คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยทำสัญญาประกันผู้ถูกสั่งเนรเทศทั้งสี่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ออกคำสั่งให้เนรเทศตามพระราชบัญญัติการสั่งเนรเทศฯมาตรา6วรรคหนึ่งและอยู่ในความควบคุมของโจทก์จนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งให้เนรเทศโดยกำหนดความรับผิดของจำเลยไว้ว่าหากไม่สามารถส่งตัวผู้ถูกสั่งเนรเทศทั้งสี่ให้แก่โจทก์ตามกำหนดนัดได้จำเลยยอมให้ปรับตามสัญญาเป็นการกำหนดความรับผิดทางแพ่งไว้สัญญาประกันจึงใช้บังคับได้และไม่ใช่การประกันตามมาตรา6วรรคสามซึ่งเป็นการประกันต่อรัฐมนตรีตามคำสั่งผ่อนผันให้ส่งตัวผู้ถูกสั่งเนรเทศไปประกอบอาชีพณที่ใดๆตามคำร้องขอของผู้ถูกสั่งเนรเทศ

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 4 สิงหาคม 2507ถึง วันที่ 5 มีนาคม 2508 จำเลย ทำ สัญญาประกัน ตัว นาย ยู่ฉ่อย หรือ ฮวงบุ้นหรือชานวุ่น แซ่โก นาย ช้อยไฮ้หรือโซยไฮ้ แซ่โก นาย ฉีลัก แซ่ลิ้ม และนายสู้เม้ง แซ่ลี้ ซึ่ง ต้อง หา ว่า เป็น ผู้ต้อง เนรเทศ หลังจาก นั้น จำเลย ผิดสัญญา ไม่สามารถ ส่งตัวผู้ต้อง เนรเทศ ทั้ง 4 คน ให้ แก่ โจทก์ ได้ ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงินจำนวน 400,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2533 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ว่า โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้องเนื่องจาก ไม่เคย ได้รับ มอบอำนาจ จาก กรมตำรวจ โจทก์ ไม่มี อำนาจให้ ประกันตัว ผู้ต้องหา ทั้ง 4 คน โจทก์ ไม่ได้ ฟ้อง ภายใน กำหนด 10 ปีคดี โจทก์ จึง ขาดอายุความ แล้ว ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 400,000 บาทพร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 13 ตุลาคม 2533เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟัง ยุติ ว่า เมื่อ พ.ศ. 2507รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย อาศัย อำนาจ ตาม พระราชบัญญัติ การเนรเทศพ.ศ. 2499 มาตรา 5 และ มาตรา 6 มี คำสั่ง ให้ เนรเทศ นาย อยู่ฉ่อย หรือ ฮวงบุ้นหรือซานวุ่น แซ่โก นายช้อยไฮ้หรือโซยไฮ้ แซ่โก นาย ฉีลัก แซ่ลิ้ม นายสู้เม้ง แซ่ลี้ ออก นอก ราชอาณาจักรไทย ฐาน เป็น บุคคล ต่างด้าว อัน ไม่ พึง ปรารถนา จน ตลอด ชีวิต ใน ระหว่างที่ ผู้ ถูก เนรเทศ ทั้ง สี่ ถูก ควบคุม โดย โจทก์ ซึ่ง เป็น พนักงานสอบสวนกอง กำกับ การ 3 กองตำรวจสันติบาล เพื่อ รอ การเนรเทศ อยู่ นั้น จำเลยได้ ทำ สัญญาประกัน ผู้ ถูก เนรเทศ ทั้ง สี่ กล่าว แล้ว ไป จาก โจทก์ ต่อมาจำเลย ผิดสัญญา ประกัน โจทก์ จึง ปรับ จำเลย ตาม สัญญาประกัน จำเลย ไม่ยอมชำระ ค่าปรับ ปัญหา ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ มี ว่า โจทก์มีอำนาจ ฟ้อง หรือไม่ พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า ตาม พระราชบัญญัติ การเนรเทศพ.ศ. 2499 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง นั้น ระบุ ว่า เมื่อ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย ได้ ออกคำสั่ง ให้ เนรเทศ ผู้ใด แล้ว รัฐมนตรี หรือ เจ้าพนักงานซึ่ง รัฐมนตรี มอบหมาย มีอำนาจ ที่ จะ จับกุม และ ควบคุม บุคคล ผู้ นั้น ไว้จนกว่า จะ ได้ ปฏิบัติ ตาม คำสั่ง ให้ เนรเทศ ดังนั้น ผู้ ถูก เนรเทศ ทั้ง สี่ใน คดี นี้ จึง เป็น ผู้ที่ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย ได้ ออกคำสั่งให้ เนรเทศ ตาม บทบัญญัติ ของ กฎหมาย ดังกล่าว และ อยู่ ใน ความ ควบคุมของ โจทก์ ซึ่ง เป็น พนักงานสอบสวน กอง กำกับ การ 3 กองตำรวจสันติบาลทั้งนี้ ตาม ความใน มาตรา 6 วรรคหนึ่ง และ ตาม ข้อบังคับ ที่ 5/2501เรื่อง ระเบียบ การเนรเทศ ตาม พระราชบัญญัติ การเนรเทศ พ.ศ. 2499ข้อ 619 ใน ระหว่าง ที่ ผู้ ถูก เนรเทศ ทั้ง สี่ ถูก ควบคุม ตัว อยู่ นั้น จำเลยได้ มา ตกลง ทำ สัญญาประกัน ผู้ ถูก เนรเทศ ทั้ง สี่ ไว้ ต่อ โจทก์ โดย กำหนดความรับผิด ของ จำเลย ไว้ ว่า หาก จำเลย ไม่สามารถ ส่งตัว ผู้ ถูก เนรเทศทั้ง สี่ ให้ แก่ โจทก์ ตาม กำหนด นัด ได้ จำเลย ยอม ให้ โจทก์ ปรับ จำเลยตาม สัญญาประกัน อันเป็น การ กำหนด ความรับผิด กัน ไว้ ตาม ข้อ สัญญา ทางแพ่งสัญญาประกัน ดังกล่าว ไม่ ขัด ต่อ ความสงบ เรียบร้อย และ ศีลธรรม อัน ดีของ ประชาชน เมื่อ จำเลย ทำ สัญญาประกัน ไว้ ต่อ โจทก์ ผู้มีอำนาจ ควบคุมผู้ ถูก เนรเทศ ไว้ เช่นนี้ สัญญาประกัน จึง ใช้ บังคับ ได้ และ มีผล ผูกพันจำเลย ให้ ต้อง ปฏิบัติ ตาม สัญญาประกัน เมื่อ จำเลย ผิดสัญญา ประกันจำเลย จะ มา อ้างว่า สัญญาประกัน ไม่มี ผลบังคับ หาได้ไม่ ด้วย เหตุ นี้โจทก์ จึง มีอำนาจ ฟ้องบังคับ ให้ จำเลย ชดใช้ เงิน ตาม สัญญาประกัน ได้สำหรับ บทบัญญัติ ใน มาตรา 6 วรรคสาม แห่ง พระราชบัญญัติ การเนรเทศพ.ศ. 2499 นั้น เป็น กรณี ที่ กฎหมาย ให้ อำนาจ รัฐมนตรี ที่ จะ สั่ง ผ่อนผันให้ ส่งตัว ผู้ ถูก เนรเทศ ผู้หนึ่ง ผู้ใด ไป ประกอบ อาชีพ ณ ที่ ใด ๆตาม คำร้องขอ ของ ผู้ นั้น เท่านั้น ซึ่ง หาก รัฐมนตรี มี คำสั่ง ดังกล่าวแล้ว รัฐมนตรี จะ ต้อง ให้ ผู้ ถูก เนรเทศ มี ประกัน หรือ มี ทั้ง ประกัน และหลักประกัน หรือ ทำ ทัณฑ์บน ไว้ และ จะ ต้อง ให้ ผู้ ถูก เนรเทศ มา รายงาน ตนตาม ระยะเวลา และ สถานที่ ที่ รัฐมนตรี กำหนด ใน คดี นี้ ผู้ ถูก เนรเทศ ทั้ง สี่มิได้ ร้องขอ ผ่อนผัน ต่อ รัฐมนตรี เพื่อ ออก ไป ประกอบ อาชีพ ดัง ที่กฎหมาย บัญญัติ ไว้ แต่ ยัง คง ถูก ควบคุม โดย โจทก์ เมื่อ จำเลย ทำ สัญญาประกันผู้ ถูก เนรเทศ ทั้ง สี่ ต่อ โจทก์ จำเลย ก็ ต้อง ปฏิบัติ ตาม สัญญาที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษา มา นั้น ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกาฎีกา ของ โจทก์ ฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ ให้ บังคับคดี ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น

Share