แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
แม้สัญญาจ้างเหมาระหว่างจำเลยกับผู้รับจ้างซึ่งเป็นผู้โอนจะระบุว่าผู้รับจ้างจะโอนสิทธิหน้าที่ตามสัญญาให้แก่ผู้อื่นโดยปราศจากความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากจำเลยมิได้ซึ่งปรับได้ว่าผู้รับจ้างและจำเลยได้แสดงเจตนาเป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา303วรรคสองกับเมื่อผู้รับจ้างซึ่งเป็นผู้โอนและโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อตกลงการโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าก่อสร้างจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าหากโจทก์จะเป็นผู้รับค่าจ้างในงวดต่อๆไปแทนผู้รับจ้างก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในหนังสือสัญญาจ้างเหมาและจะต้องออกใบเสร็จรับเงินค่าจ้างโดยผู้รับจ้างอันยังถือไม่ได้ถนัดว่าจำเลยได้ยินยอมด้วยในการโอนตามสัญญาจ้างเหมาข้อ15ก็ตามแต่หลังจากนั้นผู้รับจ้างได้มีหนังสือถึงจำเลยขอให้จำเลยทำหนังสือถึงโจทก์โดยขอให้มีข้อความระบุว่า”จำเลยไม่ขัดข้องที่ผู้รับจ้างได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์”สำหรับขั้นตอนการรับเงินคงเหมือนเดิมซึ่งต่อมาจำเลยก็ได้มีหนังสือแจ้งไปถึงโจทก์ว่าจำเลยไม่ขัดข้องที่ผู้รับจ้างได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยได้ยินยอมด้วยในการโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา306วรรคหนึ่งและตามสัญญาจ้างเหมาแล้วส่วนขั้นตอนการรับเงินที่จำเลยกำหนดไว้นั้นเป็นเพียงวิธีการคิดคำนวณค่าจ้างในแต่ละงวดว่าจะต้องจ่ายเท่าใดตามข้อตกลงในสัญญาจ้างเหมาเท่านั้นส่วนผู้มีสิทธิรับเงินค่าจ้างจะต้องเป็นโจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องการโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินระหว่างผู้รับจ้างกับโจทก์จึงมีผลผูกพันจำเลยที่จะต้องชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์ผู้รับโอนไม่ใช่ชำระให้แก่ผู้รับจ้าง ตามหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินหนังสือบอกกล่าวแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องหนังสือของจำเลยที่มีถึงโจทก์หนังสือของ ป. ที่มีถึงจำเลยและหนังสือของจำเลยที่มีถึงโจทก์เอกสารดังกล่าวทั้งหมดไม่ได้ระบุถึงงานที่เพิ่มดังนั้นจะถือว่าได้มีการโอนสิทธิเรียกร้องในส่วนนี้แล้วไม่ได้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า บริษัท ประมวลพัฒนาการ จำกัด ได้ ทำ สัญญา รับเหมา ก่อสร้าง อาคาร โรงแรม ของ จำเลย กับ จำเลย เป็น เงิน34,300,000 บาท บริษัท ประมวลพัฒนาการ จำกัด ได้ โอนสิทธิ เรียกร้อง ใน การ รับ เงิน ดังกล่าว แก่ โจทก์ โจทก์ กับ บริษัท ประมวลพัฒนาการ จำกัด ได้ มี หนังสือ บอกกล่าว การ โอนสิทธิ เรียกร้อง ให้ จำเลย ทราบ จำเลย ได้ ตอบรับ แล้ว บริษัท ประมวลพัฒนาการ จำกัด ได้ ก่อสร้าง อาคาร โรงแรม ตาม สัญญา ให้ แก่ จำเลย เสร็จสมบูรณ์โดย ไม่ผิด สัญญา ทั้ง ได้ มี การ เพิ่ม และ ลด งาน เป็นเหตุ ให้ ค่าจ้างเหมา เพิ่ม อีก 2,769,861.80 บาท ซึ่ง ได้ ตกลง ให้ โจทก์ ได้ สิทธิรับ เงิน ที่ เพิ่ม ด้วย รวมเป็น เงิน ทั้งสิ้น 37,069,861.80 บาท จำเลย ได้ชำระ เงิน แก่ โจทก์ หลาย ครั้ง รวมเป็น เงิน 19,639,407.59 บาท จำเลยจึง ค้างชำระ เงิน โจทก์ 17,430,454.21 บาท ขอให้ บังคับ จำเลยชำระ เงิน 17,430,454.21 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่งต่อ ปี นับ ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ได้ จ้างเหมา บริษัท ประมวลพัฒนาการ จำกัด ก่อสร้าง อาคาร โรงแรม ของ จำเลย จริง แต่ ข้อตกลง การ โอนสิทธิเรียกร้อง เป็น เรื่อง ระหว่าง โจทก์ กับ บริษัท ประมวลพัฒนาการ จำกัด จำเลย ไม่มี ส่วน เกี่ยวข้อง รับผิด ตาม ข้อตกลง และ ที่ โจทก์ อ้างว่าโจทก์ กับ จำเลย ได้ ทำ ความ ตกลง ใน การ เพิ่ม ลด งาน เป็นเหตุให้ ค่าจ้าง เหมา เพิ่มขึ้น ซึ่ง ได้ ตกลง ให้ โจทก์ ได้รับ เงิน จาก จำเลยเป็น เงิน 37,069,861.80 บาท นั้น เป็นเท็จ ทั้งสิ้น จำเลย ไม่เคย ตกลงกับ โจทก์ ตาม ฟ้อง ดังกล่าว เงิน ค่าก่อสร้าง ทั้งหมด จำเลย ได้ ชำระ ให้บริษัท ประมวลพัฒนาการ จำกัด เสร็จสิ้น แล้ว โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ ใด ๆ ที่ จะ ฟ้อง เรียกเงิน จาก จำเลย ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน 13,360,592.41 บาทพร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จาก ต้นเงิน ดังกล่าว นับจาก วันฟ้อง (วันฟ้อง วันที่ 25 พฤศจิกายน 2530) เป็นต้น ไป จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ในประการ แรก ว่า การ โอนสิทธิ เรียกร้อง ใน การ รับ เงิน ระหว่างบริษัท ประมวลพัฒนาการ จำกัด ผู้รับจ้าง และ โจทก์ มีผล ผูกพัน จำเลย หรือไม่ ใน ข้อ นี้ แม้ สัญญาจ้าง เหมา ระหว่าง จำเลย กับ ผู้รับจ้าง ซึ่งเป็น ผู้โอน ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 ข้อ 15 จะ ระบุ ว่า ผู้รับจ้าง จะ โอนสิทธิหน้าที่ ตาม สัญญา ให้ แก่ ผู้อื่น โดย ปราศจาก ความ ยินยอม เป็นลายลักษณ์อักษร จาก จำเลย มิได้ ซึ่ง ปรับ ได้ว่า ผู้รับจ้าง และ จำเลยได้ แสดง เจตนา เป็น อย่างอื่น ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 303 วรรคสอง กับ เมื่อ ผู้รับจ้าง ซึ่ง เป็น ผู้โอน และ โจทก์ แจ้งให้ จำเลย ทราบ ถึง ข้อตกลง การ โอนสิทธิ เรียกร้อง ใน การ รับ เงินค่าก่อสร้าง ตาม เอกสาร หมาย ป.ล. 33 จำเลย ได้ แจ้ง ให้ โจทก์ ทราบ ว่าหาก โจทก์ จะ เป็น ผู้รับจ้าง ใน งวด ต่อ ๆ ไป แทน ผู้รับจ้าง ก็ ต้องเป็น ไป ตาม เงื่อนไข ใน หนังสือ สัญญาจ้าง เหมา และ จะ ต้อง ออก ใบเสร็จรับ เงิน ค่าจ้าง โดย ผู้รับจ้าง ตาม เอกสาร หมาย ป.ล. 34 อัน ยัง ถือ ไม่ได้ถนัด ว่า จำเลย ได้ยิน ยอม ด้วย ใน การ โอน ตาม สัญญาจ้าง เหมา ข้อ 15ดังกล่าว ก็ ตาม แต่ หลังจาก นั้น ผู้รับจ้าง ได้ มี หนังสือ ถึง จำเลย ขอให้จำเลย ทำ หนังสือ ถึง โจทก์ โดย ขอให้ มี ข้อความ ระบุ ว่า “จำเลย ไม่ขัดข้องที่ ผู้รับจ้าง ได้ โอนสิทธิ การ รับ เงิน ค่าก่อสร้าง ให้ แก่ โจทก์สำหรับ ขั้นตอน การ รับ เงิน คง เหมือนเดิม ตาม เอกสาร หมาย ป.ล. 35 ซึ่ง ต่อมาจำเลย ก็ ได้ มี หนังสือ แจ้ง ไป ถึง โจทก์ ตาม เอกสาร หมาย จ. 1 และ ป.ล. 36ว่า จำเลย ไม่ขัดข้อง ที่ ผู้รับจ้าง ได้ โอนสิทธิ การ รับ เงิน ค่าก่อสร้างให้ แก่ โจทก์ ซึ่ง เป็น ที่ เห็น ได้ว่า จำเลย ได้ยิน ยอม ด้วย ใน การ โอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคหนึ่ง และ ตาม สัญญาจ้างเหมา เอกสาร หมาย ล. 1 ข้อ 15 แล้ว ส่วน ขั้นตอน การ รับ เงินที่ จำเลย กำหนด ไว้ ตาม เอกสาร หมาย ป.ล. 34 นั้น เป็น เพียง วิธีการคิด คำนวณ ค่าจ้าง ใน แต่ละ งวด ว่า จะ ต้อง จ่าย เท่าใด ตาม ข้อตกลงใน สัญญาจ้าง เหมา เท่านั้น ส่วน ผู้มีสิทธิ รับ เงิน ค่าจ้าง จะ ต้อง เป็นโจทก์ ผู้รับโอน สิทธิเรียกร้อง ฉะนั้น การ โอนสิทธิ เรียกร้อง ใน การรับ เงิน ระหว่าง ผู้รับจ้าง กับ โจทก์ จึง มีผล ผูกพัน จำเลย ที่ จะ ต้อง ชำระค่าจ้าง ให้ แก่ โจทก์ ผู้รับโอน ไม่ใช่ ชำระ ให้ แก่ ผู้รับจ้าง
ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ใน ประการ ต่อมา มี ว่าจำเลย จะ ต้อง ชำระหนี้ ให้ โจทก์ เพียงใด หรือไม่ ใน ข้อ นี้ จำเลย นำสืบ ว่าใน การ จ่ายเงิน ค่างวด ตาม สัญญาจ้าง จำเลย มีสิทธิ หัก ค่าป่วยการค่า วัสดุ และ เงินทดรอง จ่าย จาก เงิน ค่างวด แต่ละ งวด ได้ โดย เมื่อโจทก์ มี หนังสือ บอกกล่าว แจ้ง การ โอนสิทธิ เรียกร้อง มา ยัง จำเลย ตามเอกสาร หมาย ป.ล. 33 แล้ว จำเลย ได้ มี หนังสือ ตอบ ไป ยัง โจทก์ ว่าใน วัน ทำ สัญญาจ้าง วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2528 ผู้รับจ้าง ได้รับ ค่าจ้างไป จาก จำเลย แล้ว 1,000,000 บาท สำหรับ ค่าจ้าง ใน งวด ต่อ ๆ ไป นั้นจะ ต้อง เป็น ไป ตาม เงื่อนไข ใน สัญญา ระหว่าง จำเลย กับ ผู้รับจ้างซึ่ง หาก โจทก์ จะ เป็น ผู้รับ ค่าจ้าง ใน งวด ต่อ ๆ ไป แทน ผู้รับจ้างก็ จะ ต้อง เป็น ไป ตาม เงื่อนไข ใน หนังสือ สัญญาจ้าง ปรากฏ ตาม เอกสารหมาย ป.ล. 34 เมื่อ พิเคราะห์ ข้อเท็จจริง ดังกล่าว ประกอบ หนังสือนำ ส่ง เงิน ให้ แก่ โจทก์ ตาม เอกสาร หมาย ล. 5 และ ล. 8 รวม 14 ฉบับซึ่ง ใน การ จ่ายเงิน บาง งวด จำเลย ได้ แจ้ง การ หักเงิน ค่า วัสดุ ค่าแรงและ เงินทดรอง ที่ จำเลย จ่าย แทน ผู้รับจ้าง และ ส่ง เงิน ส่วน ที่ เหลือให้ โจทก์ ซึ่ง โจทก์ ได้ มี หนังสือ ตอบรับ แจ้ง กลับมา ยัง จำเลย โดย มิได้โต้แย้ง รวมทั้ง มิได้ นำสืบ หักล้าง หรือ นำสืบ เป็น อย่างอื่น แล้ว ฟังได้ว่า จำเลย มีสิทธิ ที่ จะ หักเงิน ค่า วัสดุ และ ค่าแรง ที่ ได้ ออก แทนผู้รับจ้าง ดังกล่าว ใน แต่ละ งวด ได้ เมื่อ รวม จำนวนเงิน ที่ จำเลย ชำระให้ ผู้รับจ้าง ใน วัน ทำ สัญญาจ้าง 1,000,000 บาท และ ที่ ชำระ ให้โจทก์ รวมกับ ที่ หัก ไว้ เป็น ค่า วัสดุ และ ค่าแรง ที่ ออก แทน ผู้รับจ้างตาม หนังสือ นำ ส่ง เงิน เอกสาร หมาย ล. 5 รวม 14 ฉบับ เป็น เงิน ทั้งสิ้น28,428,652.79 บาท เมื่อ หัก ออกจาก เงิน ตาม สัญญาจ้าง 34,300,000 บาทแล้ว ยัง คง ขาด เงิน ที่ จำเลย จะ ต้อง ชำระ ให้ โจทก์ อีก 5,871,347.21 บาทตรง กับ เงิน คงเหลือ ตาม บันทึก มูลค่า งาน ก่อสร้าง งาน งวด ที่ 14 เอกสารหมาย ล. 4 แผ่น ที่ 27 ส่วน ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า บริษัท ประมวลพัฒนาการ จำกัด และ จำเลย ได้ ตกลง ทำ สัญญา เพิ่ม ลด งาน อีก เป็น จำนวนเงิน2,769,861.80 บาท ต้อง ถือว่า ได้ มี การ โอนสิทธิ เรียกร้อง ใน ส่วน นี้ด้วย นั้น เห็นว่า ตาม หนังสือ โอนสิทธิ เรียกร้อง ใน การ รับ เงินเอกสาร หมาย ป.จ. 1 หนังสือ บอกกล่าว แจ้ง การ โอนสิทธิ เรียกร้องเอกสาร หมาย ป.ล. 33 หนังสือ ของ จำเลย ที่ มี ถึง โจทก์ เอกสาร หมาย ป.ล. 34หนังสือ ของ บริษัท ประมวลพัฒนาการ จำกัด ที่ มี ถึง จำเลย เอกสาร หมาย ป.ล. 35 และ หนังสือ ของ จำเลย ที่ มี ถึง โจทก์ เอกสาร หมาย ป.ล. 36เอกสาร ดังกล่าว ทั้งหมด ไม่ได้ ระบุ ถึง งาน ที่ เพิ่ม ตาม ที่ โจทก์ ฎีกา เลยดังนั้น จะ ถือว่า ได้ มี การ โอนสิทธิ เรียกร้อง ใน ส่วน นี้ แล้ว ไม่ได้ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา โจทก์ฟังขึ้น บางส่วน
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 5,871,347.21 บาทพร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับ จาก วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระเสร็จ แก่ โจทก์