แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาล เอาที่ดินพิพาทประมูลระหว่างกันเอง ถ้าไม่ตกลงให้เอา ขายทอดตลาด ต่อมาโจทก์จำเลยได้แถลงต่อศาลว่า ไม่สามารถจะตกลงกันในวิธีการประมูลได้ทั้งสองฝ่ายจึงขอให้ ขายทอดตลาด ศาลได้เรียกคู่ความมาสอบถาม ทั้งสองฝ่ายขอให้ศาลถือข้อตกลงใหม่แทนการที่จะประมูลหรือบังคับ คดี แต่ฝ่ายโจทก์กลับเป็นฝ่ายผิดข้อตกลงตามที่ได้ตกลงกันใหม่นั้น จำเลยจึงไม่จำเป็นจะต้องปฏิบัติการตามข้อตก ลงใหม่นั้น แต่ยังคงต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาท้ายยอม คือให้ขายทอดตลาดเอางเงินมาแบ่งกันตามคำพิพากษาท้าย ยอม./
ย่อยาว
โจทก์จำเลยพิพาทกันเรื่องทรัพย์มรดกในที่สุด ประนีประนอมยอมความกันต่อศาลว่าให้เอาเรือน รวมทั้งครัวกับที่ดิน โฉนดเลขที่ ๑๓๗๓ และ ๑๔๐๐ ประมูลระหว่างกันเอง ถ้าไม่ตกลงให้เอาขายทอดตลาด ได้เงินเท่าใดแบ่งให้โจทก์หนึ่ง ในสาม จำเลยสองในสาม ฯลฯ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้คดีเป็นอันเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความ นั้น.
ต่อมาคู่ความไม่สามารถตกลงกันได้ ในวิธีการที่จะประมูลกันเอง ทั้งสองฝ่ายขอให้ศาลถือข้อตกลงยินยอมดั่งต่อไปนี้แทน การประมูลหรือการบังคับคดี คือจำเลยจะโอนที่ดินโฉนดที่ ๑๓๗๓ และ ๑๔๐๐ ให้เป็นของโจทก์ๆ ยอมใช้ราคา ๕๕๐๐๐ บาท ให้แก่จำเลย แต่จะแบ่งชำระให้เป็น ๒ งวด งวดแรก ๔๐๐๐๐ บาทภายใน ๑ เดือน งวดที่ ๒๕ เงิน ๑๕๐๐๐ บาท ภายใน ๑ เดือน นับแต่วันชำระงวดแรก ฯลฯ แต่ต่อมาโจทก์ไม่สามารถชำระเงินได้ตามที่ตกลงกันไว้ จำเลยจึงขอให้ศาลบังคับ คดีตามคำพิพากษาท้ายยอม.
ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของจำเลยเสีย ให้ออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงใหม่ดั่งกล่าว.
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ดำเนินการขายทอดตลาด เอาเงินแบ่งกันตามคำพิพากษาท้ายยอม.
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาพิจารณาแล้ว คดีนี้ศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งหมายความว่า ตกลงยอมกันไว้ อย่างไร ก็พิพากษาตามนั้น กล่าวคือให้ประมูลราคาระหว่างกันเองก่อน ถ้าไม่ตกลงจึงให้ขายทอดตลาด ต่อมาโจทก์จำเลย ได้แถลงต่อศาลว่า ไม่สามารถจะตกลงกันในวิธีการประมูลได้ ทั้งสองฝ่ายจึงขอให้ขายทอดตลาด ศาลได้เรียกคู่ความมา สอบถาม ทั้งสองฝ่ายขอให้ศาลถือเอาข้อตกลงใหม่แทนการที่จะประมูลหรือบังคับคดี ข้อความที่กล่าวนี้น่าจะเข้าใจว่า ทั้ง สองฝ่ายตกลงกันเฉพาะเรื่องการประมูลอย่างเดียวว่า เป็นอันไม่ต้องประมูล โดยให้ถือข้อที่ได้ตกลงใหม่แทนการประมูล หรือการบังคับคดีเท่านั้น แต่ฝ่ายโจทก์กลับเป็นฝ่ายผิดข้อตกลงเอง กล่าวคือไม่ชำระเงินงวดแรกให้ครบตามที่ตกลงกัน ไว้ จำเลยจึงไม่จำเป็นจะต้องปฏิบัติการตามข้อตกลงใหม่นี้ แต่ยังคงต้องปฏิบีติตามคำพิพากษาท้ายยอม จึงพิพากษายืน.