คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 843/2539

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจำเลยนำคดีมาฟ้องโจทก์ว่าผิดสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทโดยขณะที่จำเลยยื่นฟ้องนั้นโจทก์ไม่เคยมีภูมิลำเนาและไม่เคยอาศัยอยู่ในบ้านตามที่โจทก์ระบุในคำฟ้องในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่โจทก์แม้บุคคลที่อยู่ในบ้านจะแจ้งว่าไม่มีคนชื่อเดียวกับโจทก์อยู่ในบ้านดังกล่าวจำเลยก็แถลงยืนยันว่าโจทก์มีภูมิลำเนาตามฟ้องโดยไม่ได้แสดงหลักฐานต่อศาลแสดงให้เห็นว่าได้มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าที่จะฟ้องโดยไม่ได้แสดงหลักฐานต่อศาลแสดงให้เห็นว่าได้มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าที่จะฟ้องโจทก์โดยไม่ให้โจทก์ทราบว่าถูกฟ้องนอกจากนี้ชื่อโจทก์ที่ระบุในคำฟ้องก็ไม่ตรงกับชื่อโจทก์ที่แท้จริงทำให้โจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาหลังจากศาลพิพากษาแล้วจำเลยได้นำคำพิพากษาไปให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เป็นของจำเลยทั้งๆที่ชื่อโจทก์ในคดีที่จำเลยฟ้องไม่ตรงกับชื่อในโฉนดที่ดินพฤติการณ์ของจำเลยในการดำเนินคดีและการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นอันเป็นการมิชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา421ถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามมาตรา420ดังนั้นการได้ที่ดินพิพาทของจำเลยเป็นการได้ไปโดยกระทำละเมิดต่อโจทก์โจทก์จึงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์รวม ใน ที่ดิน โฉนดเลขที่ 436 เฉพาะ ส่วน ของ โจทก์ มี เนื้อที่ 1 ไร่ เมื่อ ต้น ปี 2529โจทก์ ทราบ ว่า จำเลย นำ คำพิพากษา ของ ศาลแพ่ง ซึ่ง จำเลย ได้ ฟ้องโจทก์ ว่าโจทก์ ผิดสัญญา ขาย ที่ดิน แปลง ดังกล่าว เฉพาะ ส่วน ของ โจทก์ ให้ แก่ จำเลยคดี ดังกล่าว โจทก์ ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา ศาลแพ่งมี คำพิพากษา ให้ จำเลย เป็น ฝ่าย ชนะคดี เจ้าพนักงาน ที่ดิน จังหวัด นนทบุรีจึง โอน กรรมสิทธิ์ ส่วน ของ โจทก์ เป็น กรรมสิทธิ์ ของ จำเลย ตาม คำพิพากษาโจทก์ ไม่เคย ทราบ เรื่อง ที่ ถูก จำเลย ฟ้อง จึง มิได้ ไป ให้การ ต่อสู้ คดีความจริง โจทก์ ไม่เคย ทำ สัญญา ขาย ที่ดิน ดังกล่าว ให้ จำเลย สัญญาซื้อขายที่ จำเลย นำ ไป ฟ้องโจทก์ เป็น เอกสารปลอม ลายมือชื่อ โจทก์ เป็น ผู้ขายขอให้ พิพากษา เพิกถอน การ โอน โฉนด ที่ดิน ดังกล่าว เฉพาะ ส่วน ของ จำเลยให้ กลับคืน เป็น ของ โจทก์ ตาม เดิม โดย ให้ จำเลย ชำระ ค่าธรรมเนียมใน การ จดทะเบียน ถ้า โจทก์ ชำระ ค่าธรรมเนียม ดังกล่าว ไป ก่อน ก็ ให้ จำเลยใช้ คืน พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ ถ้า ไม่สามารถ จดทะเบียน ให้ โจทก์ เป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ ตาม เดิม ได้ ให้ จำเลย ใช้ ราคา ค่าที่ดิน เป็น เงิน 450,000 บาทพร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
ศาลชั้นต้น พิเคราะห์ คำฟ้อง แล้ว มี คำสั่ง ว่า เป็น กรณี ที่ โจทก์จะ ต้อง ใช้ สิทธิ ร้องขอ ให้ ศาล พิจารณา คดี ใหม่ ที่ ศาล เดิม มิใช่ มา ยื่นฟ้อง จำเลย เป็น คดี ใหม่ จึง ไม่รับฟ้อง โจทก์
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายก คำสั่งศาล ชั้นต้น ให้ ศาลชั้นต้น รับฟ้องของ โจทก์ ไว้ ดำเนิน กระบวนพิจารณา ต่อไป
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ซื้อ ที่ดิน ตาม ฟ้อง จาก โจทก์ และ ได้ ชำระราคา ครบถ้วน แล้ว แต่ โจทก์ ไม่ โอน กรรมสิทธิ์ ให้ จึง ต้อง ฟ้องคดีให้ ศาลแพ่ง บังคับ โจทก์ ฟ้องคดี ที่ ศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์ ต้อง ร้อง ต่อ ศาลแพ่ง ให้ พิจารณา คดี ใหม่ ซึ่ง คดี ของ โจทก์ ใน การขอให้พิจารณา คดี ใหม่ ก็ ขาดอายุความ แล้ว ที่ดินพิพาท มี สภาพ เป็นบ่อน้ำ ขนาด ใหญ่ ราคา ที่ดิน ไม่เกิน 5,000 บาท ขอให้ ยกฟ้อง
ระหว่าง พิจารณา โจทก์ ถึงแก่กรรม นาย บัณฑิต ทายาท ผู้รับ ทรัพย์มรดก ตาม พินัยกรรม ของ โจทก์ ยื่น คำร้องขอ เข้า เป็น คู่ความ แทนศาลชั้นต้น อนุญาต
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ เพิกถอน การ จดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์ ระหว่าง โจทก์ จำเลย ซึ่ง ได้ จดทะเบียน ไว้ เมื่อ วันที่7 มกราคม 2526 ใน โฉนด ที่ดิน เลขที่ 436 แล้ว ให้ จดทะเบียน ลงชื่อโจทก์ เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ จำนวน 1 ไร่ ตาม เดิม
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี นี้ โจทก์ กล่าวอ้าง ว่า ใน การ ดำเนินคดีที่ ศาลแพ่ง ตาม คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 15113/2522 โจทก์ ไม่เคย ทราบเรื่อง เลย ศาลแพ่ง จึง พิจารณา คดี ของ จำเลย ไป ฝ่ายเดียว และ พิพากษาให้ จำเลย ชนะคดี หลังจาก นั้น จำเลย นำ คำพิพากษา ไป ดำเนินการ จดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน เฉพาะ ส่วน ที่ เป็น กรรมสิทธิ์ ของ โจทก์ ไป เป็นของ จำเลย จึง ขอให้ เพิกถอน การ จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน ดังกล่าวถ้า พิจารณา การ ดำเนิน กระบวนพิจารณา ใน คดี ดังกล่าว ก็ ปรากฏ ตาม คำฟ้องว่า จำเลย ได้ ระบุ ภูมิลำเนา ของ โจทก์ ว่า อยู่ ที่ บ้าน เลขที่ 107/93ถนน ลาดพร้าว ซอยโชคชัย 3 ตำบลวังทองหลาง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร แต่ ตาม สำเนา ทะเบียนบ้าน เอกสาร หมาย ร.3 ระบุ ว่า โจทก์ มี ภูมิลำเนาอยู่ บ้าน เลขที่ 53 ถนน บำรุงเมือง ตำบลศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ใน การ ส่งหมาย เรียก และ สำเนา คำฟ้อง ให้ แก่ โจทก์ ครั้งแรกพนักงานเดินหมาย ได้รับ แจ้ง จาก นางสาว นภาพร วิเชียรชิต ว่า ไม่มี บุคคล ชื่อ เดียว กับ โจทก์ อยู่ ใน บ้าน ตาม ภูมิลำเนา ที่ ระบุ ไว้ ในคำฟ้อง และ นางสาว ชุตินาถ รุ่งทองทาบนภา ซึ่ง มี ชื่อ เป็น ผู้รับ หมายเรียก และ สำเนา คำฟ้อง แทน โจทก์ และ มา เบิกความ ใน คดี นี้ ตาม ที่โจทก์ ขอให้ ศาล มี หมายเรียก มา เบิกความ ว่า ใน ปี 2522 ถึง 2523พยาน อยู่ ที่ บ้าน เลขที่ ตาม ที่ ระบุ ไว้ ใน คำฟ้อง ว่า เป็น ภูมิลำเนาของ โจทก์ โดย พยาน เป็น เจ้า บ้าน พยาน ไม่เคย รู้ จัก โจทก์ มา ก่อนจึง ฟังได้ ว่า ใน ขณะ จำเลย ฟ้องโจทก์ เป็น คดี ที่ ศาลแพ่ง ดังกล่าวโจทก์ ไม่ได้ มี ภูมิลำเนา ตาม บ้าน เลขที่ ที่ จำเลย ระบุ ไว้ ใน คำฟ้องและ ไม่เคย ไป อาศัย อยู่ ใน บ้าน ดังกล่าว ด้วย การ ที่ ใน ปี 2523 โจทก์ มีภูมิลำเนา อยู่ ที่ บ้าน เลขที่ 53 ถนน บำรุงเมือง ตำบลศาลเจ้าพ่อเสือ เขต พระนคร กรุงเทพมหานคร และ ไม่เคย มี ภูมิลำเนา อยู่ ที่ บ้าน เลขที่ 107/93 ซอย โชคชัย 3 ลาดพร้าว แขวงวังทองหลาง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร และ เมื่อ จำเลย ฟ้องโจทก์ ต่อ ศาลแพ่ง ก็ ระบุ ว่า โจทก์มี ภูมิลำเนา อยู่ ที่ บ้าน เลขที่ 107/23 ใน การ ส่งหมาย เรียก และ สำเนาคำฟ้อง ให้ แก่ โจทก์ บุคคล ที่อยู่ ใน บ้าน ดังกล่าว แจ้ง ว่า ไม่มี คนชื่อ เดียว กับ โจทก์ อยู่ ใน บ้าน จำเลย ก็ แถลง ยืนยัน ว่า โจทก์ มี ภูมิลำเนาตาม ฟ้อง โดย ไม่ได้ แสดง หลักฐาน อะไร ต่อ ศาลแพ่ง แสดง ให้ เห็นว่า ได้ มีการ เตรียม การ ไว้ ล่วงหน้า ที่ จะ ฟ้องโจทก์ โดย ไม่ให้ โจทก์ ทราบ ว่าถูก ฟ้อง แม้ แต่ ชื่อ ของ โจทก์ ก็ ระบุ ใน คำฟ้อง ว่า ชื่อ นางสาว สุขลักษณ์ ดิษสกุลเวช ซึ่ง ไม่ ตรง กับ ชื่อ และ นามสกุล ของ โจทก์ หลังจาก ศาลแพ่ง มี คำพิพากษา แล้ว จำเลย นำ คำพิพากษา ไป ให้ เจ้าพนักงาน ที่ดิน จดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน ของ โจทก์ ทั้ง ๆ ที่ ชื่อ และ นามสกุล ของ ของ โจทก์ซึ่ง เป็น จำเลย ใน คดี ที่ จำเลย เป็น โจทก์ ฟ้อง ไม่ ตรง กับ ชื่อ ของ โจทก์ที่ ระบุ ไว้ ใน โฉนด ที่ดิน พฤติการณ์ ของ จำเลย ใน การ ดำเนินคดี ที่ศาลแพ่ง และ การ จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน เป็น การ ใช้ สิทธิซึ่ง มี แต่ จะ ให้ เกิด เสียหาย แก่ บุคคลอื่น อันเป็น การ มิชอบ ด้วย กฎหมายตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 ถือว่า เป็น การ ละเมิดต่อ โจทก์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ดังนั้นการ ได้ ไป ซึ่ง ที่ดินพิพาท ของ จำเลย เป็น การ ได้ ไป โดย กระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ซึ่ง เป็น การกระทำ ที่ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังกล่าว โจทก์ จึง ขอให้เพิกถอน การ จดทะเบียน โอน ที่ดินพิพาท ได้
พิพากษากลับ ให้ บังคับคดี ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น

Share