แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์จำเลยทำ ข้อตกลงกันแม้จะเรียกว่าเป็น หนังสือรับสภาพหนี้ แต่มีข้อสาระสำคัญว่าจำเลยยอมรับว่าได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้โจทก์และจะชำระหนี้ให้โจทก์เมื่อศาลตั้งผู้จัดการมรดกของ ถ. และผู้จัดการมรดกได้จำหน่ายทรัพย์มรดกแล้วโดยโจทก์ยอมถอนคำร้องทุกข์ในคดีเช็คพิพาทที่โจทก์ร้องทุกข์ไว้ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยเป็นกรณีที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต้องการระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันจึงเข้าลักษณะสัญญา ประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ ส่วนข้อตกลงระบุว่าจำเลยจะชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อผู้จัดการมรดกได้จำหน่ายที่ดินทรัพย์มรดกเป็น เงื่อนไขบังคับก่อน แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะสำเร็จหรือไม่มิใช่ขึ้นอยู่กับจำเลยหรือสุดแล้วแต่ใจจำเลยหากแต่ขึ้นอยู่กับ ผู้จัดการมรดก ข้อตกลงดังกล่าวไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเป็นเรื่องวิธีการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ข้อตกลงดังกล่าวหาตกเป็น โมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา152(เดิม)ไม่
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ผู้ทรงเช็ค ธนาคาร สหธนาคาร จำกัด สาขา ยมราช ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2532 จำนวนเงิน 130,000 บาท และ ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2532 จำนวนเงิน 147,000 บาท ซึ่ง จำเลยเป็น ผู้ลงลายมือชื่อ สั่งจ่าย โจทก์ นำ ไป เข้าบัญชี ของ โจทก์ เพื่อ ให้ธนาคาร เรียกเก็บเงิน ปรากฏว่า ธนาคาร ตามเช็ค ได้ ปฏิเสธ การ จ่ายเงินขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน 288,269.72 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ของ เงิน 277,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ให้การ ว่า เช็ค ตาม ฟ้อง เป็น ส่วน หนึ่ง ของ หนี้ จำเลย ได้ ทำหนังสือ รับสภาพหนี้ และ ให้สิทธิ โจทก์ เพียง ได้รับ ชำระหนี้ ตาม สัดส่วน277,000 บาท เมื่อ ผู้จัดการมรดก ได้ จำหน่าย ที่ดิน โฉนด ที่ 2431พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ซึ่ง ขณะ นี้ อยู่ ระหว่าง ประกาศ ขาย จึง ถือว่าโจทก์ แปลง หนี้ ตาม ฟ้อง เป็น มูลหนี้ ตาม หนังสือ รับสารภาพ หนี้ มูลหนี้เดิมจึง ระงับ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ จำเลย ชำระ เงิน 288,269.72 บาทแก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จาก จำนวนเงิน277,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ที่ คู่ความ นำสืบ รับ กัน และมิได้ โต้เถียง ใน ชั้นฎีกา ฟัง เป็น ยุติ ว่า จำเลย ได้ สั่งจ่าย เช็ค สอง ฉบับเอกสาร หมาย จ. 1 และ จ. 3 ตาม ฟ้อง เพื่อ ชำระหนี้ ให้ แก่ โจทก์ ต่อมาธนาคาร ตามเช็ค ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน หลังจาก นั้น จำเลย ได้ ทำ หนังสือฉบับ ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2532 ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 ให้ แก่ โจทก์กับ นางสาว วัลลภา แสงสระศรี เจ้าหนี้ ของ จำเลย อีก คนหนึ่ง คดี มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ว่า จำเลย จะ ต้อง ชำระ เงิน ตามเช็ค พิพาท แก่ โจทก์ หรือไม่โดย จำเลย อ้างว่า หนี้ ตามเช็ค พิพาท ระงับ ไป ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 จำเลยจึง ไม่ต้อง ชำระ เงิน ให้ แก่ โจทก์ ศาลฎีกา ได้ พิเคราะห์ เอกสาร หมาย ล. 1แล้ว แม้ เอกสาร ดังกล่าว จะ ใช้ ชื่อ เรียกว่า หนังสือ รับสภาพหนี้แต่ ข้อความ ใน หนังสือ ข้อ 1 ข้อ 2 และ ข้อ 3 พอ สรุป ได้ว่า จำเลยยอมรับ ว่า ได้ สั่งจ่าย เช็ค รวม เช็คพิพาท ให้ โจทก์ และ นางสาว วัลลภา และ ยอมรับ ว่า จะ ชำระ ให้ โจทก์ และ นางสาว วัลลภา จำนวนเงิน 345,400 บาท เมื่อ ศาล ตั้ง ผู้จัดการมรดก ของ นาง ถวิล เลื่อนฉวี เจ้ามรดก ผู้วายชนม์ และ ผู้จัดการมรดก ได้ จำหน่าย ที่ดิน แปลง บ้าน เลขที่ 305ซอย ราชปรารภ เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 200 ตารางวา โดย โจทก์ และ นางสาว วัลลภา ยอม ถอน คำร้องทุกข์ ใน คดี เช็ค ดังกล่าว ที่ แจ้งความ ไว้ เห็นว่า ข้อตกลง ระหว่าง โจทก์ กับ นางสาว วัลลภา และ จำเลย เช่นนี้ เป็น กรณี ที่ คู่สัญญา ทั้ง สอง ฝ่าย ต้องการระงับ ข้อพิพาท ที่ มี อยู่ ให้ เสร็จ ไป ด้วย ต่าง ยอม ผ่อนผัน ให้ แก่ กันโดย จำเลย ยอม ชำระ เงิน ให้ แก่ โจทก์ เมื่อ ผู้จัดการมรดก ของ นาง ถวิล เลื่อนฉวี เจ้ามรดก ได้ จำหน่าย ที่ดิน มรดก ได้ โจทก์ และ นางสาว วัลลภา ยอม ตกลง ตาม นั้น และ ยอม ถอน คำร้องทุกข์ ข้อตกลง เช่นนี้ จึง เข้า ลักษณะ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ตาม มาตรา 850แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ที่ ทำ กันมีผล ทำให้ หนี้ เดิม คือ หนี้ ตามเช็ค ระงับ ไป เกิด หนี้ ใหม่ ตามสัญญา ประนีประนอม ยอมความ ดังนั้น หนี้ ตามเช็ค ทั้ง 5 ฉบับ ที่ ระบุไว้ ใน หนังสือ รับสภาพหนี้ ซึ่ง รวมทั้ง เช็คพิพาท ตาม ฟ้อง จึง เป็น อันระงับ ไป จำเลย จึง ไม่ต้อง รับผิด ชำระ เงิน ตามเช็ค พิพาท แก่ โจทก์ส่วน ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า ตาม ข้อ 4 ของ สัญญา ระบุ ว่า จำเลยจะ ชำระ เงิน ให้ แก่ โจทก์ ต่อเมื่อ ผู้จัดการมรดก ของ นาง ถวิล เลื่อนฉวี ได้ จำหน่าย ที่ดิน แปลง บ้าน เลขที่ 305 ซอย ราชปรารภ เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ ประมาณ 200 ตารางวา เป็น นิติกรรม ที่ มีเงื่อนไข บังคับ ก่อน และ เป็น เงื่อนไข อัน จะ สำเร็จ ได้ หรือไม่ สุดแล้วแต่ใจ ของ ฝ่าย ลูกหนี้ เท่านั้น ข้อตกลง ดังกล่าว จึง เป็น โมฆะ ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 152 (เดิม ) นั้น ข้อเท็จจริง ได้ความ จากคำเบิกความ ของ นางสาว นวลเนตร โกศลประดิษฐ์ ว่า ได้รับ การ แต่งตั้ง จาก ศาล ให้ เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาง ถวิล เลื่อนฉวี และ ได้ ประกาศ ขาย ที่ดิน มรดก ตาม ข้อตกลง ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย แล้ว เมื่อ ขาย ได้จะ ต้อง แบ่ง เงิน ให้ แก่ จำเลย และ จำเลย จะ ต้อง ไป ชำระ ให้ แก่ โจทก์ ตามข้อตกลง ดังนั้น อำนาจ ใน การ จัดการ มรดก รวม ตลอด ถึง ใน การ ขาย ที่ดิน มรดกตาม ที่ ตกลง กัน นั้น จึง ขึ้น อยู่ กับ นางสาว นวลเนตร ผู้จัดการมรดก มิใช่ ขึ้น อยู่ กับ จำเลย หรือ สุดแล้วแต่ ใจ ของ จำเลย ซึ่ง เป็น ลูกหนี้โจทก์ แต่อย่างใด และ ถ้าหาก นางสาว นวลเนตร ไม่ จัดการ มรดก หรือ ไม่ยอม ขาย ที่ดิน มรดก ทายาท อื่น รวมทั้ง จำเลย ก็ สามารถ จะ ฟ้องบังคับนางสาว นวลเนตร ให้ จัดการ ขาย และ แบ่ง ทรัพย์มรดก ได้ อยู่ แล้ว อีก ทั้ง ข้อตกลง ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ดังกล่าว ไม่เป็น การ ฝ่าฝืนต่อ กฎหมาย ไม่ ขัด ต่อ ความสงบ เรียบร้อย และ ศีลธรรม อัน ดี ของ ประชาชนคง เป็น เรื่อง วิธีการ ชำระหนี้ ให้ โจทก์ เท่านั้น ข้อตกลง ดังกล่าวจึง หา ตกเป็น โมฆะ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 152 (เดิม )ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ไม่ ฎีกา ของ จำเลย ฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ