คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 838/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

สัญญาขายฝากที่พิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตกเป็นโมฆะจำเลยจะอ้างสิทธิการได้มาโดยการครอบครองโดยนิติกรรมการขายฝากไม่ได้เพราะการขายฝากนั้นไม่ถือว่าผู้ขายฝากสละเจตนาครอบครองโดยเด็ดขาดให้แก่ผู้ซื้อฝากการที่จำเลยครอบครองที่พิพาทก็โดยอาศัยอำนาจของโจทก์จึงไม่ได้สิทธิครอบครองที่พิพาทถือไม่ได้ว่าโจทก์สละสิทธิครอบครองที่พิพาทให้จำเลยแล้วส่วนข้อตกลงที่ว่าโจทก์จะนำเงินมาไถ่ที่พิพาทคืนภายใน15วันนับแต่วันทำสัญญาหรือภายในเดือนกุมภาพันธ์2530นอกจากตกลงกันได้เป็นอย่างอื่นเมื่อไม่ได้ตกลงว่าหากโจทก์ไม่นำเงินไปชำระหนี้ภายในกำหนดให้ถือว่าโจทก์สละสิทธิครอบครองที่พิพาทให้จำเลยหรือให้ที่พิพาทตกเป็นของจำเลยแม้โจทก์ไม่ได้นำเงินไปไถ่ที่พิพาทคืนตามกำหนดก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์สละสิทธิครอบครองที่พิพาทให้จำเลยแล้วทั้งถือไม่ได้ว่าจำเลยได้บอกกล่าวเปลี่ยนแปลงการยึดถือที่พิพาทเพื่อตนเองให้โจทก์ทราบแล้วโจทก์จึงไม่ได้ถูกจำเลยแย่งการครอบครองที่จะต้องฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375วรรคสอง

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ พิพากษา ว่า โจทก์ มีสิทธิ ครอบครอง ใน ที่ดินพิพาทและ บังคับ จำเลย กับ บริวาร ออก ไป จาก ที่ดิน พร้อม ทั้ง รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ออก ไป และ ทำให้ ที่ดิน อยู่ ใน สภาพ เดิม หาก จำเลย ไม่ จัดการให้ โจทก์ เป็น ฝ่าย จัดการ โดย จำเลย เป็น ผู้ ออก ค่าใช้จ่าย และ ให้ จำเลยรับ เงิน จำนวน 40,000 บาท ที่ โจทก์ นำ มา วางศาล ไป
จำเลย ให้การ ว่า ที่ดิน ตาม ฟ้อง เป็น ของ จำเลย โดย ซื้อ มาจากโจทก์ เมื่อ ประมาณ เดือน มกราคม 2528 ใน ราคา 35,000 บาท แต่ ไม่ได้จดทะเบียน การ ซื้อ ขาย ต่อ เจ้าพนักงาน ต่อมา เดือน มีนาคม 2529 โจทก์ขอ ซื้อ คืน ใน ราคา 40,000 บาท โดย จะ ชำระ เงิน ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ 11 มีนาคม 2529 หรือ ภายใน เดือน กุมภาพันธ์ 2530 หาก โจทก์ผิดนัด โจทก์ จะ ไม่ เข้า ไป ยุ่ง เกี่ยวกับ ที่ดิน ของ จำเลย อีก แต่ โจทก์ผิดนัด โจทก์ ไม่ได้ นำ เงิน ที่ จะ ชำระ ไป วาง ที่ สำนักงาน วางทรัพย์จังหวัด สระบุรี ก่อน ฟ้อง โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง โจทก์ ฟ้อง เรียกคืนการ ครอบครอง เกิน 1 ปี นับแต่ ถูก จำเลย แย่ง การ ครอบครอง ตั้งแต่เดือน มีนาคม 2530
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ว่า โจทก์ มีสิทธิ ครอบครอง ใน ที่พิพาทให้ จำเลย รับ เงิน ที่ โจทก์ วางศาล ไป ให้ จำเลย และ บริวาร ออก ไป จากที่ดินพิพาท กับ ให้ รื้อถอน สิ่งปลูกสร้าง ออกจาก ที่พิพาท และ ทำให้ที่ดินพิพาท อยู่ ใน สภาพ เดิม ส่วน ที่ โจทก์ มี คำขอ ว่า หาก จำเลย ไม่ จัดการให้ โจทก์ เป็น ผู้จัดการ โดย ให้ จำเลย เป็น ผู้ ออก ค่าใช้จ่าย นั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ ได้ บัญญัติ วิธีการไว้ แล้ว จึง ให้ยก คำขอ ดังกล่าว
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ปัญหา ข้อ แรก โจทก์ สละ สิทธิ ครอบครองที่พิพาท หรือไม่ เห็นว่า ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า สัญญาขายฝาก ที่พิพาทระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ตาม เอกสาร หมาย จ. 5 ไม่ได้ จดทะเบียน ต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ สัญญาขายฝาก ดังกล่าว จึง เป็น โมฆะ ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 491 ประกอบ มาตรา 456 เมื่อ สัญญาขายฝาก นี้เป็น โมฆะ แล้ว จำเลย ย่อม จะ อ้าง สิทธิ การ ได้ มา โดย การ ครอบครอง โดยนิติกรรม การ ขายฝาก นั้น ไม่ได้ เพราะ การ ขายฝาก มิใช่ ว่า ผู้ขายฝากสละ เจตนา ครอบครอง โดย เด็ดขาด ให้ แก่ ผู้ซื้อ ฝาก แต่ ผู้ขายฝาก มอบ ที่ดินโดย มี เงื่อนไข ว่า วัน หลัง จะ เอาคืน ฉะนั้น การ ที่ จำเลย ครอบครองที่พิพาท ก็ โดย อาศัย อำนาจ ของ โจทก์ เพื่อ ทำกิน ต่าง ดอกเบี้ย จำเลย จึงไม่ได้ สิทธิ ครอบครอง ที่พิพาท แม้ โจทก์ จะ มอบ การ ครอบครอง ที่พิพาทให้ จำเลย โดย ไม่ได้ เข้า ไป เกี่ยวข้อง กับ ที่พิพาท และ ยัง ไม่ได้ ไถ่ที่พิพาท คืน มา สิทธิ การ ครอบครอง ที่พิพาท ก็ ยัง คง เป็น ของ โจทก์ อยู่ยัง ถือไม่ได้ว่า โจทก์ สละ สิทธิ ครอบครอง ที่พิพาท ให้ จำเลย ดัง ที่จำเลย ฎีกา ส่วน ที่ จำเลย ฎีกา ว่า แม้ โจทก์ และ จำเลย ไม่ทำ สัญญา กัน ที่ที่ว่าการ อำเภอ มวกเหล็ก ว่า โจทก์ จะ ไถ่ ที่พิพาท จาก จำเลย ตาม เอกสาร หมาย จ. 7 แต่ โจทก์ ก็ ไม่ได้ ไถ่ ที่พิพาท คืน ตาม กำหนด แสดง ว่าโจทก์ เจตนา สละ สิทธิ การ ครอบครอง ที่พิพาท แล้ว ใน เรื่อง นี้ ข้อเท็จจริงตาม คำเบิกความ ของ ตัว โจทก์ นาย จรัล เซ็นเจริญ ปลัดอำเภอ เมือง สระบุรี พยานโจทก์ และ คำเบิกความ ของ ตัว จำเลย ฟังได้ ว่าโจทก์ เคย ไป ขอ ไถ่ ที่พิพาท แต่ จำเลย บ่ายเบี่ยง ไม่ยอม ให้ ไถ่ โดย อ้างว่าขอ ทำกิน ไป ก่อน โจทก์ จึง ไป ปรึกษา กับ เจ้าหน้าที่ อำเภอ มวกเหล็ก เจ้าหน้าที่ ได้ ออกหมาย เรียก จำเลย ไป พบ นาย จรัล ซึ่ง เป็น ปลัดอำเภอ มวกเหล็ก ใน ขณะ นั้น ได้ ไกล่เกลี่ย ให้ โจทก์ และ จำเลย ตกลง กัน ได้ ตาม บันทึก ลงวันที่ 11 มีนาคม 2529 เอกสาร หมาย จ. 7 ซึ่ง โจทก์ และ จำเลยได้ ร่วมกัน ลงชื่อ ไว้ ด้วย ตาม ข้อความ ใน เอกสาร นั้น โจทก์ กับ จำเลยได้ ตกลง กัน มี ใจความ ว่า โจทก์ จะ นำ เงิน จำนวน 40,000 บาท มา ไถ่ ที่พิพาทคืน ภายใน 15 วัน นับแต่ วัน ทำ สัญญา หรือ ภายใน เดือน กุมภาพันธ์ 2530นอกจาก ตกลง กัน ได้ เป็น อย่างอื่น เห็นว่า ตาม ข้อตกลง ดังกล่าวเพียงแต่ กำหนด เวลา ให้ โจทก์ นำ เงิน ไป ชำระหนี้ แล้ว รับ ที่พิพาท คืน ไปจาก จำเลย ได้ โจทก์ และ จำเลย ไม่ได้ ตกลง ว่า หาก โจทก์ ไม่นำ เงิน ไป ชำระหนี้จำเลย ภายใน เวลา ที่ กำหนด ให้ ถือว่า โจทก์ สละ สิทธิ ครอบครอง ที่พิพาทให้ จำเลย หรือ ให้ ที่พิพาท ตกเป็น ของ จำเลย ดังนั้น แม้ หาก จะ ฟังข้อเท็จจริง ตาม ที่ จำเลย อ้าง ใน ฎีกา ว่า โจทก์ ไม่ได้ นำ เงิน ไป ไถ่ ที่พิพาทคืน ตาม ที่ กำหนด ใน เอกสาร หมาย จ. 7 ก็ ตาม ย่อม ถือไม่ได้ว่า โจทก์เจตนา สละ สิทธิ ครอบครอง ที่พิพาท ให้ จำเลย แล้ว ต้อง ถือว่า จำเลย ยัง คงครอบครอง ที่พิพาท แทน โจทก์ ที่พิพาท จึง เป็น ของ โจทก์ อยู่ เช่น เดิมกรณี จึง ไม่จำเป็น ต้อง วินิจฉัย ข้อเท็จจริง ซึ่ง โจทก์ และ จำเลยยัง โต้แย้ง กัน ต่อไป ว่า โจทก์ ไป ไถ่ ที่พิพาท จาก จำเลย ภายใน เวลา ที่ กำหนดไว้ หรือไม่ อีก เพราะ ไม่ทำ ให้ ผล ของ คดี เปลี่ยนแปลง เป็น อย่างอื่น
ปัญหา ข้อ หลัง จำเลย บอกกล่าว เปลี่ยนแปลง การ ยึดถือ ที่พิพาทเพื่อ ตนเอง ให้ โจทก์ ทราบ เป็นเหตุ ให้ ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ หรือไม่ข้อ นี้ จำเลย ฎีกา มี ใจความ ว่า การ ที่ จำเลย ทำ สัญญา เอกสาร หมาย จ. 7กับ โจทก์ แสดง ว่า จำเลย มี เจตนา บอกกล่าว เปลี่ยนแปลง การ ยึดถือ ที่พิพาทเป็น ของ จำเลย ให้ โจทก์ ทราบ ตั้งแต่ วัน ทำ สัญญา ดังกล่าว แล้ว โจทก์ ฟ้องคดี เกินกว่า 1 ปี นับแต่ วันที่ ถูก จำเลย แย่ง การ ครอบครอง ที่พิพาทฟ้องโจทก์ จึง ขาดอายุความ นั้น เห็นว่า เมื่อ วินิจฉัย ว่า จำเลยครอบครอง ที่ดินพิพาท แทน โจทก์ แล้ว และ จำเลย ตกลง ให้ โจทก์ ไถ่ ที่พิพาทคืน ได้ ตาม เอกสาร หมาย จ. 7 แสดง ว่า จำเลย จะ ครอบครอง ที่พิพาทแทน โจทก์ ต่อไป กรณี จึง ยัง ถือไม่ได้ว่า จำเลย ได้ บอกกล่าว เปลี่ยนแปลงการ ยึดถือ ที่พิพาท เพื่อ ตนเอง ให้ โจทก์ ทราบ แล้ว ต้อง ถือว่า จำเลยยัง ครอบครอง ที่พิพาท แทน โจทก์ อยู่ โจทก์ จึง ไม่ได้ ถูก จำเลย แย่ง การครอบครอง ระยะเวลา ที่ ต้อง ฟ้อง ผู้ แย่ง การ ครอบครอง ภายใน 1 ปีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง ยัง ไม่ เริ่ม นับโจทก์ จึง มีสิทธิ ฟ้อง เรียก ที่พิพาท คืน จาก จำเลย ได้ ศาลฎีกา เห็นพ้องกับ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ฎีกา ของ จำเลย ทั้งหมด ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share