คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 856/2536

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน ส. จำเลยจึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่ง ส. มีต่อโจทก์รวมทั้งเรื่องอายุความที่โจทก์อาจฟ้อง ส. เป็นคดีแพ่งขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 694 การที่โจทก์ฟ้องให้ ส. ชดใช้เงินที่ยักยอกคืนโจทก์ เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดอันเป็นความผิดมีโทษตามกฎหมายอาญาและศาลพิพากษาแล้วว่า ส. มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 353 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีจึงมีอายุความที่จะต้องฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมาภายใน 10 ปี นับแต่วันกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3) กำหนดอายุความทางอาญาจึงยาวกว่าอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448วรรคแรก ที่กำหนดไว้เพียง 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงต้องเอาอายุความที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้อง ส. ได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ส. กระทำความผิดเบียดบังยักยอกเงินของโจทก์ไปโดยทุจริตเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ ส. กระทำผิดจึงไม่ขาดอายุความ

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2527 จำเลยทำสัญญาค้ำประกันการปฏิบัติงานของนายสายัณต์ หมื่นกล้า ไว้ต่อโจทก์ว่าถ้านายสายัณต์ หมื่นกล้า ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนขายประกันภัยของโจทก์เก็บเงินค่าเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันแล้วไม่นำเงินส่งแก่โจทก์ หรือก่อความเสียหายและมีหนี้สินต่อโจทก์ จำเลยก็จะรับผิดชดใช้แทนในวงเงิน 100,000 บาท ต่อมาระหว่างวันที่27 พฤศจิกายน 2527 ถึงวันที่ 22 สิงหาคม 2528นายสายัณต์ หมื่นกล้าปฏิบัติหน้าที่ประจำสำนักงานสาขาของโจทก์ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้เก็บเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยรวมเป็นเงิน 166,045 บาท แล้วไม่ส่งมอบแก่โจทก์ แต่ได้เบียดบังยักยอกเงินจำนวนดังกล่าวไปโดยทุจริต โจทก์ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่นายสายัณต์ หมื่นกล้า ในข้อหายักยอกศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกนายสายัณต์ หมื่นกล้า 39 เดือน และให้นายสายัณต์ หมื่นกล้า คืนเงินแก่โจทก์จำนวน 160,186 บาทโจทก์ทวงถามจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชดใช้เงินที่นายสายัณต์ยักยอกไปให้แก่โจทก์ โดยให้รับผิดจำนวน 100,000 บาท ตามวงเงินที่ค้ำประกันแล้ว จำเลยเพิกเฉย ขอให้จำเลยชำระเงิน 100,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.8 ต่อปี นับแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2528ซึ่งเป็นวันผิดนัดถึงวันฟ้องเป็นค่าดอกเบี้ย 13,399.45 บาท และนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยให้การว่า มูลหนี้ตามคำฟ้องของโจทก์หากมีจริง โจทก์ก็ไม่ฟ้องนายสายัณต์นับแต่วันโจทก์ทราบการละเมิดจนถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปีโจทก์มาฟ้องจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันให้รับผิดจึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่งและมาตรา 694 นายสายัณต์ ไม่ได้ทำละเมิดต่อโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2528 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “…ข้อเท็จจริงฟังได้ในเบื้องต้นว่า เมื่อระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน 2527 ถึงวันที่ 21 สิงหาคม 2528นายสายัณต์ หมื่นกล้า พนักงานขายประกันของโจทก์ได้เก็บเงินเบี้ยประกันภัยจากลูกค้าโจทก์ ผู้เอาประกันภัยรวม 15 ราย เป็นเงิน160,186 บาท แล้วได้ยักยอกเอาเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยทุจริตไม่นำส่งโจทก์ โจทก์มอบอำนาจให้นายบรรเทา จันทร์ศร ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอพระนครศรีอยุธยา ให้ดำเนินคดีกับนายสายัณต์ในข้อหายักยอก ต่อมาพนักงานอัยการประจำศาลแขวงพระนครศรีอยุธยาได้ฟ้องนายสายัณต์ ข้อหายักยอกเงินจำนวนดังกล่าว ศาลแขวงพระนครศรีอยุธยาพิพากษาเมื่อวันที่26 พฤษภาคม 2529 จำคุกนายสายัณต์มีกำหนด 39 เดือนและให้นายสายัณต์คืนเงิน 160,186 บาท แก่โจทก์ คดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว
คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่โดยจำเลยฎีกาว่า จำเลยมีสิทธิยกข้อต่อสู้ของนายสายัณต์เรื่องอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ และนับแต่วันที่นายสายัณต์กระทำละเมิดและโจทก์รู้ตัวผู้ที่จะต้องรับผิดเป็นเวลาเกิน 1 ปีแล้วคดีโจทก์จึงขาดอายุความ พิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันนายสายัณต์ ดังนั้นจำเลยจึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งนายสายัณต์มีต่อโจทก์รวมทั้งเรื่องอายุความที่โจทก์อาจฟ้องนายสายัณต์เป็นคดีแพ่งขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 694 ฎีกาของจำเลยในข้อนี้ฟังขึ้น ปัญหาต่อไปคือ คดีที่โจทก์อาจฟ้องนายสายัณต์ให้รับผิดต่อโจทก์ในทางแพ่งนั้นมีอายุความ 1 ปี ตามที่จำเลยต่อสู้หรือไม่เห็นว่าการที่โจทก์จะฟ้องให้นายสายัณต์ชดใช้เงินที่ยักยอกคืนโจทก์นั้นเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดอันเป็นความผิดมีโทษตามกฎหมายอาญา และศาลแขวงพระนครศรีอยุธยาพิพากษาแล้วว่านายสายัณต์มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี จึงมีอายุความที่จะต้องฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายใน 10 ปีนับแต่วันกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3) กำหนดอายุความทางอาญาจึงยาวกว่าอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรกที่กำหนดไว้เพียง 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงต้องเอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาบังคับตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสองบัญญัติไว้ จะนำอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคแรก มาบังคับหาได้ไม่ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องนายสายัณต์ได้ภายใน 10 ปีนับแต่วันที่นายสายัณต์กระทำผิดเบียดบังยักยอกเงินของโจทก์ไปโดยทุจริต เมื่อนายสายัณต์ยักยอกเงินของโจทก์ไปในระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน 2527 ถึงวันที่ 21สิงหาคม 2528 โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันนายสายัณต์เป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2530 จึงเป็นการฟ้องคดีภายใน 10 ปี นับแต่วันที่นายสายัณต์กระทำความผิด ดังนั้นคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้จึงไม่ขาดอายุความดังที่จำเลยต่อสู้ที่ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายใน 10 ปี นับแต่วันกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3) กำหนดอายุความทางอาญาจึงยาวกว่าอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคแรก ที่กำหนดไว้เพียง 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนจึงต้องเอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาบังคับตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคสอง บัญญัติไว้ จะนำอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก มาบังคับหาได้ไม่ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องนายสายัณต์ได้ภายใน 10 ปีนับแต่วันที่นายสายัณต์กระทำความผิดเบียดบังยักยอกเงินของโจทก์ไปโดยทุจริต เมื่อนายสายัณต์ยักยอกเงินของโจทก์ไปในระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน 2527 ถึงวันที่ 21 สิงหาคม 2528โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันนายสายัณต์เป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2530 จึงเป็นการฟ้องคดีภายใน 10 ปีนับแต่วันที่นายสายัณต์กระทำความผิด ดังนั้น คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้จึงไม่ขาดอายุความดังที่จำเลยต่อสู้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น

Share