คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8704/2542

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

++ เรื่อง บัญชีเดินสะพัด ค้ำประกัน จำนอง ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง ++
++
++
++ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ ++
++ ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติโดยคู่ความมิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่า เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2532จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เปิดบัญชีเดินสะพัด ประเภทเงินฝากกระแสรายวันไว้แก่โจทก์ บัญชีเลขที่ 599 – 5 ต่อมาวันที่ 27 กันยายน 2534จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่โจทก์ วงเงิน500,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี กำหนดชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 27 กันยายน 2535 เมื่อครบกำหนดดังกล่าวแล้วจำเลยที่ 1ยังคงเดินสะพัดทางบัญชีเรื่อยมา ต่อมาวันที่ 1 สิงหาคม 2539 จำเลยที่ 1ขอเพิ่มวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีอีก 3,000,000 บาท รวมเป็นวงเงิน3,500,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 16.75 ต่อปี จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 1 จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 87365 และ 87366 ตำบลบางบอน อำเภอบางขุนเทียนกรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันในวงเงิน 2,500,000 บาทต่อมาวันที่ 31 กรกฎาคม 2536 ได้ขึ้นวงเงินจำนองอีก 3,000,000 บาทรวมเป็น 5,500,000 บาท หลังจากทำสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 เดินสะพัดทางบัญชีเรื่อยมาจนครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2540 จำเลยที่ 1ถอนเงินจากบัญชีจำนวน 3,500 บาท ณ วันดังกล่าว จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์จำนวน 3,590,068.50 บาท โจทก์ทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยทั้งสองแล้ว ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์
++ ประการแรกมีว่า สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1สิ้นสุดลงเมื่อใด
++ เห็นว่า ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับสุดท้ายที่จำเลยที่ 1ทำไว้แก่โจทก์ ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2539 ตามเอกสารหมาย จ.8 ไม่ปรากฏว่ามีกำหนดเวลาชำระหนี้เสร็จสิ้นไว้ จึงต้องถือว่าเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 เอกสารหมาย จ.16แผ่นที่ 4 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ถอนเงินจากบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 7กุมภาพันธ์ 2540 ทำให้มียอดหนี้ในวันดังกล่าวเป็นเงิน 3,590,068.50 บาทซึ่งเกินวงเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีทั้งสองฉบับ คือเอกสารหมาย จ.7และ จ.8 ที่ให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินได้ไม่เกิน 3,500,000 บาท แล้วหลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินอีก คงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยที่คิดเป็นหนี้เพิ่มตลอดมา แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ไม่ประสงค์จะให้มีการสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไปและหลังจากวันที่จำเลยที่ 1 ถอนเงินครั้งสุดท้ายดังกล่าวแล้ว มีการหักทอนบัญชีในวันสิ้นเดือนนั้น คือวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540 จำเลยที่ 1 มียอดหนี้อยู่เป็นจำนวน 3.636,342.95 บาท สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันเลิกกันในวันดังกล่าว หาได้สิ้นสุดในวันที่25 เมษายน 2540 อันเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ และตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2540 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ต่อไป ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 สิ้นสุดในวันที่ 7 กุมภาพันธ์2540 และจำเลยที่ 1 มียอดหนี้จำนวนเพียง 3,590,068.50 บาท นั้นไม่ถูกต้อง ++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ประการต่อไปมีว่าดอกเบี้ยหลังจากวันสิ้นสุดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี โจทก์มีสิทธิคิดเพิ่มเป็นอัตราร้อยละ 24 และร้อยละ 25 ต่อปี ได้หรือไม่
++ เห็นว่า เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เลิกกันแล้ว ความผูกพันที่โจทก์มีสิทธิปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยให้เพิ่มสูงขึ้นตามข้อตกลงในสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ก็ย่อมสิ้นสุดไปด้วย โจทก์หาอาจจะอ้างประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อที่ออกมาภายหลังจากที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1เลิกกันไปแล้วมาปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1เพิ่มสูงถึงร้อยละ 24 และ 25 ต่อปี ได้ไม่ เพราะเงื่อนไขให้สิทธิแก่โจทก์เพิ่มอัตราดอกเบี้ยตามที่ตกลงไว้ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเอกสารหมาย จ.8 ข้อ 2 นั้นสิ้นผลไปก่อนแล้ว
++ แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จากต้นเงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ทั้งจำนวนนั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา เพราะตามบันทึกการปรับอัตราดอกเบี้ยเอกสารหมาย จ.13 ระบุไว้ชัดเจนว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยจากต้นเงินตามวงเงินในสัญญา คือ 500,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.7 และ3,000,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.8 รวมจำนวน 3,500,000 บาทในอัตราร้อยละ 16.75 ต่อปีเท่านั้น ส่วนที่เกินวงเงินจึงคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี การที่ศาลชั้นต้นคิดดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ19 ต่อปี จากจำนวนหนี้ทั้งหมดจึงไม่ถูกต้อง เป็นการวินิจฉัยอัตราดอกเบี้ยก่อนสิ้นสุดสัญญาไม่ตรงกับพยานหลักฐานในสำนวน คือบันทึกการปรับอัตราดอกเบี้ยเอกสารหมาย จ.13 ศาลฎีกาย่อมแก้ไขให้ถูกต้องได้ อุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วนเช่นกัน ++
++ พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน3,636,342.95 บาท พร้อมดอกเบี้ยไม่ทบต้นในอัตราร้อยละ 16.75 ต่อปีของต้นเงินจำนวน 3,500,000 บาท และดอกเบี้ยไม่ทบต้นในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 136,342.95 บาท นับถัดจากวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น. ++

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๓๒ จำเลยที่ ๑โดยจำเลยที่ ๒ กรรมการผู้จัดการเปิดบัญชีเดินสะพัดไว้แก่โจทก์ สาขาเชียงใหม่ เลขที่ ๕๙๙ – ๕ โดยสัญญาว่าจะปฏิบัติตามระเบียบการใช้บัญชีเดินสะพัดประเภทบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน และยินยอมปฏิบัติตามประเพณีนิยมและวิธีปฏิบัติของธนาคารพาณิชย์ทุกประการ ต่อมาวันที่ ๒๗กันยายน ๒๕๓๔ จำเลยที่ ๑ โดยจำเลยที่ ๒ ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่โจทก์สาขาเชียงใหม่ ในวงเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๑๙ ต่อปี ทบต้นตามประเพณีของธนาคารพาณิชย์ กำหนดชำระหนี้คืนทั้งหมดแก่โจทก์ในวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๓๕ แต่เมื่อครบกำหนดแล้วจำเลยที่ ๑ ยังคงเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์เรื่อยมา ต่อมาวันที่ ๑สิงหาคม ๒๕๓๙ จำเลยที่ ๑ ได้ขอเพิ่มวงเงิน โดยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่โจทก์อีก ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นวงเงินที่ขอเบิกเกินบัญชีจำนวน ๓,๕๐๐,๐๐๐ บาท ตกลงยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเอ็ม อาร์ อาร์ บวก ๒ ขณะทำสัญญาอัตราดอกเบี้ย เอ็ม อาร์ อาร์เท่ากับร้อยละ ๑๔.๗๕ ต่อปี อัตราดอกเบี้ยขณะทำสัญญาจึงเท่ากับร้อยละ๑๖.๗๕ ต่อปี จำเลยที่ ๑ ตกลงจะชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนแก่โจทก์ทันทีตามที่โจทก์เรียกร้อง และยอมให้โจทก์ปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยตามวิธีการของโจทก์ได้ทันที แต่ต้องไม่เกินอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ จำเลยที่ ๒ ได้ทำสัญญาค้ำประกันเข้ารับผิดชำระหนี้ของจำเลยที่ ๑ แก่โจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม และจำเลยที่ ๑จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ ๘๗๓๖๕, ๘๗๓๖๖ ตำบลบางบอน อำเภอบางขุนเทียนกรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่โจทก์ในวงเงิน ๒,๕๐๐,๐๐๐ บาทและขึ้นวงเงินจำนองอีก ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท รวมวงเงินทั้งสิ้น ๕,๕๐๐,๐๐๐บาท เพื่อประกันหนี้ทุกชนิดซึ่งจำเลยที่ ๑ มีอยู่ต่อโจทก์ โดยตกลงว่าหากมีการบังคับจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดแล้วได้เงินสุทธิไม่พอชำระหนี้เงินขาดอยู่จำนวนเท่าใด ยอมให้โจทก์บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ ๑ จนครบถ้วน นับแต่จำเลยที่ ๑ ได้เบิกเงินเกินบัญชีไป บัญชีของจำเลยที่ ๑ เดินสะพัดเรื่อยมา เมื่อจำเลยที่ ๑ไม่ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในเดือนใด โจทก์ก็คิดดอกเบี้ยทบต้นและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและของโจทก์เรื่อยมา ซึ่งบัญชีเดินสะพัดของจำเลยที่ ๑ ได้เดินสะพัดเรื่อยมาและแสดงยอดตกเป็นลูกหนี้โจทก์เพียง ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๐ เป็นเงิน๓,๖๘๘,๓๓๔.๒๑ บาท โจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ ๑ ชำระหนี้ จำเลยที่ ๑เพิกเฉย โจทก์จึงให้ทนายความส่งหนังสือทวงถามให้จำเลยทั้งสองจัดการชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองภายในวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๐ มิฉะนั้นถือว่าวันดังกล่าวเป็นอันยกเลิกและสิ้นสุดการเดินบัญชีเดินสะพัดต่อกันด้วย หนังสือทวงถามส่งให้แก่จำเลยทั้งสองได้ เมื่อครบกำหนดเวลาชำระหนี้ตามหนังสือทวงถามแล้ว จำเลยทั้งสองก็ไม่ชำระหนี้ โจทก์ถือว่าบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ สิ้นสุดลงในวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๐ ซึ่ง ณ วันดังกล่าวเมื่อหักทอนบัญชีต่อกันแล้ว จำเลยที่ ๑ มีหนี้ค้างชำระแก่โจทก์เป็นเงินจำนวน ๓,๗๓๐,๙๓๙.๒๔ บาท ซึ่งจำเลยทั้งสองต้องร่วมกันหรือแทนกันชำระให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นของต้นเงินดังกล่าวในอัตราตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและของโจทก์นับตั้งแต่วันที่ ๒๖เมษายน ๒๕๔๐ เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น ดังนี้ในอัตราร้อยละ ๑๙ ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๔๐ ถึงวันที่ ๗ธันวาคม ๒๕๔๐ ในอัตราร้อยละ ๒๔ ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๔๐ถึงวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๔๑ และในอัตราร้อยละ ๒๕ ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ ๖มีนาคม ๒๕๔๑ เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ดอกเบี้ยดังกล่าวคิดถึงวันฟ้องรวมเป็นเงิน ๑,๑๘๓,๗๘๑.๐๑ บาท รวมต้นเงินและดอกเบี้ยถึงวันฟ้องเป็นเงินทั้งสิ้น ๔,๙๑๔.๗๒๐.๒๕ บาท ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงิน ๔,๙๑๔,๗๒๐.๒๕ บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๒๕ ต่อปี ของต้นเงิน ๓,๗๓๐,๙๓๙.๒๔ บาทนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จ หากไม่ชำระ ให้บังคับจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ ๘๗๓๖๕, ๘๗๓๖๖ ตำบลบางบอน อำเภอบางขุนเทียนกรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้าง รวมตลอดจนทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้โจทก์จนครบ
จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน ๓,๕๙๐,๐๖๘.๕๐ บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยไม่ทบต้นในอัตราร้อยละ ๑๙ ต่อปี นับถัดจากวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสองจะชำระเงินให้โจทก์เสร็จ แต่จำนวนเงินทั้งหมดถึงวันฟ้อง (วันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๔๑) ต้องไม่เกินจำนวน ๔,๙๑๔,๗๒๐.๒๕บาท หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติ ให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ ๘๗๓๖๕ และ ๘๗๓๖๖ตำบลบางบอน อำเภอบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ หากได้เงินสุทธิไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์จนครบ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความ ๔,๐๐๐ บาท เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนเท่าที่โจทก์ชนะคดี คำขออื่นให้ยก
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๒๒๓ ทวิ
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติโดยคู่ความมิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่า เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๓๒จำเลยที่ ๑ โดยจำเลยที่ ๒ เปิดบัญชีเดินสะพัด ประเภทเงินฝากกระแสรายวันไว้แก่โจทก์ บัญชีเลขที่ ๕๙๙ – ๕ ต่อมาวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๓๔จำเลยที่ ๑ โดยจำเลยที่ ๒ ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่โจทก์ วงเงิน๕๐๐,๐๐๐ บาท ดอกเบี้ยร้อยละ ๑๙ ต่อปี กำหนดชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๓๕ เมื่อครบกำหนดดังกล่าวแล้วจำเลยที่ ๑ยังคงเดินสะพัดทางบัญชีเรื่อยมา ต่อมาวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๓๙ จำเลยที่ ๑ขอเพิ่มวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีอีก ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นวงเงิน๓,๕๐๐,๐๐๐ บาท ดอกเบี้ยร้อยละ ๑๖.๗๕ ต่อปี จำเลยที่ ๒ ทำสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ ๑ จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ ๘๗๓๖๕ และ ๘๗๓๖๖ ตำบลบางบอน อำเภอบางขุนเทียนกรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันในวงเงิน ๒,๕๐๐,๐๐๐ บาทต่อมาวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๓๖ ได้ขึ้นวงเงินจำนองอีก ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาทรวมเป็น ๕,๕๐๐,๐๐๐ บาท หลังจากทำสัญญาแล้ว จำเลยที่ ๑ เดินสะพัดทางบัญชีเรื่อยมาจนครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ จำเลยที่ ๑ถอนเงินจากบัญชีจำนวน ๓,๕๐๐ บาท ณ วันดังกล่าว จำเลยที่ ๑ เป็นหนี้โจทก์จำนวน ๓,๕๙๐,๐๖๘.๕๐ บาท โจทก์ทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยทั้งสองแล้ว ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ประการแรกมีว่า สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑สิ้นสุดลงเมื่อใด เห็นว่า ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับสุดท้ายที่จำเลยที่ ๑ทำไว้แก่โจทก์ ลงวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๓๙ ตามเอกสารหมาย จ.๘ ไม่ปรากฏว่ามีกำหนดเวลาชำระหนี้เสร็จสิ้นไว้ จึงต้องถือว่าเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ ๑ เอกสารหมาย จ.๑๖แผ่นที่ ๔ ปรากฏว่าจำเลยที่ ๑ ถอนเงินจากบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ ๗กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ ทำให้มียอดหนี้ในวันดังกล่าวเป็นเงิน ๓,๕๙๐,๐๖๘.๕๐ บาทซึ่งเกินวงเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีทั้งสองฉบับ คือเอกสารหมาย จ.๗และ จ.๘ ที่ให้จำเลยที่ ๑ เบิกเงินได้ไม่เกิน ๓,๕๐๐,๐๐๐ บาท แล้วหลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ ๑ เบิกถอนเงินอีก คงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยที่คิดเป็นหนี้เพิ่มตลอดมา แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ ๑ ที่ไม่ประสงค์จะให้มีการสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไปและหลังจากวันที่จำเลยที่ ๑ ถอนเงินครั้งสุดท้ายดังกล่าวแล้ว มีการหักทอนบัญชีในวันสิ้นเดือนนั้น คือวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ จำเลยที่ ๑ มียอดหนี้อยู่เป็นจำนวน ๓.๖๓๖,๓๔๒.๙๕ บาท สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ ๑ จึงเป็นอันเลิกกันในวันดังกล่าว หาได้สิ้นสุดในวันที่๒๕ เมษายน ๒๕๔๐ อันเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ ๑ ชำระหนี้ไม่ และตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๐ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ ๑ ต่อไป ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ ๑ สิ้นสุดในวันที่ ๗ กุมภาพันธ์๒๕๔๐ และจำเลยที่ ๑ มียอดหนี้จำนวนเพียง ๓,๕๙๐,๐๖๘.๕๐ บาทนั้นไม่ถูกต้อง อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อนี้ฟังขึ้นบางส่วน
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ประการต่อไปมีว่าดอกเบี้ยหลังจากวันสิ้นสุดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี โจทก์มีสิทธิคิดเพิ่มเป็นอัตราร้อยละ ๒๔ และร้อยละ ๒๕ ต่อปี ได้หรือไม่ เห็นว่า เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ ๑ เลิกกันแล้ว ความผูกพันที่โจทก์มีสิทธิปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยให้เพิ่มสูงขึ้นตามข้อตกลงในสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยที่ ๑ ก็ย่อมสิ้นสุดไปด้วย โจทก์หาอาจจะอ้างประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อที่ออกมาภายหลังจากที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ ๑เลิกกันไปแล้วมาปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ ๑เพิ่มสูงถึงร้อยละ ๒๔ และ ๒๕ ต่อปี ได้ไม่ เพราะเงื่อนไขให้สิทธิแก่โจทก์เพิ่มอัตราดอกเบี้ยตามที่ตกลงไว้ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเอกสารหมาย จ.๘ ข้อ ๒ นั้นสิ้นผลไปก่อนแล้ว แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๑๙ ต่อปี จากต้นเงินที่จำเลยที่ ๑ เป็นหนี้โจทก์ทั้งจำนวนนั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา เพราะตามบันทึกการปรับอัตราดอกเบี้ยเอกสารหมาย จ.๑๓ ระบุไว้ชัดเจนว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยจากต้นเงินตามวงเงินในสัญญา คือ ๕๐๐,๐๐๐ บาท ตามเอกสารหมาย จ.๗ และ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท ตามเอกสารหมาย จ.๘ รวมจำนวน ๓,๕๐๐,๐๐๐ บาทในอัตราร้อยละ ๑๖.๗๕ ต่อปีเท่านั้น ส่วนที่เกินวงเงินจึงคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๑๙ ต่อปี การที่ศาลชั้นต้นคิดดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ๑๙ ต่อปี จากจำนวนหนี้ทั้งหมดจึงไม่ถูกต้อง เป็นการวินิจฉัยอัตราดอกเบี้ยก่อนสิ้นสุดสัญญาไม่ตรงกับพยานหลักฐานในสำนวน คือบันทึกการปรับอัตราดอกเบี้ยเอกสารหมาย จ.๑๓ ศาลฎีกาย่อมแก้ไขให้ถูกต้องได้ อุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วนเช่นกัน
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน๓,๖๓๖,๓๔๒.๙๕ บาท พร้อมดอกเบี้ยไม่ทบต้นในอัตราร้อยละ ๑๖.๗๕ ต่อปีของต้นเงินจำนวน ๓,๕๐๐,๐๐๐ บาท และดอกเบี้ยไม่ทบต้นในอัตราร้อยละ ๑๙ ต่อปี ของต้นเงินจำนวน ๑๓๖,๓๔๒.๙๕ บาท นับถัดจากวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ ไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น.

Share