คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 783/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ พ. ย่อมตกทอดมาเป็นของโจทก์ซึ่งเป็นทายาทกับทายาทอื่นทันทีเมื่อ พ. ถึงแก่ความตายการที่ ท. ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยและจำเลยร่วมซึ่งไม่ใช่ทายาทย่อมเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะต้องดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทและทำให้โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทได้อยู่ก่อนแล้วเสียเปรียบโจทก์จึงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนที่ ท. โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยและจำเลยร่วมได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1300

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น บุตร นาย พิมพ์ และนางทองมี สีอ่อน ส่วน จำเลย เป็น บุตร นาง ทองมี ซึ่ง เกิดจาก สามี เก่า เมื่อ วันที่ 6 กรกฎาคม 2513 นาย พิมพ์ ถึงแก่ความตาย และ มี ทรัพย์มรดก คิด เป็น เงิน 800,000 บาท นาย พิมพ์ มี ทายาท ผู้มีสิทธิ รับมรดก ที่ ยัง มี ชีวิต อยู่ รวม 8 คน โจทก์ มีสิทธิ รับ ส่วนแบ่ง 1 ใน 8 ส่วน คิด เป็น เงิน100,000 บาท โจทก์ บอก ให้ นาง ทองมี ซึ่ง เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาย พิมพ์ ตาม คำสั่งศาล ให้ แบ่ง ทรัพย์มรดก แก่ โจทก์ แล้ว แต่ นาง ทองมี ไม่ แบ่ง ทรัพย์มรดก ให้ โจทก์ และ นำ ที่ดิน ตาม หนังสือ รับรอง การทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) เลขที่ 1585 หมู่ ที่ 10 ตำบล กองนาง อำเภอ ท่าบ่อ จังหวัด หนองคาย เนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน 50 ตารางวา อันเป็น ทรัพย์มรดก ไป โอน ให้ แก่ จำเลย กับ ผู้มีชื่อ ซึ่ง ไม่มี สิทธิ รับมรดก ทำให้ โจทก์ เสียหาย ไม่ได้ รับ แบ่งปัน มรดก คิด เป็น เงิน 100,000 บาทต่อมา เมื่อ วันที่ 25 พฤษภาคม 2533 นาง ทองมี ถึงแก่ความตาย จำเลย ใน ฐานะ ทายาทโดยธรรม ของ นาง ทองมี ต้อง รับผิด ใน ความเสียหาย ที่นา ง ทองมี ก่อ ขึ้น แก่ โจทก์ ขอให้ บังคับ จำเลย ใช้ เงิน 100,000 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้องจนกว่า ชำระ เสร็จ ให้ จำเลย โอน ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก. ) เลขที่ 1585 ให้ โจทก์ โดย จำเลย เป็น ผู้ ออก ค่าใช้จ่ายจน เสร็จ การ หาก จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือ คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนาของ จำเลย
ระหว่าง พิจารณา โจทก์ ยื่น คำร้องขอ ให้ เรียก นาย ทา แข็งข้อ สามี จำเลย เข้า มา เป็น จำเลยร่วม ศาลชั้นต้น อนุญาต
จำเลย และ จำเลยร่วม ให้การ ทำนอง เดียว กัน ว่า โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง นาง ทองมี ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก ได้ แบ่งปัน ทรัพย์มรดก ของ นาย พิมพ์ ให้ แก่ ทายาท ทุกคน โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ตั้งแต่ ปี 2527 โจทก์ ตกลง ไม่ยอม รับมรดก ใน ส่วน ของ โจทก์ แต่ มี การ แบ่ง มรดก ให้ แก่ บุตรชายของ โจทก์ รับ ไว้ แทน แล้ว จำเลย และ จำเลยร่วม ได้รับ โอน ที่ดิน ตาม ฟ้องโดยสุจริต และ เสีย ค่าตอบแทน โจทก์ ฟ้อง เรียก ค่าเสียหาย และ เรียกทรัพย์มรดก คืน เมื่อ เกิน 1 ปี นับแต่ มี การ แบ่งปัน ทรัพย์มรดก และเจ้ามรดก ถึงแก่ความตาย ฟ้องโจทก์ จึง ขาดอายุความ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย และ จำเลยร่วม โอน ที่ดิน ตาม หนังสือรับรอง การ ทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) เลขที่ 1585 หมู่ ที่ 10ตำบล กองนาง อำเภอท่าบ่อ จังหวัด หนองคาย ให้ โจทก์ โดย ให้ จำเลย และ จำเลยร่วม เป็น ผู้ ออก ค่าใช้จ่าย จน เสร็จ การ มิฉะนั้น ให้ ถือเอาคำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา คำขอ อื่น ให้ยก
จำเลย และ จำเลยร่วม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
จำเลย และ จำเลยร่วม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ ราคา ทรัพย์สิน ที่พิพาท กัน ใน ชั้นอุทธรณ์ ไม่เกิน ห้า หมื่น บาท และ ที่พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกา ไม่เกิน สอง แสนบาท ต้องห้าม มิให้ อุทธรณ์ และ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 224 และ มาตรา 248 ตามลำดับ จำเลยและ จำเลยร่วม คง ฎีกา ได้ เฉพาะ ใน ปัญหาข้อกฎหมาย และ การ วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย เช่นว่า นี้ ศาลฎีกา ต้อง ถือ ตาม ข้อเท็จจริง ที่ศาลชั้นต้น ได้ วินิจฉัย จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวน ข้อเท็จจริง จึง รับฟังได้ เป็น ยุติ ตาม คำวินิจฉัย ของ ศาลชั้นต้น ว่า ที่ดินพิพาท ตาม หนังสือรับรอง การ ทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) เลขที่ 1585 เป็น ทรัพย์มรดกของ นาย พิมพ์ บิดา โจทก์ ต่อมา นาง ทองมี มารดา โจทก์ ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก ของ นาย พิมพ์ ไม่ได้ แบ่งปัน ทรัพย์มรดก ให้ โจทก์ และ ได้ โอน ที่ดินพิพาท ให้ จำเลย และ จำเลยร่วม โดย จำเลย และ จำเลยร่วม ไม่ใช่ทายาท ของ นาย พิมพ์ ไม่มี สิทธิ ได้รับ ทรัพย์มรดก ของ นาย พิมพ์ คดี มี ปัญหาข้อกฎหมาย ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย และ จำเลยร่วม ในประการ แรก คือ ที่ จำเลย และ จำเลยร่วม ฎีกา ว่า การ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1ไม่รับ วินิจฉัย อุทธรณ์ ของ จำเลย และ จำเลยร่วม ใน ข้อ ที่ ว่า การ ที่นาง ทองมี โอน ที่ดินพิพาท ซึ่ง เป็น ทรัพย์มรดก ของ นาย พิมพ์ ให้ จำเลย เป็น การกระทำ ที่ชอบ ด้วย กฎหมาย ถึง หาก ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ ไม่มีกฎหมาย บัญญัติ ให้ เป็น โมฆะ อันเป็น เหตุ ให้ มี การ เพิกถอน หรือ เรียก ทรัพย์คืน ใน ภายหลัง โดย วินิจฉัย ว่า เป็น ข้อ ที่ ไม่ได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้วใน ศาลชั้นต้น และ ไม่ใช่ ปัญหา เกี่ยว ด้วย ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชนต้องห้าม มิให้ อุทธรณ์ เป็น การ ไม่ชอบ นั้น ศาลฎีกา เห็นว่า คดี นี้ โจทก์ฟ้อง ขอให้ จำเลย และ จำเลยร่วม โอน ที่ดินพิพาท ให้ โจทก์ จำเลย และจำเลยร่วม ให้การ ต่อสู้ ว่า ได้รับ โอน ที่ดินพิพาท จาก นาง ทองมี โดยชอบ โจทก์ จะ ฟ้อง ขอ เรียก ที่ดินพิพาท จาก จำเลย และ จำเลยร่วม ไม่ได้ ถือได้ว่าอุทธรณ์ ของ จำเลย และ จำเลยร่วม ดังกล่าว เป็น ข้อ ที่ จำเลย และ จำเลยร่วมได้ ยกขึ้น ต่อสู้ ไว้ ใน คำให้การ จึง เป็น ข้อ ที่ ได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว ในศาลชั้นต้น ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ไม่รับ วินิจฉัย ปัญหา ตาม อุทธรณ์ ของจำเลย และ จำเลยร่วม ดังกล่าว เป็น การ ไม่ชอบ และ ศาลฎีกา เห็นสมควรวินิจฉัย ปัญหา ดังกล่าว ไป โดย ไม่ต้อง ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1พิจารณา พิพากษา ใหม่ ซึ่ง ศาลฎีกา เห็นว่า โจทก์ เป็น ทายาท ผู้มีสิทธิ ได้รับ ทรัพย์มรดก ของ นาย พิมพ์ เมื่อ นาย พิมพ์ ถึงแก่ความตาย ที่ดิน พิพาท ซึ่ง เป็น ทรัพย์มรดก ของ นาย พิมพ์ ย่อม ตกทอด มา เป็น ของ โจทก์ กับ ทายาท อื่น ของ นาย พิมพ์ ทันที การ ที่นา ง ทองมี ใน ฐานะ ผู้จัดการ มรดก ของ นาย พิมพ์ โอน ที่ดินพิพาท ให้ จำเลย และ จำเลยร่วม ซึ่ง ไม่ใช่ ทายาท ของ นาย พิมพ์ ไม่มี สิทธิ ได้รับ ทรัพย์มรดก ของ นาย พิมพ์ ย่อม เป็น การ ปฏิบัติ ผิด หน้าที่ ของ ผู้จัดการมรดก ที่ จะ ต้อง ดำเนินการ แบ่งปันทรัพย์มรดก ให้ แก่ ทายาท ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719และ ทำให้ โจทก์ ผู้ อยู่ ใน ฐานะ อัน จะ จดทะเบียน โอน ที่ดินพิพาท ได้ อยู่ก่อน แล้ว เสียเปรียบ โจทก์ จึง ขอให้ เพิกถอน การ จดทะเบียน ที่นา ง ทองมี โอน ที่ดินพิพาท ให้ จำเลย และ จำเลยร่วม ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ฎีกา ของ จำเลย และ จำเลยร่วมใน ปัญหา นี้ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share