แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
การชิงทรัพย์ประกอบด้วยลักษณฉกรรจ์ แต่อย่างหนึ่งอย่างใดตาม ม.293 หรือ 294 ก็เป็นผิดตาม ม.299 พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์ พ.ศ.2461 ม.3 แก้น้อย ศาลเดิมลงโทษตาม ม.298-72 จำคุก 2 ปี 4 เดือน ศาลอุทธรณ์แก้ให้ลงตามมม.299-72 จำคุก 4 ปี เป็นแก้ไขเล็กน้อย
ย่อยาว
คดีนี้ศาลเดิมว่าสมคบกันชิงทรัพย์ของ ย. ไป ขณะที่เดิรทางจะกลับบ้าน
ศาลเดิมเห็นว่าความผิดตาม ม.๒๙๙ จะต้องประกอบด้วยเหตุฉกรรจ์ใน ม.๒๙๓ แล ม.๒๙๔ ด้วยทั้ง ๒ มาตรา จึงให้จำคุกจำเลยตาม ม.๒๙๘ คนละ ๒ ปี แลให้เพิ่มโทษ พ.ฐานไม่เข็ดหลาบด้วยรวมเป็นโทษ ๒ ปี ๘ เดือน
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า เมื่อจำเลยได้กระทำการชิงทรัพย์ประกอบด้วยเหตุฉกรรจ์ตามมาตรา ๒๙๓ แล ๒๙๔ แม้แต่มาตราใดมาตราหนึ่ง ความผิดของจำเลยก็ต้องด้วยมาตรา ๒๙๙ คดีนี้จำเลยมีพรรคพวกเป็นเหตุฉกรรจ์ตามมาตรา ๒๙๓ ข้อ ๑๑ จำเลยมีผิดตามาตรา ๒๙๙ ให้จำคุกจำเลยคนละ ๓ ปี กับเพิ่มโทษ พ. ตาม ม.๗๒ อีก ๑ ปี รวมเป็น ๔ ปี
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคดีนี้จำเลยฎีกาได้แต่ปัญหาข้อกฎหมายตามพ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์ ม.๓ เพราะศาลอุทธรณ์แก้ไขเล็กน้อย แลจำคุกจำเลยไม่เกิน๕ ปี ส่วนปัญหาที่ว่าจำเลยจะควรรับโทษตาม ม.๒๙๘ หรือ ม.๒๙๙ แล ๒๙๔ หรือแต่มาตราใดมาตราหนึ่ง เห็นว่ากฎหมายประสงค์ข้อฉกรรจ์อย่างใดอย่างหนึ่งในมาตรา ๒๙๓ หรือ ๒๙๔ จึงพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์