คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933-934/2500

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีความผิดฐานเป็นตัวการฉ้อโกงเรื่องแกล้งแสดงตนว่าเป็นคนใช้วิทยาคมได้ ตามก.ม.ลักษณะอาญา ม.304,306(2) และจำเลยที่ 2 มีความผิดฐานเป็นผู้ช่วยเหลืออุปการะในการกระทำผิดดังกล่าวผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม.304,306,65 อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำความผิด บัดนี้ประมวลกฎหมายอาญาได้เปลี่ยนแปลงความผิดฐานฉ้อโกงไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดโดยการใช้อุบายพิเศษเรื่องแกล้งแสดงตนว่าเป็นคนใช้วิทยาคมได้นั้น เป็นอันยกเลิกไปเสียแล้ว และที่โจทก์กล่าวฟ้องในเรื่องนี้ก็ไม่ใช่เป็นกรณีพิเศษตามประมวลกฎหมายอาญา ม.342 ฉะนั้นการกระทำผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงธรรมดาตามประมวลกฎหมายอาญา ม.341 ตรงกับ ก.ม.ลักษณะอาญา ม.304 เท่านั้น อันมีอัตราโทษจำคุกเพียงไม่เกิน 3 ปี เบากว่าอัตราโทษตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม.306(2) มาก แม้เรื่องนี้เฉพาะโจทก์ร่วมฝ่ายเดียวฎีกา ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ให้หนักขึ้น แต่ความผิดฐานฉ้อโกงเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ทำผิดดังกล่าวแล้ว ซึ่งประมวลกฎหมายอาญาม.3 บัญญัติให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้ทำผิด และเป็นเหตุในลักษณะคดีตามประมวลกฏหมายอาญาม.89 จึงมีผลเกี่ยวพันไปถึงตัวจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่มิได้ฎีกาขึ้นมานั้นด้วย จำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นตัวการจึงผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.341,83 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดรายนี้ ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.341 ประกอบด้วย ม.82.

ย่อยาว

คดี ๒ สำนวนนี้พิจารณาพิพากษารวมกัน
โจทก์ฟ้องเป็นทำนองเดียวกันทั้ง ๒ สำนวนใจความว่า จำเลยสมคบกันใช้อุบายหลอกลวงนำความที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นเท็จมาบอกแก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์รวมทั้ง ๔ คนว่า จำเลยที่ ๑ และที่ ๓ เป็นผู้มีวิทยาคุณทางไสยศาสตร์สามารถรักษาโรคได้นานาชนิด และในการรักษานี้ต้องนำเงินและเครื่องอัญญมณีมาเข้าพิธีบูชา “ท่านแ+ให้ได้ตามกำหนดเวลาแล้วจึงจะคืนให้ ผู้เสียหายทั้ง ๔ นั้นหลงเชื่อว่าเป็นความจริง จึงได้ส่งทรัพย์สิ่งของต่าง ๆ รวมราคา ๖๑,๙๙๙ บาท ให้แก่จำเลย ความจริงจำเลยหาได้มีวิทยาคุณในทางรักษาโรคอย่างใดไม่ และทั้งเมื่อครบกำหนดแล้ว จำเลยก็ไม่คืนทรัพย์ดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหาย ทั้งนี้โดยจำเลยที่ ๑ และที่ ๓ แสดงตนเป็นคนใช้วิทยาคุณสามารถในการปลุกเสกรักษาโรคได้ จำเลยที่ ๒ ให้อุปการะแก่จำเลยที่ ๑ และที่ ๓ โดยจำเลยมีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวงเพื่อที่จะเอาทรัพย์ดังกล่าวแล้ว
จำเลยปฏิเสธ และตัดฟ้องว่า ฟ้องเคลือบคลุม กับร้องขอให้ศาลวินิจฉัย ปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุมเสียก่อน
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและมีคำสั่งว่า ฟ้องไม่เคลือบคลุม
เมื่อสืบพยานโจทก์หมดแล้ว จำเลยกลับรับสารภาพตามฟ้องทั้ง ๒ สำนวน ศาลชั้นต้นแยกพิพากษาคดีเฉพาะตัวจำเลยที่ ๑ ว่า เห็นผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม.๓๐๔,๓๐๖ ทั้ง ๒ + ให้รวมกระทงลงโทษตาม ม.๓๐๖ ซึ่งเป็น+จำคุก ๕ ปี ให้จำเลยที่ ๑ คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ทั้ง ๒ สำนวน ๖๑,๙๙๙ บาทแก่ผู้เสียหาย และพิจารณาคดีสำหรับจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ต่อไป แล้ววินิจฉัยว่า จำเลยที่ ๓ ได้สมคบกับจำเลยที่ + ในการทำผิดรายนี้ด้วย แต่ประกอบกรรมน้อยกว่าจำเลยที่ ๑ จึงพิจารณาลงโทษจำเลยที่ ๓ จำคุก ๓ ปี ตามบทกฎหมายข้างต้น และให้ร่วมรับผิดชอบคืนหรือใช้ทรัพย์ ๖๑,๙๙๙ บาทแก่ผู้เสียหาย คดี + ตัวจำเลยที่ ๒ ยังฟังไม่ได้ว่าได้สมคบหรือสมรู้กับการทำผิดรายนี้ ให้ยกฟ้องจำเลยที่ ๒ ของ+คืนผู้เสียหาย
โจทก์และโจทก์ร่วมอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ ๒ ด้วย
จำเลยที่ ๓ อุทธรณ์ว่าฟ้องเคลือบคลุม และจำเลยมิได้ทำผิด
ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องตามศาลชั้นต้นว่า ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมและจำเลยสมคบในการทำผิดรายนี้ด้วยจริง กับฟังว่าจำเลยที่ ๒ ได้ช่วยเหลืออุปการะในการทำผิดของจำเลยที่ ๑ ตลอดมา จึงพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยที่ ๒ ผิดกฎหมายลักษณะอาญา ม.๓๐๔ และ ๓๐๖ ประกอบด้วย ม.๖๕ ให้รวมกระทงลงโทษจำคุก ๑ ปี แต่ให้รอลงโทษไว้มีกำหนด ๕ ปี และให้จำเลยที่ ๒ ร่วมรับผิดกับจำเลยอื่นคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ ๖๑,๙๙๙ บาทแก่ผู้เสียหาย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ร่วมฝ่ายเดียวฎีกา ขอให้ลงโทษจำเลยที่ ๒ ให้หนักขึ้นอีกไม่ตามที่โจทก์ฎีกาขึ้นมา ปรากฎว่าคดีเรื่องนี้จำเลยถูกหาในความผิดฐานฉ้อโกง โดย+อุบายพิเศษเรื่องแกล้งแสดงตนว่าเป็นคนใช้วิทยาคมได้ ตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม.+ อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำความผิด แต่บัดนี้ประมวลกฎหมายอาญาได้เปลี่ยนแปลงความผิดฐานฉ้อโกงไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดโดยการใช้อุบายพิเศษเรื่องแกล้งแสดงตนว่าเป็นคนใช้วิทยาคมได้นั้นเป็นอันยกเลิกไปเสียแล้ว และเรืองที่โจทก์กล่าวฟ้องนี้ ไม่ใช่กรณีพิเศษตามประมวลกฎหมายอาญา ม.๓๔๒ ฉะนั้น การกระทำผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงธรรมดาตามประมวลกฎหมายอาญา ม.๓๕๑ ตรงกับกฎหมายลักษณะอาญา ม.๓๐๔ เท่านั้น อัน+อัตราโทษจำคุเพียงไม่เกิน ๓ ปี เบากว่าอัตราโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา ม.๓๐๖(๒) มาก และความผิดเรื่องนี้เกิดขึ้นเพราะการหลอกลวงของจำเลยที่ ๑ เป็นส่วนใหญ่จำเลยที่ ๒ เป็นแต่เพียงผู้สนับสนุนอุปการะช่วยเหลือในบางตอนซึ่งเป็นส่วนน้อย และจำเลยที่ ๒ เป็นหญิงมีบุตรเล็ก ๆ ถึง ๔ คนกำลังเล่าเรียนศึกษาอยู่ จำเป็นต้องอุปการะเลี้ยงดู ศาลฎีกาเห็นพ้องกับศาลอุทธรณ์ที่วางโทษจำคุก ๑ ปีและให้รอการลงโทษไว้ภายในกำหนด ๕ ปี
ศาลฎีกาวินิจฉัยต่อไปว่า ความผิดฐานฉ้อโกงเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ทำผิดดังได้วินิจฉัยไว้ข้างต้น ซึ่งประมวลกฎหมายอาญา ม.๓ บัญญัติให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้ทำผิด และเป็นเหตุในลักษณะคดีตาม ม.๘๙ เกี่ยวพันไปถึงตัวจำเลยที่ ๑ และที่ ๓ ที่มิได้ฎีกาขึ้นมานั้นด้วย
ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ ๑ และที่ ๓ ซึ่งเป็นตัวการ ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.๓๔๑,๘๓ ทั้งสองสำนวน ให้รวมกระทงลงโทษจำคุกจำเลยที่ ๑ มีกำหนด ๓ ปี คำรับของจำเลยที่ ๑ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง สมควรบรรเทาโทษตาม ม.๗๘ ให้แก่จำเลย ๘ เดือน คงเหลือจำคุก ๒ ปี ๔ เดือน จำเลยที่ ๓ ร่วมทำผิดด้วยเป็นส่วนน้อยให้จำคุก ๒ ปี ส่วนจำเลยที่ ๒ เป็นผู้สนับสนุนการทำผิดรายนี้ ผิดตาม ม.๓๔๑,๘๖ ในเรื่องโทษของจำเลยที่ ๒ ตลอดจนการรอการลงโทษและการใช้หรือคืนทรัพย์ ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์.

Share