แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
พินัยกรรม์ที่ทำขึ้นพร้อมกันหลายฉบับ และมีข้อความเหมือนกันทุกฉบับนั้น ย่อมถือได้ว่าเป็นต้นฉบับพินัยกรรม ทั้งหมด ผู้มีสิทธิได้ทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้น จะอ้างสิทธิในพินัยกรรมฉบับใดขึ้นขอรับมรดกก็ได้.
พินัยกรรมที่ขีดฆ่าตกเติมหลายแห่ง ไม่มีพยานลงชื่อรับรองลายมือให้ถูกต้องทุกแห่งนั้น จะเสียก็เสียเฉพาะการขีด ฆ่าตกเติมที่ทำไม่ถูกต้องเท่านั้น ไม่เสียหมดทั้งฉบับ./
ย่อยาว
คดีนี้ โจทก์ฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าพินัยกรรมของบิดา ที่ทำยกทรัพย์ให้จำเลยนั้นไม่สมบูรณ์ จำเลยไม่มีสิทธิรับทรัพย์ ตามพินัยกรรม
จำเลยต่อสู้ว่า พินัยกรรมสมบูรณ์
ศาลชั้นต้นเห็นว่า พินัยกรรมของนายตุ่นทำขึ้น ๗ ฉบับ มีข้อความต้องกัน จึงต้องฟังว่าเป็นต้นฉบับทั้ ๗ ฉบับ การที่ฉบับที่จำเลยรักษาอยู่ได้ถูกทำลายแต่ฉะบับเดียว การเพิกถอนจึงไม่สมบูรณ์ดังบัญญัติไว้ใน ป.ม.แพ่งฯมาตรา ๑๖๙๕ วรรค ๒ โจทก์ได้ส่งต้นฉบับพินัยกรรมต่อศาล ๕ ฉบับ โดยยังไม่มีการทำลายหรือขีดฆ่า จำเลยมีสิทธิอ้างขอรับ มรดกนายตุ่นตามพินัยกรรมที่ยังเหลืออยู่ได้ โจทก์ว่าพินัยกรรมไม่สมบูรณ์ทั้งฉบับ เพราะมีการตขีดฆ่าตกเติม ๓ แห่ง มีลายมือนายตุ่นรับรองแห่งเดียว แต่ก็ไม่มีพยานรับรองลายมือนายตุ่น ศาลชั้นต้นเห็นว่าหากจะเสีย ก็เสียเฉพาะทีขีด ฆ่าตกเติมไม่ใช่เสียทั้งฉบับ จึงพิพากษายกฟ้อง.
โจทก์อุทธรณ์, ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน.
โจทก์ฎีกา,
ศาลฎีกาเห็นว่า พินัยกรรมของนายตุ่นทุกฉบับมีข้อความเหมือนกัน และทำพร้อมกัน จึงเป็นต้นฉบับพินัยกรรมทั้งหมด จำเลยจะอ้างสิทธิในพินัยกรรมของนายตุ่นฉบับใดขึ้นขอรับมรดกก็ได้ ในพินัยกรรมมีขีดฆ่าตกเติม ๓ แห่ง ไม่มีพยาน ลงชื่อรับรองลายมือให้ถูกต้องทุกแห่งจะเสียก็เสียเฉพาะการที่ขีดฆ่าตกเติมที่ทำไม่ถูกต้องเท่านั้น ไม่เเสียหมดทั้งฉบับ.
จึงพิพากษายืน.