แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ศาลชั้นต้นสั่งว่าคำขอฟ้องแย้งไม่สามารถบังคับได้จึงไม่รับฟ้องแย้งดังนี้หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าฟ้องแย้งมิใช่ฟ้องแย้งที่ไม่อาจบังคับได้ก็ชอบที่จะวินิจฉัยว่าฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมเพื่อรับฟ้องแย้งได้ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยซึ่งอาศัยอยู่ในที่พิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยและมีคำขอบังคับตามฟ้องแย้งให้โจทก์ไปจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่พิพาทให้จำเลยเป็นผู้ได้สิทธิครอบครองเป็นคำฟ้องที่มีคำขอบังคับโจทก์โดยครบถ้วนแล้วส่วนการที่จะบังคับตามฟ้องแย้งได้หรือไม่จึงชอบที่จะรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณาเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาต่อไปในชั้นชี้ขาดตัดสินคดี
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ และ มีสิทธิ ครอบครองใน ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 250/108 เนื้อที่24 ไร่ 2 งาน 22 ตารางวา จำเลย อยู่อาศัย ชั่วคราว ใน ที่ดิน ของ โจทก์เนื้อที่ ประมาณ 30 ตารางวา ขอให้ บังคับ จำเลย และ บริวาร รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ออก ไป จาก ที่ดิน ของ โจทก์ และ ห้าม จำเลย มิให้ เข้าเกี่ยวข้อง กับ ที่ดิน ของ โจทก์ อีก ต่อไป
จำเลย ให้การ และ ฟ้องแย้ง ว่า โจทก์ มิใช่ ผู้ครอบครอง ที่ดิน ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 250/108 ที่ดิน ตาม ฟ้อง เป็นส่วน หนึ่ง ของ ที่ดิน จำเลย ที่ มี อยู่ จำนวน ประมาณ 28 ไร่ จำเลยเป็น ผู้ครอบครอง ทำประโยชน์ เอง ทั้งหมด ขอให้ ยกฟ้อง กับ ฟ้องแย้งขอให้ พิพากษา ว่า ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่250/108 เป็น ของ จำเลย ให้ บังคับ โจทก์ ไป จดทะเบียน เปลี่ยน ชื่อใน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 250/108 ดังกล่าว เป็น จำเลยเป็น ผู้ ได้ สิทธิ ครอบครอง หาก โจทก์ ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษาเป็น การแสดง เจตนา ของ จำเลย
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง รับคำ ให้การ ส่วน ฟ้องแย้ง นั้น เห็นว่าไม่สามารถ ที่ จะ บังคับ ได้ จึง ไม่รับฟ้อง แย้ง
จำเลย อุทธรณ์ ขอให้ รับฟ้อง แย้ง
ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า ฟ้องแย้ง เกี่ยวข้อง กับ ฟ้องเดิม และ มิใช่ฟ้องแย้ง มี เงื่อนไข หรือไม่ อาจ บังคับ ได้ พิพากษากลับ ให้รับฟ้อง แย้ง จำเลย
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ปัญหา ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ที่ ว่า ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย นอกประเด็น หรือไม่ โจทก์ ฎีกา ว่า ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่าฟ้องแย้ง ของ จำเลย เกี่ยวข้อง กับ ฟ้องเดิม ซึ่ง ปัญหา นี้ ศาลชั้นต้น มิได้วินิจฉัย ไว้ และ จำเลย มิได้ ยกขึ้น เป็น ข้อ อุทธรณ์ การ ที่ ศาลอุทธรณ์ ยกปัญหา ดังกล่าว ขึ้น วินิจฉัย เป็น การ วินิจฉัย นอกประเด็น เห็นว่าฟ้องแย้ง เป็น คำฟ้อง อย่างหนึ่ง ซึ่ง ต้อง มี สภาพแห่งข้อหา และ คำขอบังคับทั้ง ข้ออ้าง ที่อาศัย เป็น หลักแห่งข้อหา เช่นว่า นั้น และ ยัง ต้องเกี่ยวข้อง กับ ฟ้องเดิม พอ ที่ จะ รวม พิจารณา และ ชี้ขาด ตัดสิน คดีเข้า ด้วยกัน ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172วรรคสอง , 177 วรรคสาม และ มาตรา 179 วรรคท้าย คดี นี้ แม้ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ฟ้องแย้ง ของ จำเลย ว่า คำขอ ฟ้องแย้ง ไม่สามารถ ที่ จะบังคับ ได้ โดย ไม่ได้ วินิจฉัย ว่า ฟ้องแย้ง ของ จำเลย เกี่ยวข้อง กับฟ้องเดิม หรือไม่ ก็ ตาม แต่ ใน การ พิจารณา ปัญหา ที่ ว่า ฟ้องแย้ง ของจำเลย ชอบ ที่ ศาล จะ รับ ไว้ พิจารณา หรือไม่ ศาลอุทธรณ์ ย่อม มีอำนาจ ยกบท กฎหมาย ดัง ที่ กล่าว มา นั้น ขึ้น ปรับ แก่ คดี ได้ ดังนั้นเมื่อ ศาลอุทธรณ์ เห็นว่า ฟ้องแย้ง ของ จำเลย มิใช่ ฟ้องแย้ง ที่ ไม่อาจบังคับ ได้ ดัง ที่ ศาลชั้นต้น วินิจฉัย แต่ การ ที่ ศาลอุทธรณ์ จะ พิพากษากลับ ให้ รับฟ้อง แย้ง ของ จำเลย ไว้ พิจารณา ศาลอุทธรณ์ ชอบ ที่ ยกขึ้นวินิจฉัย ว่า ฟ้องแย้ง ของ จำเลย เกี่ยวข้อง กับ ฟ้องเดิม เพื่อ รับฟ้อง แย้งของ จำเลย ต่อไป ได้ ไม่เป็น การ วินิจฉัย นอกประเด็น แต่อย่างใดที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย มา นั้น ชอบแล้ว ฎีกา โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ปัญหา ตามฎีกา ของ โจทก์ ต่อไป ที่ ว่า ฟ้องแย้ง ของ โจทก์ บังคับ ได้ หรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ขับไล่ จำเลย ซึ่ง อาศัย อยู่ ใน ที่พิพาทตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ของ โจทก์ จำเลย ให้การ และฟ้องแย้ง ว่า ที่พิพาท เป็น ของ จำเลย ครอบครอง มา นาน ไม่ได้ อาศัยบุคคลอื่น โจทก์ มิได้ ฟ้องคดี ภายใน หนึ่ง ปี นับแต่ โจทก์ ถูก แย่ง การครอบครอง และ จำเลย มี คำขอบังคับ ตาม ฟ้องแย้ง ให้ โจทก์ ไป จดทะเบียนเปลี่ยน ชื่อ ใน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ของ ที่พิพาท ให้ จำเลยเป็น ผู้ ได้ สิทธิ ครอบครอง หาก โจทก์ ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษาเป็น การแสดง เจตนา ของ จำเลย ฟ้องแย้ง ของ จำเลย จึง เป็นคำฟ้อง ที่ มี คำขอบังคับ โจทก์ โดย ครบถ้วน แล้ว ส่วน การ ที่ จะ บังคับ ตามฟ้องแย้ง ของ จำเลย ได้ หรือไม่ ย่อม เป็น เรื่อง ที่ ศาล จะ ต้อง พิจารณาต่อไป ใน ชั้น ที่ มี คำพิพากษา หรือ คำสั่ง ชี้ขาด ตัดสิน คดี เมื่อ ฟ้องแย้งของ จำเลย เกี่ยวข้อง กับ ฟ้องเดิม พอ ที่ จะ รวม พิจารณา และ ชี้ขาดตัดสิน คดี เข้า ด้วยกัน ได้ เช่นนี้ ชอบ ที่ จะ รับฟ้อง แย้ง ของ จำเลย ไว้พิจารณา ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา โจทก์ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน ”
พิพากษายืน