แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
คดี นี้ ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระเงิน จำนวน 18,327,369 บาท พร้อม ดอกเบี้ย แก่ โจทก์ และ ให้ จำเลย ที่ 3ผู้ค้ำประกัน ร่วม กับ จำเลยที่ 1 รับ ผิด ชำระเงิน จำนวน2,98,257.21 บาท พร้อม ดอกเบี้ย แก่ โจทก์ ปรากฏ ว่า เฉพาะ โจทก์ เท่านั้น ที่ อุทธรณ์ ขอให้ จำเลยที่ 1 รับผิด เพิ่มขึ้นจำเลยที่ 3 หา ได้ อุทธรณ์ ไม่ คดี สำหรับ จำเลย ที่ 3 จึง ถึงที่สุดตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น แม้ ศาลอุทธรณ์ จะ พิพากษา แก้ เป็น ว่าให้ จำเลย ที่ 1 ชำระเงิน 21,904,294.10 บาท พร้อม ดอกเบี้ยแก่ โจทก์ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ดังกล่าว ก็ หา มี ผล ทำให้จำเลยที่ 3 ต้อง รับผิด เพิ่ม ขึ้น จาก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ไม่จำเลยที่ 3 จึง ไม่ มี สิทธิ ฎีกา ว่า ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่าโจทก์ มี สิทธิ เรียก ดอกเบี้ย ทบต้น จาก จำเลยที่ 1 ได้ จนถึงวันที่ หัก ทอน บัญชี กัน ครั้งสุดท้าย คือ วันที่ 1 เมษายน 2534ไม่ ถูกต้อง เพราะ เป็น ข้อ ที่ มิได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว โดย ชอบใน ศาลอุทธรณ์
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2530 จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์และแก้ไขเพิ่มเติมอีกหลายครั้งรวมวงเงินเบิกเกินบัญชีทั้งสิ้น 5,100,000 บาท และมีการแก้ไขต่ออายุสัญญาครั้งสุดท้ายครบกำหนดวันที่ 26 เมษายน 2532โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน5,100,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 3,000,000 บาท และจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันและขึ้นเงินจำนองอีกรวมวงเงินจำนองเป็นเงิน 7,000,000 บาท ต่อมามีการหักทอนบัญชีวันที่ 1 เมษายน 2534 ปรากฏว่า จำเลยที่ 1ยังเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์อยู่ 21,904,294.10 บาทขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระต้นเงิน 21,904,294.10 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีถึงวันฟ้อง รวมเป็นเงิน24,127,729.98 บาท ให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ในต้นเงิน 5,100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีถึงวันฟ้อง รวมเป็นเงิน 5,305,397.26 บาท และให้จำเลยที่ 3และที่ 4 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในต้นเงิน 3,000,000 บาทถึงวันฟ้องรวมเป็นเงิน 3,120,821.92 บาท และให้จำเลยทั้งสี่ใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินที่ต้องรับผิดนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสี่ไม่ชำระให้ยึดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนจำนองไว้เป็นประกันออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ หากได้เงินไม่พอชำระให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสี่มาขายทอดตลาดเพื่อชำระแก่โจทก์จนครบ
จำเลยที่ 1 ให้การว่า ลายมือชื่อในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีไม่ใช่ลายมือชื่อที่แท้จริงของกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1จึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 และสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนดวันที่ 26 เมษายน 2532 หลังจากนั้นโจทก์เรียกดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ไม่ได้ ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 2 และที่ 4 ให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 และที่ 4 รับผิดเกินกว่าวงเงินที่ค้ำประกัน โจทก์นำเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 ไปหักใช้หนี้เบิกเงินเกินบัญชีแล้วจำเลยที่ 2 และที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ภายหลังวันที่ 26 เมษายน 2532ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 3 ให้การและแก้ไขคำให้การว่า จำเลยที่ 2 ไม่เคยค้ำประกันจำเลยที่ 1 หากฟังว่าค้ำประกันจำเลยที่ 3 ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เพราะว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน 18,327,369 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2532 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดาชำระเงินจำนวน 2,898,257.21 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่29 สิงหาคม 2534 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4จะชำระเสร็จ หากจำเลยทั้งสี่ไม่ชำระให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 124837 และ 124838 ตำบลบางซื่อ อำเภอดุสิต (บางซื่อ)กรุงเทพมหานคร ของจำเลยที่ 1 ที่จำนองไว้แก่โจทก์ออกขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้แก่โจทก์ หากได้เงินจากการขายทอดตลาดไม่พอชำระหนี้ ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสี่ออกขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์จนครบ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน21,904,294.10 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันที่ 2 เมษายน 2534 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 2 เมษายน 2534 ถึงวันฟ้องต้องไม่เกิน 2,223,435.88 บาท นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 3 ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1ชำระเงินจำนวน 18,327,369 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์และให้จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชำระเงินจำนวน 2,898,257.21 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ปรากฏว่าเฉพาะโจทก์เท่านั้นที่อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดเพิ่มขึ้นจำเลยที่ 3 หาได้อุทธรณ์ไม่ คดีสำหรับจำเลยที่ 3 จึงถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 21,904,294.10 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวก็หามีผลทำให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดเพิ่มขึ้นจากคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่จำเลยที่ 3 จึงไม่มีสิทธิฎีกาว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ได้จนถึงวันที่หักทอนบัญชีกันครั้งสุดท้ายคือวันที่ 1 เมษายน 2534ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 3จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
พิพากษายกฎีกาของจำเลยที่ 3