แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้รับมอบหมายบุหรี่ตราฆ้อง ซึ่งผลิตจากโรงงานยาสูบกรมสรรพสามิตต์ จากผู้อื่นให้ไปจำหน่ายแทน จำเลยได้จำหน่ายให้แก่ผู้ซื้อไปราคาสูงกว่าราคาที่อธิบดีกรมสรรพสามิตต์กำหนดไว้ ดังนี้ย่อมพอให้ถือได้แล้วว่า จำเลยเป็น “ผู้ทำการจำหน่ายยาสูบ” ตามความในมาตรา 19 พ.ร.บ.ยาสูบ 2486 แล้ว.
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า นางสาวบุญปั๋นได้ใช้และมอบบุหรี่ตราพระจันทร์และบุหรี่ตราฆ้องแก่จำเลยให้ไปจำหน่ายแทน จำเลยได้จำหน่ายบุหรี่ตราฆ้องซึ่งผลิตจากโรงงานยาสูบกรมสรรพสามิตต์ให้แก่พลตำรวจแก้วมูลไป ๑ ซองราคา ๒ บาท สูงกว่าราคาที่อธิบดีกรมสรรพสามิตต์ประกาศกำหนดไว้ จำเลยรับสารภาพ โจทก์จำเลยไม่ติดใจสืบพะยาน ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เห็นว่าตามฟ้องยังฟังไม่ได้ว่า จำเลยเป็น “ผู้ทำการจำหน่ายยาสูบ” ตามมาตรา ๑๙ พ.ร.บ.ยาสูบ ๒๔๘๖ พิพากษายกฟ้อง
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาพิจารณาคำฟ้องแล้ว เห็นว่าตามคำบรรยายฟ้องเป็นที่เห็นได้ว่า การที่จำเลยได้รับมอบหมายบุหรี่ให้ไป
ทำการจำหน่ายนั้น เป็นการับมอบเพื่อประสงค์ทำการจำหน่ายแก่ผู้บริโภคทั่ว ๆ ไป และได้ทำการจำหน่ายไป ๑ ซอง ตามราคาที่รับมอบ อันสูงกว่าราคาที่อธิบดีกรมสรรพาสามิตต์ประกาศกำหนดนี้ ย่อมพอถือได้แล้วว่า จำเลยเป็น “ผู้ทำการจำหน่ายยาสูบ” ตามความในมาตรา ๑๙ แล้ว คดีนี้จำเลยรับสารภาพ ศาลก็ลงโทษจำเลยได้
พิพากษากลับ ให้ปรับจำเลย ๑๕ บาทตาม พ.ร.บ.ยาสูบ ๒๔๘๖ มาตรา ๔๐,๑๙ ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา ๕๙ ของกลางไม่ริบ.