คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา176วรรคหนึ่งแม้จำเลยมีอายุ16ปีเศษและถ้าศาลเห็นสมควรพิพากษาลงโทษก็ให้ลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นลงกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา75แต่ก็ยังคงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลยเมื่อปรากฏว่าจำเลยให้การรับสารภาพโจทก์จำเลยแถลงไม่สืบพยานศาลชั้นต้นจึงให้รอฟังคำพิพากษาและได้อ่านคำพิพากษาให้โจทก์จำเลยฟังได้ในวันนั้นเองถือว่าโจทก์ไม่ได้สืบพยานให้เห็นว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงย่อมลงโทษจำเลยไม่ได้การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค2พิพากษาลงโทษจำเลยจึงไม่ถูกต้องปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา195วรรคสองประกอบด้วยมาตรา225

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย มี เมทแอมเฟตามีน อันเป็น วัตถุ ออกฤทธิ์ใน ประเภท 2 จำนวน 19 เม็ด น้ำหนัก 1.33 กรัม ไว้ ใน ครอบครองเพื่อ ขาย และ ได้ ขาย เมทแอมเฟตามีน ที่ จำเลย มีไว้ ใน ครอบครอง จำนวน1 เม็ด ราคา 30 บาท ให้ แก่ ผู้มีชื่อ ขอให้ ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 4, 6, 62, 89, 106พระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ 3)พ.ศ. 2535 มาตรา 9, 13, 15, 16 ริบ เงินสด จำนวน 680 บาท ของกลาง
จำเลย ให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตามพระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 62วรรคแรก , 89, 106 วรรคแรก เป็น การกระทำ ความผิด หลายกรรมต่างกัน เรียง กระทง ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ขณะ กระทำผิดจำเลย อายุ 16 ปี เศษ ลด มาตรา ส่วน โทษ ให้ กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 75 ลงโทษ ฐาน มี เมทแอมเฟตามีน ไว้ ใน ครอบครอง จำคุก 6 เดือนฐาน ขาย เมทแอมเฟตามีน จำคุก 3 ปี รวม จำคุก 3 ปี 6 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพ เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา มีเหตุ บรรเทา โทษลดโทษ ให้ กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คง จำคุก 1 ปี9 เดือน พิเคราะห์ พฤติการณ์ แห่ง คดี ประกอบ รายงาน ของ สถานพินิจและ คุ้มครอง เด็ก และ เยาวชน จังหวัด สมุทรปราการ แล้ว เพื่อ สวัสดิภาพและ อนาคต ของ จำเลย อาศัย อำนาจ ตาม พระราชบัญญัติ จัดตั้งศาล เยาวชน และ ครอบครัว และ วิธีพิจารณา คดี เยาวชน และ ครอบครัวพ.ศ. 2535 มาตรา 104(2) ให้ เปลี่ยน โทษ จำคุก เป็น ส่งตัว จำเลยไป รับ การ ฝึก และ อบรม ที่ สถานพินิจ และ คุ้มครอง เด็ก และ เยาวชน กลางมี กำหนด 6 เดือน ริบ เงิน 680 บาท ของกลาง
จำเลย อุทธรณ์ ขอให้ รอการกำหนดโทษ หรือ รอการลงโทษ หรือ เปลี่ยน โทษจำคุก จำเลย เป็น ใช้ วิธีการ เพื่อ ความปลอดภัย
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 แผนก คดี เยาวชน และ ครอบครัว พิพากษาแก้ เป็น ว่าจำเลย มี ความผิด ฐาน ขาย วัตถุ ออกฤทธิ์ ชนิด เมทแอมเฟตามีน ตามพระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 13วรรคหนึ่ง , 89 เพียง กระทง เดียว จำเลย อายุ 16 ปี ลด มาตรา ส่วน โทษให้ กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75 จำคุก 3 ปี จำเลยรับสารภาพ ลดโทษ ให้ กึ่งหนึ่ง ตาม มาตรา 78 คง จำคุก 1 ปี 6 เดือนนอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดี เยาวชน และ ครอบครัว วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ โจทก์ฟ้อง ว่า จำเลย กระทำผิด ฐาน มีไว้ ใน ครอบครอง เพื่อ ขาย และ ขาย เมทแอมเฟตามีนอันเป็น วัตถุ ออกฤทธิ์ ใน ประเภท 2 ขอให้ ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 13 ทวิ , 62, 89,106 ทวิ ซึ่ง มี ระวางโทษ จำคุก ตั้งแต่ ห้า ปี ถึง ยี่สิบ ปี และ ปรับ ตั้งแต่หนึ่ง แสน บาท ถึง สี่ แสน บาท จึง เป็น กรณี ที่ กฎหมาย กำหนด อัตราโทษอย่าง ต่ำ ไว้ ให้ จำคุก ตั้งแต่ ห้า ปี ขึ้น ไป เมื่อ จำเลย ให้การรับสารภาพศาล ต้อง ฟัง พยานโจทก์ จนกว่า จะ พอใจ ว่า จำเลย ได้ กระทำผิด จริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง แม้ จำเลยมี อายุ 16 ปี เศษ และ ถ้า ศาล เห็นว่า สมควร พิพากษา ลงโทษ ก็ ให้ ลด มาตรา ส่วนโทษ ที่ กำหนด ไว้ สำหรับ ความผิด ลง กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 75 ก็ ตาม ก็ ยัง คง เป็น หน้าที่ ของ โจทก์ ที่ จะ ต้อง สืบพยาน ให้ ได้ความ ถึง การกระทำ ผิด ของ จำเลย เมื่อ ปรากฏ ตาม รายงาน กระบวนพิจารณาของ ศาลชั้นต้น ลงวันที่ 17 มกราคม 2537 ว่า จำเลย ให้การรับสารภาพโจทก์ จำเลย แถลง ไม่สืบ พยาน ศาลชั้นต้น จึง ให้ รอ ฟัง คำพิพากษา และได้ อ่าน คำพิพากษา ให้ โจทก์ จำเลย ฟัง ใน วันนั้น เอง โดย โจทก์ จำเลย ได้ลงชื่อ ไว้ ใน รายงาน กระบวนพิจารณา ดังกล่าว แล้ว ถือว่า โจทก์ ไม่ได้สืบพยาน ให้ เห็นว่า จำเลย ได้ กระทำผิด จริง ย่อม ลงโทษ จำเลย ไม่ได้การ ที่ ศาลชั้นต้น พิพากษา ลงโทษ จำเลย และ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 ก็ ยัง คงพิพากษา ลงโทษ จำเลย จึง ไม่ถูกต้อง ปัญหา นี้ แม้ จำเลย มิได้ ยกขึ้นต่อสู้ ไว้ แต่ เป็น ปัญหาข้อกฎหมาย ที่ เกี่ยวกับ ความสงบ เรียบร้อยศาลฎีกา มีอำนาจ ยกขึ้น วินิจฉัย ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ ด้วย มาตรา 225 คดี ไม่จำต้อง วินิจฉัยปัญหา ตาม ฎีกา โจทก์ ต่อไป ”
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์

Share