แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
พระราชบัญญัติญญัติภาษีป้ายพ.ศ.2510มาตรา8บัญญัติว่า”เจ้าของป้ายไม่ต้องเสียภาษีป้ายสำหรับป้ายดังต่อไปนี้(5)ป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐานแต่ไม่รวมถึงป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์”จากบทบัญญัติดังกล่าวหมายความว่าป้ายที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้ายจะต้องเป็นป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบการค้าหรือเป็นป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือเป็นป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐานเว้นแต่จะเป็นป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์จะไม่ได้รับยกเว้นเพราะข้อความตอนท้ายของมาตรา8(5)ไม่รวมถึงป้ายดังกล่าวดังนั้นหากไม่ใช่ป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐานแล้วแม้จะเป็นป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์หรือไม่ก็ตามก็ไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียภาษีป้ายมาตรา8(5)นอกจากนี้ตามมาตรา8(5)ดังกล่าวมุ่งประสงค์ยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้ายเฉพาะป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือภายในอาคารอันเป็นที่รโหฐานเท่านั้นกล่าวคือต้องเป็นป้ายที่ไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอกของสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือจากภายนอกอาคาร
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ เพิกถอน การ ประเมิน เรียกเก็บ ภาษีป้าย ของจำเลย ที่ 1 ตาม แบบ แจ้ง การ ประเมิน ภาษีป้าย (ภ.ป.3 ) เขต บางซื่อ ที่ 001/2533 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2533, เขต บางซื่อ ที่ กท. 9046/4/2534 ลงวันที่ 5 เมษายน 2534, เขต จตุจักร ที่ 11/2533 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2533 และ เขต จตุจักร ที่ 3/2534ลงวันที่ 11 มีนาคม 2534 และ ให้ เพิกถอน คำชี้ขาด ของ จำเลย ที่ 2ตาม แบบ แจ้ง คำวินิจฉัย อุทธรณ์ (ภ.ป.5) ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2536รวม จำนวน 4 ฉบับ และ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน คืนเงิน ภาษีป้ายที่ ได้ เรียกเก็บ ไป โดยมิชอบ จำนวน 304,200 บาท
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ ป้าย ทุก รายการ ตาม ฟ้องและ มี หน้าที่ ต้อง เสีย ภาษีป้าย ทุก รายการ ตาม พระราชบัญญัติ ภาษีป้ายพ.ศ. 2510 โดย ไม่ได้ รับ การ ยกเว้น ดังนั้น โจทก์ จึง ต้อง เสีย ภาษีป้าย ทุก รายการ การ ประเมิน เรียกเก็บ ภาษีป้าย ของ พนักงาน เจ้าหน้าที่ของ จำเลย ที่ 1 ประจำ พ.ศ. 2533 และ พ.ศ. 2534 และ การ พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด อุทธรณ์ ของ จำเลย ที่ 2 จึง เป็น การ ถูกต้อง ชอบ ด้วยข้อเท็จจริง และ ข้อกฎหมาย แล้ว ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลภาษีอากรกลาง พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ เพิกถอน การ ประเมินเรียกเก็บ ภาษีป้าย ของ จำเลย ที่ 1 ตาม แบบ แจ้ง การ ประเมิน ภาษีป้าย(ภ.ป.3 ) เขต บางซื่อ ที่ 001/2533 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2533,เขต บางซื่อ ที่ กท. 9046/4/2534 ลงวันที่ 5 เมษายน 2534,เขต จตุจักร ที่ 11/2533 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2533 และ เขต จตุจักร ที่ 3/2534 ลงวันที่ 11 มีนาคม 2534 และ ให้ เพิกถอน คำวินิจฉัยอุทธรณ์ ของ จำเลย ที่ 2 ตาม แบบ แจ้ง คำวินิจฉัย อุทธรณ์ (ภ.ป.5)ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2536 รวม 4 ฉบับ และ ให้ จำเลย ที่ 1 คืนเงินภาษีป้าย จำนวน 304,200 บาท
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีภาษีอากร วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ใน เบื้องต้นฟังได้ ตาม ที่ คู่ความ ไม่ โต้เถียง กัน ใน ชั้นอุทธรณ์ ว่า ป้าย พิพาท ของโจทก์ เป็น ป้าย ตาม พระราชบัญญัติ ภาษีป้าย พ.ศ. 2510 พนักงานเจ้าหน้าที่ ของ จำเลย ที่ 1 ได้ แจ้ง การ ประเมิน ให้ โจทก์ ชำระ ภาษีป้ายใน เขต บางซื่อ และ เขต จตุจักร ประจำ พ.ศ. 2533 รวมเป็น เงิน 211,470 บาท และ ประจำ พ.ศ. 2534 เป็น เงิน 203,210 บาท โจทก์ได้ ชำระ ค่าภาษี ป้าย ตาม ที่ แจ้ง การ ประเมิน ไว้ แล้ว แต่ โจทก์ ไม่เห็น ด้วยกับ การ ประเมิน ภาษีป้าย สำหรับ ป้าย ที่อยู่ ใน เขต บางซื่อ จำนวน 10 รายการ และ ป้าย ที่อยู่ ใน เขต จุตจักร จำนวน 4 รายการ จึง ได้ ยื่น อุทธรณ์ การ ประเมิน ต่อ จำเลย ที่ 2 ขอให้พิจารณา การ ประเมินภาษีป้าย ดังกล่าว เสีย ใหม่ โดย ขอ ยกเว้น และ ขอให้ คืน ภาษีป้าย ประจำพ.ศ. 2533 เป็น เงิน 203,210 บาท และ พ.ศ. 2534 เป็น เงิน203,210 บาท ต่อมา จำเลย ที่ 2 มี คำวินิจฉัย ว่า ป้าย ที่ ติด ตั้งอยู่ ใน เขต บางซื่อ ประจำ พ.ศ. 2533 และ พ.ศ. 2534 ได้รับ ยกเว้น ภาษีป้าย และ เพิกถอน การ ประเมิน จำนวน 6 รายการ และ ยืน ตามการ ประเมิน จำนวน 4 รายการ ส่วน ป้าย ที่ ติด ตั้ง อยู่ ใน เขต จตุจักร ประจำ พ.ศ. 2533 และ พ.ศ. 2534 ยืน ตาม การ ประเมิน มี ปัญหาที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ตาม อุทธรณ์ ของ จำเลย ทั้ง สอง ว่า ป้าย พิพาท ได้รับยกเว้น ไม่ต้อง เสีย ภาษีป้าย ตาม พระราชบัญญัติ ภาษีป้าย พ.ศ. 2510มาตรา 8(5) หรือไม่ เห็นว่า พระราชบัญญัติ ภาษีป้าย พ.ศ. 2510มาตรา 8 บัญญัติ ว่า “เจ้าของ ป้าย ไม่ต้อง เสีย ภาษีป้าย สำหรับป้าย ดัง ต่อไป นี้ (5) ป้าย ที่ แสดง ไว้ ภายใน สถานที่ ประกอบการค้าหรือ ประกอบ กิจการ อื่น เพื่อ หา รายได้ หรือ ภายใน อาคาร ซึ่ง เป็น ที่รโหฐาน แต่ ไม่รวม ถึง ป้าย ตาม กฎหมาย ว่าด้วย ทะเบียน พาณิชย์ “จาก บทบัญญัติ ดังกล่าว หมายความ ว่า ป้าย ที่ ได้รับ ยกเว้น ไม่ต้องเสีย ภาษีป้าย จะ ต้อง เป็น ป้าย ที่ แสดง ไว้ ภายใน สถานที่ ประกอบการค้าหรือ เป็น ป้าย ที่ แสดง ไว้ ภายใน สถานที่ ประกอบ กิจการ อื่น เพื่อหา รายได้ หรือ เป็น ป้าย ที่ แสดง ไว้ ภายใน อาคาร ซึ่ง เป็น ที่รโหฐานเว้นแต่ จะ เป็น ป้าย ตาม กฎหมาย ว่าด้วย ทะเบียน พาณิชย์ จะ ไม่ได้ รับยกเว้น เพราะ ข้อความ ตอนท้าย ของ มาตรา 8(5) ไม่รวม ถึง ป้าย ดังกล่าวดังนั้น หาก ไม่ใช่ ป้าย ที่ แสดง ไว้ ภายใน สถานที่ ประกอบการค้า หรือประกอบ กิจการ อื่น เพื่อ หา รายได้ หรือ ภายใน อาคาร ซึ่ง เป็น ที่รโหฐานแล้ว แม้ จะ เป็น ป้าย ตาม กฎหมาย ว่าด้วย ทะเบียน พาณิชย์ หรือไม่ ก็ ตามก็ ไม่ เข้า ข้อยกเว้น ที่ จะ ไม่ต้อง เสีย ภาษีป้าย มาตรา 8(5) ดังกล่าวสำหรับ ป้าย พิพาท ตาม แบบแสดงรายการ ภาษีป้าย ประจำ พ.ศ. 2533 และประจำ พ.ศ. 2534 ของ โจทก์ ที่ ยื่น ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ของ จำเลยที่ 1 สำนักงาน เขต บางซื่อ ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 แผ่น ที่ 4-5รายการ ที่ (1), (3), (4) และ (5) รวม 7 ป้าย จาก การ เผชิญสืบป้าย พิพาท ตาม รายงาน กระบวนพิจารณา ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2537และ ภาพถ่าย ป้าย พิพาท เอกสาร หมาย จ. 1 แผ่น ที่ 33/1, 34, 35 และ 36ปรากฏว่า ป้าย พิพาท บาง ป้าย ติด ตั้ง ไว้ ข้าง ไซโล บรรจุปูนซิเมนต์ ผงบาง ป้าย ติด ตั้ง ไว้ ที่ ผนัง ไซโลบรรจุปูนซิเมนต์ ผง และ บาง ป้าย ติด ตั้งไว้ หน้า อาคาร ทุก ป้าย อยู่ นอก อาคาร โดย โซโล หรือ อาคาร ดังกล่าวอยู่ ใน อาณาบริเวณ สำนักงาน ใหญ่ ของ โจทก์ ซึ่ง มี รั้ว ล้อมรอบป้าย ทุก ป้าย ดังกล่าว คู่ความ รับ กัน ว่า เป็น ป้าย อยู่ นอก อาคาร แต่ อยู่ภายใน รั้ว ของ โจทก์ ซึ่ง ทุก ป้าย มองเห็น จาก ถนน สาธารณะ หรือ ทาง รถไฟด้าน ที่ ป้าย หัน หน้า ออก ส่วน ป้าย พิพาท ตาม แบบแสดงรายการ ภาษีป้ายประจำ พ.ศ. 2533 และ ประจำ พ.ศ. 2534 ของ โจทก์ ที่ ยื่น ต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ ของ จำเลย ที่ 1 สำนักงาน เขต จตุจักร ตาม เอกสาร หมาย ล. 2 แผ่น ที่ 1 รายการ ที่ (1), (2), (3) และ (4) รวม 5 ป้ายจาก การ เผชิญสืบ ดังกล่าว และ ภาพถ่าย ป้าย พิพาท เอกสาร หมาย จ. 1แผ่น ที่ 37, 38 และ 39 ปรากฏว่า ป้าย พิพาท บาง ป้าย ติด ตั้ง ไว้บน หลังคา ไซโลบรรจุปูนซิเมนต์ ผง บาง ป้าย ติด ตั้ง บน หลังคา กับข้าง อาคาร สำนักงาน ขาย คลังสินค้า และ บาง ป้าย ติด ตั้ง บน หลังคาสำนักงาน ศูนย์ จ่าย ซิเมนต์ พหลโยธิน ซึ่ง ทุก ป้าย แสดง หรือ ติด ตั้ง อยู่ ภายนอก อาคาร ป้าย พิพาท รายการ ที่ (1) และ (2) มองเห็น ภายนอกรั้ว ของ การรถไฟแห่งประเทศไทย ป้าย พิพาท รายการ ที่ (3) มองเห็นได้ จาก ภายใน รั้ว ของ การรถไฟแห่งประเทศไทย ป้าย พิพาท รายการ (4)มองเห็น ได้ จาก ถนน กำแพงเพชร 1 ซึ่ง อยู่ นอก รั้ว ของ การรถไฟ แห่งประเทศ ไทย สภาพ บริเวณ ของ เลขที่ 204/1 มี อาคาร สำนักงาน ขายและ คลังสินค้า ของ โจทก์ สำหรับ ให้ ลูกค้า ของ โจทก์ มา ติดต่อ ซื้อ สินค้าและ รับ สินค้า ไป โดย มี รั้ว ของ การรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้ ให้ โจทก์เช่า ที่ดิน ล้อมรอบ นอกจาก นี้ มี อาคาร ของ บริษัท อื่น ที่ เช่า ที่ดินจาก การรถไฟแห่งประเทศไทย รวม อยู่ ใน รั้ว เดียว กัน ด้วย ส่วน สภาพบริเวณ ของ ศูนย์ จ่าย ซิเมนต์ พหลโยธิน เลขที่ 204 มี อาคาร จ่าย อยู่ ด้านหน้า ด้านหลัง ถัด ไป เป็น อาคาร และ ไซโลเก็บ ปูนซิเมนต์ ผงของ โจทก์ คู่ความ รับ กัน ว่า สภาพ เดิม ใน ปี 2533 และ 2534 มี รั้วของ การรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้ ให้ โจทก์ เช่า ที่ดิน ล้อมรอบ โจทก์ใช้ เป็น สถานที่ ให้ ลูกค้า ที่ ได้ ซื้อ ปูนซิเมนต์ จาก โจทก์ มา รับปูนซิเมนต์ ไป พิจารณา แล้ว เห็นว่า ป้าย พิพาท สามารถ มองเห็น ได้ จากภายนอก สถานที่ ประกอบการค้า หรือ สถานที่ ประกอบ กิจการ อื่น เพื่อหา รายได้ และ เป็น ป้าย ที่ แสดง ไว้ ภายนอก อาคาร ป้าย ดังกล่าว แม้ จะติด ตั้ง ไว้ ภายใน รั้ว ของ โจทก์ บน หลังคา อาคาร ผนัง ภายนอก อาคาร หรือบริเวณ ของ สถานที่ ประกอบการค้า หรือ สถานที่ ประกอบ กิจการ อื่นเพื่อ หา รายได้ ก็ หา เป็น ป้าย ที่ ได้รับ ยกเว้น ไม่ต้อง เสีย ภาษีป้ายตาม มาตรา 8(5) แห่ง พระราชบัญญัติ ภาษีป้าย พ.ศ. 2510 เพราะบท มาตรา ดังกล่าว มุ่ง ประสงค์ ยกเว้น ไม่ต้อง เสีย ภาษีป้าย เฉพาะป้าย ที่ แสดง ไว้ ภายใน สถานที่ ประกอบการค้า หรือ ประกอบ กิจการ อื่นเพื่อ หา รายได้ หรือ ภายใน อาคาร อันเป็น ที่รโหฐาน เท่านั้น กล่าว คือต้อง เป็น ป้าย ที่ ไม่สามารถ มองเห็น ได้ จาก ภายนอก ของ สถานที่ ประกอบการค้า หรือ ประกอบ กิจการ อื่น เพื่อ หา รายได้ หรือ จาก ภายนอก อาคารที่ ศาลภาษีอากรกลาง วินิจฉัย ว่า ป้าย พิพาท เป็น ป้าย ที่ แสดง ไว้ภายใน อาณาบริเวณ พื้นที่ ต่อเนื่อง กับ ตัว อาคาร ซึ่ง ใช้ เป็น สถานที่ประกอบการค้า จึง เป็น ป้าย ที่ แสดง ไว้ ภายใน สถานที่ ประกอบการค้า นั้นไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา อุทธรณ์ ข้อ นี้ ของ จำเลย ทั้ง สอง ฟังขึ้นส่วน ปัญหา ที่ จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์ คัดค้าน คำพิพากษา ของ ศาลภาษีอากร กลาง ที่ วินิจฉัย ว่า ป้าย พิพาท ไม่เป็น ป้าย ตาม พระราชบัญญัติทะเบียน พาณิชย์ พ.ศ. 2499 มาตรา 15 นั้น เห็นว่า เมื่อ วินิจฉัยแล้ว ว่า ป้าย พิพาท ไม่ใช่ ป้าย ที่ แสดง ไว้ ภายใน สถานที่ ประกอบการค้าหรือ ประกอบ กิจการ อื่น เพื่อ หา รายได้ หรือ ภายใน อาคาร ซึ่ง เป็นที่รโหฐาน แล้ว จึง ไม่จำต้อง วินิจฉัย ว่า ป้าย พิพาท เป็น ป้าย ตามกฎหมาย ว่าด้วย ทะเบียน พาณิชย์ อีก เพราะ ไม่ทำ ให้ ผล คดี เปลี่ยนแปลง ”
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์