แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ข้อตกลงใน ใบตราส่งระหว่าง ผู้ส่งและ ผู้ขนส่งที่ให้ ฟ้องคดีที่ศาลใน กรุงลอนดอน ประเทศ อังกฤษนั้นเมื่อคดีเป็นหนี้เหนือบุคคล ข้อตกลงดังกล่าวจึงขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(2)เดิม(มาตรา4(1)ที่แก้ไขใหม่)ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีและเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนข้อตกลงนั้นจึงไม่อาจใช้บังคับได้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า โจทก์ ได้รับ ประกันภัย การ ขนส่งสินค้า เยื่อกระดาษ ทางทะเล ของ บริษัท ไทยเรยอน จำกัด ผู้ซื้อ โดย มี เงื่อนไข แห่ง ความรับผิด ใน ความเสียหาย ที่ เกิดขึ้น แก่ สินค้าระหว่าง การ ขนส่ง จาก เมือง ท่า ปอร์ต อลิซ รัฐ บริติช โคลัมเบีย ประเทศ แคนาดา มา ยัง กรุงเทพมหานคร และ ต่อไป จน ถึง โรงงาน ของ ผู้ซื้อ ที่ จังหวัด อ่างทอง บริษัท คอร์มอแร้นท์ บัลค์ แครี่เออร์ อิงค์ จำกัด และ จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ ร่วม ทำการ ขนส่ง เมื่อ เรือ ดังกล่าวเดินทาง มา ถึง ท่าเรือ กรุงเทพมหานคร แล้ว ผู้ซื้อ ได้ว่า จ้าง จำเลย ที่ 2ขนส่ง สินค้า ดังกล่าว ต่อไป ยัง โรงงาน ของ ผู้ซื้อ ที่ จังหวัด อ่างทองอีก ทอด หนึ่ง ปรากฏว่า สินค้า ดังกล่าว หาย ไป 16 มัด และ เยื่อกระดาษบางส่วน เปียก น้ำเสีย หาย 132 มัด รวม ค่าเสียหาย เป็น เงิน 328,610.90บาท ความเสียหาย ดังกล่าว เกิดขึ้น ใน ระหว่าง ที่ สินค้า อยู่ ใน ความครอบครอง ของ จำเลย ทั้ง สอง ซึ่ง เป็น ผู้ขนส่ง จำเลย ทั้ง สอง จึง ต้อง รับผิดต่อ บริษัท ไทยเรยอน จำกัด แต่ จำเลย ทั้ง สอง ไม่ยอม ชำระ โจทก์ ใน ฐานะ ผู้รับประกันภัย ได้ ชดใช้ ค่าเสียหาย ดังกล่าว ให้ แก่ บริษัท ไทยเรยอน จำกัด จึง รับช่วงสิทธิ ของ ผู้เอาประกันภัย มา เรียกร้อง เอา แก่ จำเลยทั้ง สอง ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชดใช้ เงิน 343,600.99 บาทพร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 มิได้ เป็น ผู้ขนส่ง หรือ ทำการขนส่ง ร่วม กับ บริษัท คอร์มอแร้นท์ บัลค์ แครี่เออร์ อิงค์ ผู้รับจ้าง ขนส่ง สินค้า พิพาท จำเลย ที่ 1 เป็น เพียง ตัวแทน บริษัทดังกล่าว ซึ่ง อยู่ ต่างประเทศ และ มี ภูมิลำเนา อยู่ ต่างประเทศ ไม่มี สาขาใน ประเทศ ไทย และ จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ รับจ้าง ขนถ่าย สินค้า พิพาท จึงไม่ต้อง รับผิด ใน ความเสียหาย ที่ เกิดขึ้น แก่ สินค้า พิพาทบริษัท เวสเทอร์น พัลพ์ อิงค์ จำกัด ผู้ส่ง สินค้า พิพาท กับ บริษัท คอร์มอแร้นท์ บัลค์ แครี่เออร์ อิงค์ จำกัด ผู้ขนส่ง โดย บริษัท ซันไรส์ ชิปปิ้ง เอเยนซี่ (แคนาดา) จำกัด ตัวแทน ผู้ขนส่ง ได้ ตกลง กัน เป็น ลายลักษณ์อักษร ว่า ข้อพิพาท ที่ เกิดขึ้น ตาม ใบตราส่งสินค้า พิพาท ให้ ดำเนินคดี ใน กรุงลอนดอน และ ให้ ใช้ กฎหมาย ของ ประเทศ อังกฤษ บังคับ ดังนั้น บริษัท ไทยเรยอน จำกัด ผู้รับตราส่ง และ โจทก์ ใน ฐานะ ผู้รับช่วงสิทธิ ของ ผู้รับตราส่ง ดังกล่าว จึง ต้อง รับ ไปทั้ง สิทธิ และ หน้าที่ ต้อง ปฏิบัติ ตาม ข้อตกลง ดังกล่าว โจทก์ จะ ฟ้องจำเลย ที่ 1 ต่อ ศาล ใน ราชอาณาจักรไทย ไม่ได้ ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า สินค้า พิพาท ขาด จำนวน มา ก่อน จำเลย ที่ 2รับมอบ และ ที่ เปียก น้ำ เพราะ เหตุสุดวิสัย จำเลย ที่ 2 จึง ไม่ต้อง รับผิดบริษัท ไทยเรยอน จำกัด ผู้เอาประกันภัย มิได้ เรียกร้อง ค่าเสียหาย จาก จำเลย ที่ 2 ทันที นับแต่ ทราบ ว่า สินค้า พิพาท สูญหาย และ ได้รับความเสียหาย ตาม ข้อกำหนด ใน สัญญาประกันภัย จึง หมด สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน จาก โจทก์ โจทก์ ไม่มี หน้าที่ จะ ต้อง ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนแก่ ผู้เอาประกันภัย ดังนั้น โจทก์ จึง ไม่อาจ รับช่วงสิทธิ มา ฟ้องจำเลย ที่ 2 เช่นกัน ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 2 ชำระ เงิน223,281.95 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันที่14 มีนาคม 2533 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ ยกฟ้อง โจทก์
โจทก์ และ จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน105,328.95 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่วันที่ 14 มีนาคม 2533 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ นอกจากที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ เป็น คดี หนี้เหนือบุคคล จำเลย ทั้ง สองต่าง มี ภูมิลำเนา อยู่ ที่ กรุงเทพมหานคร โจทก์ จึง มีอำนาจ ฟ้อง จำเลยทั้ง สอง ต่อ ศาล ใน ประเทศ ไทย คือ ศาลแพ่ง ข้อตกลง ใน ใบตราส่ง ระหว่างผู้ส่ง และ ผู้ขนส่ง ที่ ให้ ฟ้องคดี ที่ ศาล ใน กรุงลอนดอน ประเทศ อังกฤษ นั้น เห็นว่า แม้ สิทธิ ตาม ใบตราส่ง ดังกล่าว จะ ตก ได้ แก่ ผู้รับตราส่งแล้ว และ โจทก์ เป็น ผู้รับช่วงสิทธิ มาจาก ผู้รับตราส่ง ก็ ตาม แต่ ข้อตกลงดังกล่าว ขัด ต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) เดิม(มาตรา 4(1) ที่ แก้ไข ใหม่ ) ซึ่ง เป็น กฎหมาย ที่ ใช้ บังคับ อยู่ ใน ขณะที่โจทก์ ฟ้องคดี และ เป็น กฎหมาย อัน เกี่ยวกับ ความสงบ เรียบร้อย หรือ ศีลธรรมอัน ดี ของ ประชาชน ทั้ง ข้อตกลง นั้น ก็ มิได้ เป็น ไป ตาม ที่มา ตรา 7(4) เดิมบัญญัติ ไว้ อีก ด้วย กล่าว คือ ศาล ใน กรุงลอนดอน มิใช่ ศาล ที่ คู่ความ ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง มี ภูมิลำเนา อยู่ ใน เขต หรือ ศาล ที่ มูลคดี ของ เรื่อง นี้ได้ เกิดขึ้น แต่อย่างใด ข้อตกลง นั้น จึง ไม่อาจ ใช้ บังคับ ได้ โจทก์ จึงฟ้อง จำเลย ที่ 1 ต่อ ศาล ใน ประเทศ ไทย ได้ ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา นั้นศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ใน ผล ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน