น เงิน ช่วยเหลือ พิเศษสำหรับ ผู้ ปฏิบัติ งานกะ จึง ไม่ นำ ไป รวม เป็น เงินเดือน หรือค่าจ้าง เพื่อ คำนวณ เป็น ค่า ล่วงเวลา ใน วันหยุด ค่า ทำงาน ใน วันหยุด ค่าชดเชย หรือ เงิน อื่น ใด’ ตาม ข้อความ ดังกล่าว เห็น ความ มุ่งหมายของ จำเลย ได้ ว่า เงินเพิ่ม สำหรับ ผู้ ปฏิบัติ งานกะ นี้ เป็น’เงินเพิ่ม พิเศษ’ โดย แท้ ไม่ ประสงค์ จะ นำ ไป รวม เป็น เงินเดือนหรือ ค่าจ้าง อัน จะ มี ผล เพื่อ ให้ นำ ไป รวม เป็น ฐาน คำนวณ เงินบำเหน็จ ตาม ข้อบังคับฯ ฉบับที่ 209 ว่า ด้วย กองทุน บำเหน็จ ข้อ10 และ จำเลย ยัง ได้ เน้น ไว้ ใน ตอน ท้าย แจ้งชัด อีก ว่า นอกจากจะ ไม่ นำ ไป รวม เป็น เงิน ประเภท ต่างๆ ตาม ที่ ระบุ ไว้ แล้ว ยังจะ ไม่ นำ ไป รวม เป็น ‘เงิน อื่น ใด’ ซึ่ง ย่อม หมายความ รวมถึงเงินบำเหน็จ อีก ด้วย ข้อบังคับ หรือ ระเบียบ ของ จำเลย มี ความเป็น ไป ตาม ที่ กล่าว ข้างต้น ศาลฎีกา เห็นว่า จะ นำ เงิน เพิ่มสำหรับ ปฏิบัติ งานกะ ไป รวม เป็น ฐาน คำนวณ เงิน บำเหน็จ ด้วย มิได้
พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย จ่าย เงิน บำเหน็จ แก่ โจทก์ ที่ 20เป็น จำนวน 7,200 บาท นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลแรงงานกลาง