คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

แม้ พ. จะเบิกความเป็นพยานโจทก์ว่าได้ซื้อยางจากจำเลยอันมีลักษณะตรงกับรหัสพิเศษของยางที่ถูกคนร้ายลักไปแต่ พ.ก็มีฐานะเป็นผู้ต้องหาเช่นเดียวกับจำเลยในตอนแรกแต่ต่อมาภายหลังได้มีคำสั่งไม่ฟ้องจึงเป็นพิรุธชวนสงสัยเพราะมีลักษณะเป็นการซัดทอดความผิดให้จำเลยอีกทั้งพยานเอกสารที่โจทก์นำสืบมิได้เชื่อมโยงให้กระชับจึงไม่อาจยันจำเลยได้ว่าจำเลยได้ขายยางที่ถูกคนร้ายลักไปให้แก่ พ. พยานหลักฐานโจทก์เหลือเพียงคำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนซึ่งเมื่อขัดแย้งกับบันทึกสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาที่เจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้ทำขึ้นโดยมีข้อความระบุชัดแจ้งว่าจำเลยได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อหาจึงเป็นข้อพิรุธว่าจำเลยอาจมิได้รับสารภาพจริงดังที่จำเลยต่อสู้พยานหลักฐานโจทก์จึงมีข้อสงสัยตามสมควรว่าจำเลยอาจมิได้กระทำผิด

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(7),357, 83 คืน ของกลาง แก่ เจ้าของ และ ให้ จำเลย คืน หรือ ใช้ ราคา ทรัพย์ที่ ยัง ไม่ได้ คืน จำนวน 216,000 บาท แก่ ผู้เสียหาย
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 257 วรรคแรก จำคุก 3 ปี คำให้การ รับสารภาพ ใน ชั้นสอบสวนของ จำเลย เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา อยู่ บ้าง มีเหตุ บรรเทา โทษลดโทษ ให้ หนึ่ง ใน สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คง จำคุก 2 ปีคืน ของกลาง แก่ เจ้าของ และ ให้ จำเลย คืน หรือ ใช้ ราคา ทรัพย์ ที่ ยังไม่ได้ คืน จำนวน 216,000 บาท แก่ ผู้เสียหาย
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน ส่วน คำขอ ให้ คืน หรือ ใช้ ราคา ทรัพย์ที่ ยัง ไม่ได้ คืน ให้ยก
จำเลย ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ซึ่ง ลงชื่อ ใน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ อนุญาตให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ปัญหา ที่ จำเลย ฎีกา ว่ามิได้ กระทำผิด ฐาน รับของโจร นั้น เห็นว่า พยานหลักฐาน โจทก์ ที่ นำสืบเริ่ม จาก การ ไป ตรวจค้น บ้าน จำเลย ก็ ปรากฏว่า จำเลย ดำเนิน กิจการ ค้า ยางโดย เปิดเผย มิได้ พบ ยาง ของกลาง หรือ พิรุธ ใด ๆ จำเลย ให้ ความ ร่วมมือด้วย ดี ตั้งแต่ เมื่อ เริ่ม การ ตรวจค้น ตลอดจน นำ เอกสาร ต่าง ๆ มา ให้ตรวจสอบ และ จาก สำเนา ใบ รับ สินค้า ชั่วคราว ที่ เจ้าพนักงาน ตำรวจยึด ไว้ คือ เอกสาร หมาย จ. 7 รวม 4 ฉบับ รายการ ที่ มี เครื่องหมาย ดอก จันกำกับ ไว้ ทั้ง 4 ฉบับ มี รวม 4 รายการ ซึ่ง โจทก์ พยายาม นำสืบ ว่าเป็น รายการ ขาย ยาง ของกลาง รวม 4 รายการ นั้น เป็น รายการ ที่ มิได้มี การ ระบุ ว่า เป็น ยาง ที่ มี อักษร เอ เอ็ม อาร์ อันเป็น ลักษณะ เฉพาะ เป็น รหัสที่ เห็นชัด แจ้ง อยู่ ที่ แก้ม ยาง ที่ ถูก ลัก นั้น เลย รายการ ทั้ง 4ดังกล่าว ระบุ กว้าง ๆ เป็น ลักษณะ ของ ยาง ทั่ว ๆ ไป รวมกับ รายการ ยางชนิด อื่น ๆ อยู่ ด้วย ระบุ ตลอดจน ชื่อ ผู้รับ ซื้อ ไว้ ด้วย เป็น ลักษณะการค้า ขาย โดย เปิดเผย และ สุจริต ไม่มี ข้อ บ่งชี้ ใด ๆ ที่ จะ แสดงให้ เห็นว่า ยาง ที่ ขาย นั้น เป็น ยาง ที่ ถูก ลัก หรือ เป็น ยาง ของกลางที่ ได้ ยึด มา ภายหลัง นั้น ได้ เลย ทั้ง จำเลย ยัง เป็น ผู้ ให้ ข้อมูล แก่เจ้าพนักงาน ตำรวจ ไป ตรวจสอบ ยัง ผู้รับ ซื้อ ตาม ที่ ปรากฏ ด้วย มิได้มี พฤติการณ์ ทุจริต แต่ ประการใด ส่วน การ ยึด ยาง ของกลาง จำนวน 8 เส้นได้ จาก นาย พนมยงค์ พลเยี่ยม เจ้าของ ร้าน นวนคร นั้น ตาม บันทึก เอกสาร หมาย จ. 8 ก็ มิได้ ระบุ ตำหนิ พิเศษ ของ ยาง ของกลาง ไว้ แต่ ประการใดดังนี้ ข้อความ ใน บันทึก เอกสาร จ. 8 ที่ ระบุ ว่า นาย พนมยงค์ ได้ ยืนยัน ว่า เป็น ยาง ที่ ซื้อ จาก จำเลย นั้น จึง มี ข้อ น่า สงสัย ว่า เป็น ยาง ของกลางที่ ถูก คนร้าย ลัก ไป จริง หรือไม่ และ จะ เป็น ยาง ที่นาย พนมยงค์ ซื้อ จาก จำเลย ตาม เอกสาร หมาย จ. 7 จริง ดัง ที่ ยืนยัน หรือไม่ ด้วย เพราะนาย พนมยงค์ เอง ก็ มี อาชีพ ค้าขาย ยาง อาจ มี ปัญหา ความ สับสน หรือ ซัดทอด จำเลย ก็ เป็น ได้ แม้ ใน บัญชี ของกลาง คดีอาญา เอกสาร หมาย จ. 5ที่ ระบุ ว่า ยาง ของกลาง จำนวน 8 เส้น ที่ ผู้เสียหาย ยืนยัน ว่า เป็น ยางที่ ถูก คนร้าย ลัก เอาไป นั้น ก็ ไม่ปรากฏ ว่า นาย พนมยงค์ ได้ ลงชื่อ รับรอง ไว้ ว่า เป็น ยาง ที่ ตน ได้ มอบ ให้ แก่ เจ้าพนักงาน ตำรวจ ตาม บันทึกเอกสาร หมาย จ. 8 อีก ทั้ง จำเลย ก็ มิได้ ลงลายมือชื่อ รับรอง เอกสาร หมายจ. 5 และ จ. 8 ไว้ พยานหลักฐาน ที่ โจทก์ นำสืบ ดังกล่าว มิได้ เชื่อม โยงให้ กระชับ จึง ไม่อาจ ยัน จำเลย ได้ว่า ยาง ของกลาง เป็น ยาง ที่ จำเลย ได้ ขายให้ นาย พนมยงค์ ตาม ใบ รับ สินค้า ชั่วคราว เอกสาร หมาย จ. 7นั้น แต่ ประการใด ดังนี้ แม้ นาย พนมยงค์ จะ ได้ มา เบิกความ เป็น พยานโจทก์ ใน ชั้นพิจารณา ยืนยัน ว่า ได้ ซื้อ ยาง จาก จำเลย อัน มี ลักษณะ ตรง กับรหัสพิเศษ ของ ยาง ที่ ถูก คนร้าย ลัก ไป ก็ ตาม แต่ จาก ข้อเท็จจริง ที่ปรากฏว่า นาย พนมยงค์ มี ฐานะ เป็น ผู้ต้องหา เช่นเดียว กับ จำเลย ใน ตอนแรก แต่ ต่อมา ภายหลัง ได้ มี คำสั่ง ไม่ฟ้อง เป็น พิรุธ ชวน สงสัยใน ความ บริสุทธิ์ ของ คำ ยืนยัน ของ นาย พนมยงค์ ดังกล่าว เพราะ มี ลักษณะ เป็น การ ซัดทอด ความผิด ให้ จำเลย ไม่มี น้ำหนัก น่าเชื่อ ถือ พยานหลักฐานโจทก์ ที่ นำสืบ จึง เหลือ เพียง คำให้การ รับสารภาพ ของ จำเลย ใน ชั้น จับกุมและ ชั้นสอบสวน ซึ่ง นอกจาก จำเลย ได้ ปฏิเสธ โดย สิ้นเชิง ใน ชั้นพิจารณาแล้ว ยัง ปรากฏ ตาม เอกสาร หมาย จ. 22 ซึ่ง เป็น บันทึก สัญญาประกัน ผู้ต้องหาลงวันที่ 20 สิงหาคม 2535 และ เป็น ระยะเวลา หลังจาก ทำ บันทึก การ จับกุมและ บันทึก คำให้การ ชั้นสอบสวน ว่า จำเลย ได้ ให้การรับสารภาพ ดังกล่าวนั้น ก็ มี ข้อความ ระบุ ชัดแจ้ง ว่า จำเลย ได้ ให้การ ปฏิเสธ ตลอด ข้อหาบันทึก สัญญาประกัน ตัว ผู้ต้องหา ตาม เอกสาร หมาย จ. 22 นี้ เจ้าพนักงานตำรวจ เป็น ผู้ทำ ขึ้น เช่นกัน แต่ มี ข้อ ขัดแย้ง กับ บันทึก คำให้การชั้น จับกุม และ ชั้นสอบสวน จึง เป็น ข้อ พิรุธ ว่า จำเลย อาจ มิได้ รับสารภาพจริง ดัง ที่ จำเลย ต่อสู้ พยานหลักฐาน โจทก์ ที่ นำสืบ ทั้งหมด เมื่อประมวล แล้ว เห็นว่า ยัง มี ข้อสงสัย ตาม สมควร ว่า จำเลย อาจ มิได้ กระทำผิดตาม ที่ ฟ้อง ต้อง ยก ประโยชน์ แห่ง ความ สงสัย ให้ จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสองที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา ลงโทษ จำเลย มา นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วยฎีกา จำเลย ฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง

Share