แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
เมื่อฟ้องของโจทก์ในคดีนี้มีประเด็นว่า ทรัพย์พิพาทเป็นของใคร นิติกรรมซื้อขายเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่ เป็นประเด็นเช่นเดียวกับที่ได้ฟ้องร้องกันมาแล้วในคดีก่อน และศาลได้วินิจฉัยประเด็นข้อโต้เถียงระหว่างโจทก์จำเลยแล้วทุกประเด็นจึงเป็นฟ้องซ้ำซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่งมาตรา148
การที่ศาลสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องและคำให้การในคดีเรื่องก่อนก็ดี สั่งงดไม่ให้สืบพยานก็ดี ล้วนแต่เป็นเรื่องดำเนินการพิจารณาในคดีทั้งสิ้น คำสั่งของศาลดังกล่าวจะเป็นการถูกต้อง ขอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันให้ถึงที่สุดไปด้วยการอุทธรณ์ฎีกา คู่ความจะหาวิธีแก้ด้วยการยืนคำฟ้องใหม่โดยหวังจะให้คำพิพากษาในคดีเรื่องใหม่นี้ลบล้างคำพิพากษาเรื่องก่อนซึ่งมีผลบังคับตามกฎหมายผูกพันคู่ความอยู่แล้วในประเด็นเดียวกันหาได้ไม่
ย่อยาว
นางบุญชวนหรือชวน เฟื่องฟอง จำเลย
เดิมจำเลยในคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องขับไล่โจทก์ที่ ๒ ในคดีนี้ออกจากที่พิพาทตามคดีแพ่งแดงที่ ๗๒-๗๓ /๒๔๙๙ ของศาลจังหวัด ชลบุรี โจทก์ที่ ๑ ในคดีนี้ขอเข้าเป็นจำเลยร่วมกับโจทก์ที่ ๒ ด้วย.
แล้วโจทก์ทั้ง ๒ ในคดีนี้ได้ฟ้องจำเลยในคดีนี้เป็นคดีอีกสำนวนหนึ่ง ใจความว่า โจทก์ในคดีนี้ได้ซื้อที่พิพาทไว้ต่อมาโจทก์ที่ ๒ ประสงค์จะกันทรัพย์ราบนี้มิให้ตกได้แก่บุตรและภริยาอื่นของโจทก์ที่ ๑ โจทก์ที่ ๒ จึงทำนิติกรรมอำพรางลงวันที่ ๑๕ ก.พ. ๙๖ ขายให้จำเลยในคดีนี้ โจทก์ที่ ๑ มิได้รู้เห็นยืนยอมและได้บอก
ล้างสัญญาซื้อขายดังกล่าวเป็นนิติกรรมอำพราง ฯลฯ
คดีสองสำนวนดังกล่าว ศาลสั่งรวมพิจารณา หลังวันชี้สองสถานโจทก์ทั้ง ๒ ในคดีนี้ยื่นคำร้องขอแก้คำฟ้องเกี่ยวกับหนังสือสัญญาซื้อขายในสำนวนดังกล่าว จากวันที่ ๑๕ ก.พ. ๙๖ เป็นวันที่ ๑๖ ก.พ. ๙๒ จำเลยในคดีนี้คัดค้านไม่ให้แก้ ศาลจึงไม่อนุญาตให้แก้คำฟ้องในคดีก่อนและวินิจฉัยว่า โจทก์ในคดีนี้ไม่มีประเด็นจะสืบตามฟ้องและคำให้การในคดีก่อนได้พิพากษาให้ยกฟ้องสำนวนที่โจทก์ในคดีนี้เป็นโจทก์และให้จำเลยในคดีนี้ชนะ ขับไล่โจทก์ในคดีนี้ คดีทั้งสองสำนวนนี้ถึงที่สุดเพียงศาลชั้นต้น
โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยในคดีนี้ใหม่อีก โดยกล่าวบรรยายฟ้องอย่างเดียวกับที่ได้ฟ้องจำเลยนี้ในสำนวนก่อน ผิดกันแต่ฟ้องในคดีนี้บรรยายเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายที่โจทก์อ้างว่าเป็นนิติกรรมอำพรางนั้น โจทก์บรรยายฟ้องในคดีใหม่นี้ว่า ฉบับลงวันที่ ๑๖ ก.พ. ๙๖ เพราะระบุในฟ้อง สำนวนก่อนผิดไป ได้ร้องขอแก้แล้วแต่ศาลสั่งยกคำร้องเสียและท้ายคำฟ้องขอให้ศาลสั่งว่าสัญญาซื้อขายดังกล่าวเป็นโมฆะ และขอให้ศาลพิพากษายกเลิกหรือทำลายคำพิพากษาคดีแพ่งแดงที่ ๗๒-๗๓/๒๔๙๙ เสีย
จำเลยปฏิเสธและตัดฟ้องว่าเป็นฟ้องจำกับคดีแพ่งแดงที่ ๗๒-๗๓/๒๔๙๙ และเป็นฟ้องเคลือบคลุม
ก่อนสืบพยานจำเลยขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายเรื่องฟ้องซ้ำและฟ้องเคลือบคลุม
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คดีแพ่งแดงที่ ๗๒-๗๓/๒๔๙๙ ศาลยังมิได้วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ของทรัพย์ตามสัญญาที่โจทก์อ้าง ฟ้องโจทก์อ้าง ฟ้องโจทก์จึงมิใช่ฟ้องซ้ำ และเห็นว่าไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง
ศาลอุทธรณ์เห็นว่าไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุมแต่เป็นฟ้องซ้ำต้องห้าม พิพากษากลับคำสั่งของศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องของโจทก์
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่าฟ้องของโจทก์ในคดีนี้มีประเด็นว่าทรัพย์เป็นของใคร นิติกรรมซื้อขายเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่เป็นประเด็นเช่นเดียวกับที่ได้ฟ้องร้องกันมาแล้วในสำนวนเรื่องก่อนนั่นเอง และศาลได้วินิจฉัยประเด็นข้อโต้เถียงระหว่างโจทก์จำเลยแล้วทุกประเด็น ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ. แพ่งมาตรา ๑๔๘
การที่ศาลสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องและคำให้การในคดีเรื่องก่อนก็ดี สั่งงดไม่ให้สืบพยานก็ดี ล้วนแต่เป็นเรื่องดำเนินการพิจารณาในคดีเรื่องก่อนก็ดี สั่งงดไม่ให้สืบพยานก็ดี ล้วนแต่เป็นเรื่องดำเนินการพิจารณาในดีเรื่องนั้นทั้งสิ้น คำสั่งของศาลดังกล่าวจะเป็นการถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันให้ถึงที่สุดไปในคดีเรื่องนั้นเอง ด้วยการอุทธรณ์ฎีกาต่อไปตามประมวลวิธีพิจารณาความ โจทก์จะหาวิธีแก้ด้วยการยืนคำฟ้องขึ้นมาใหม่โดยหวังจะให้คำพิพากษาในคดีเรื่องใหม่นี้ลบล้างคำพิพากษาเรื่องก่อนซึ่งมีผลบังคับตามกฎหมายผูกพันโจทก์จำเลย-คู่กรณีเดียวกันอยู่แล้วในประเด็นข้อหาเดียวกันไม่ได้
พิพากษายืน.