คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2539

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยมีทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์แทนเมื่อใบแต่งทนายความไม่ได้ระบุให้ทนายความมีอำนาจอุทธรณ์จึงเป็นกรณีที่ทนายความลงชื่อในอุทธรณ์โดยไม่มีอำนาจอุทธรณ์ของโจทก์เป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายการยื่นอุทธรณ์ของทนายความมิใช่กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบที่ศาลแรงงานจะมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วนหรือสั่งแก้ไขหรือมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา27แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31แต่เป็นกรณีที่ศาลแรงงานผู้ตรวจรับอุทธรณ์มีอำนาจที่จะสั่งให้โจทก์ทั้งสองแก้ไขอำนาจของทนายความผู้ยื่นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา18ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31หรือมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย รับ โจทก์ทั้ง สอง กลับ เข้า ทำงาน ศาลแรงงานกลาง พิพากษายก ฟ้อง โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์ ศาลแรงงานกลาง มี คำสั่ง ว่า โจทก์ ทั้ง สองยื่น อุทธรณ์ ภายใน กำหนด ที่ ศาล อนุญาต ปรากฎ ว่า ใบแต่งทนายความของ โจทก์ ทั้ง สอง ไม่ได้ ระบุ ให้ ทนายความ มีอำนาจ อุทธรณ์ ทนายความลงชื่อ ใน ฟ้องอุทธรณ์ โดย ไม่มี อำนาจ จึง ไม่รับ อุทธรณ์ โจทก์ ทั้ง สอง ต่อมา โจทก์ ทั้ง สอง ยื่น คำร้อง ว่า อุทธรณ์ ของ โจทก์ ทั้ง สองมิได้ ปฏิบัติ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62เกี่ยวกับ อำนาจ ของ ทนายความ เป็น กรณี ที่ มิได้ ปฏิบัติ ตาม กฎหมายใน เรื่อง การ เขียน และ การ ยื่น คำคู่ความ ซึ่ง เป็น ความผิด พลาด ของทนายความ โจทก์ ทั้ง สอง จึง ขอแก้ไข โดย ยื่น ใบ มอบฉันทะ ของ โจทก์ ทั้ง สองมอบอำนาจ ให้ ทนายความ เป็น ผู้อุทธรณ์ ขอให้ ศาลแรงงานกลาง เปลี่ยนแปลงคำสั่ง ที่ ไม่รับ อุทธรณ์ เป็น ว่า ให้ รับ อุทธรณ์ ของ โจทก์ ทั้ง สองศาลแรงงานกลาง มี คำสั่ง ว่า พ้น ระยะเวลา ที่ ขยาย แล้ว จึง ไม่รับ โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์ คำสั่ง ต่อ ศาลฎีกา ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า การ ที่ โจทก์ ทั้ง สอง ยื่นอุทธรณ์ เมื่อ วันที่ 24 มีนาคม 2537 โดย นาย สมนึก นิลผาย ทนายความ ของ โจทก์ ทั้ง สอง ลงชื่อ เป็น ผู้อุทธรณ์ แทน โจทก์ ทั้ง สอง เมื่อ ใบ แต่งทนายความ ของ โจทก์ ทั้ง สอง ไม่ได้ ระบุ ให้ ทนายความ มีอำนาจ อุทธรณ์จึง เป็น กรณี ที่ ทนายความ ลงชื่อ ใบ อุทธรณ์ โดย ไม่มี อำนาจ อุทธรณ์ของ โจทก์ ทั้ง สอง เป็น ฟ้องอุทธรณ์ ที่ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การ ยื่น อุทธรณ์ของ นาย สมนึก นิลผาย ทนายความ มิใช่ กระบวนพิจารณา ที่ ผิดระเบียบ ที่ ศาล จะ มีอำนาจ สั่ง ให้ เพิกถอน ทั้งหมด หรือ บางส่วน หรือ สั่ง แก้ไขหรือ มี คำสั่ง อย่างใด อย่างหนึ่ง ตาม ที่ เห็นสมควร ดัง ที่ บัญญัติ ไว้ใน มาตรา 27 แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบ ด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้ง ศาลแรงงาน และ วิธีพิจารณา คดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 แต่ เป็น กรณี ที่ ศาลแรงงานกลาง ผู้ตรวจ รับ อุทธรณ์ มีอำนาจที่ จะ สั่ง ให้ โจทก์ ทั้ง สอง แก้ไข อำนาจ ของ ทนายความ ผู้ยื่น อุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ประกอบ ด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้ง ศาลแรงงาน และ วิธีพิจารณา คดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 หรือ มี คำสั่ง ไม่รับ อุทธรณ์ อย่างใด อย่างหนึ่งซึ่ง ศาลแรงงานกลาง ก็ ได้ มี คำสั่ง ไม่รับ อุทธรณ์ ของ โจทก์ ทั้ง สองเมื่อ การ ยื่น อุทธรณ์ ของ โจทก์ ทั้ง สอง โดย นาย สมนึก นิลผาย ทนายความ เป็น ผู้ยื่น แทน ดังกล่าว มิใช่ กระบวนพิจารณา ที่ ผิดระเบียบ จึง ไม่มีกรณี ที่ ศาลแรงงาน จะ ต้อง สั่ง ให้ เพิกถอน หรือ แก้ไข กระบวนพิจารณา ใด ๆอีก ที่ ศาลแรงงานกลาง มี คำสั่ง ไม่รับ คำร้อง ซึ่ง มีผล เป็น การ ไม่อนุญาตตาม คำร้องขอ ให้ แก้ไข กระบวนพิจารณา ที่ ผิดระเบียบ ของ โจทก์ ทั้ง สอง นั้นศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ใน ผล พิพากษายืน

Share