แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
กระแสไฟฟ้าเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพเมื่อกระแสไฟฟ้าลัดวงจรเกิดขึ้นที่บ้านของจำเลยทั้งสองจำเลยทั้งสองจึงเป็นผู้มีไว้ในครอบครองของตนซึ่งกระแสไฟฟ้าดังกล่าวและต้องรับผิดชอบเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่กระแสไฟฟ้าลัดวงจรเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา437วรรคสองจำเลยทั้งสองนำสืบเพียงว่าจำเลยทั้งสองดูแลรักษาสายไฟฟ้าภายในบ้านให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยอยู่เสมอและเพิ่งเปลี่ยนสายไฟฟ้าภายในบ้านใหม่ขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้ภายในบ้านของจำเลยทั้งสองไม่ได้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าจำเลยทั้งสองไม่ได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อและไฟฟ้าลัดวงจรเกิดขึ้นได้อย่างไรไม่ทราบดังนี้ข้อนำสืบของจำเลยทั้งสองแสดงไม่ได้เลยว่าเป็นเหตุสุดวิสัยจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิด
ย่อยาว
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา คัดค้าน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ขอให้ บังคับจำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชดใช้ ค่าเสียหาย พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วัน ละเมิด คือ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2530ไป จนกว่า ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า จำเลย ทั้ง สอง มิได้ กระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ค่าเสียหาย ของ โจทก์ ทั้ง สอง มี หรือไม่ เพียงใด จำเลย ทั้ง สอง ไม่รับรองขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์
ระหว่าง พิจารณา ของ ศาลอุทธรณ์ จำเลย ที่ 1 ถึงแก่กรรม โจทก์ทั้ง สอง ยื่น คำร้องขอ ให้ ศาล หมายเรียก นางสาว ฉันทนา วาณีสุบุตร ทายาท ของ จำเลย ที่ 1 เข้า มา เป็น คู่ความ แทน จำเลย ที่ 1 ศาลอุทธรณ์ อนุญาต
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน252,818.10 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน 2530 ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟังได้ ในเบื้องต้น ว่า เมื่อ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2530 เพลิงไหม้ ชั้นบน ของ บ้านจำเลย ทั้ง สอง แล้ว เพลิง ลุกลาม ไป ไหม้ ชั้นบน ของ บ้าน โจทก์ ทั้ง สอง เสียหายคดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา จำเลย ทั้ง สอง ว่า จำเลย ทั้ง สอง จะ ต้องรับผิดชอบ เพื่อ ความเสียหาย ดังกล่าว แก่ โจทก์ ทั้ง สอง หรือไม่ คดี นี้โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้อง ว่า เพลิงไหม้ เกิดจาก กระแส ไฟฟ้า ลัดวงจร ที่ บ้าน ของจำเลย ทั้ง สอง แล้ว เพลิง ลุกลาม ไหม้ บ้าน ของ โจทก์ ทั้ง สอง เสียหาย จำเลยทั้ง สอง ให้การ ยอมรับ ข้อเท็จจริง ตาม ฟ้อง ของ โจทก์ ทั้ง สอง ดังกล่าว คงปฏิเสธ เพียง ว่า เหตุ เพลิงไหม้ เกิดจาก กระแส ไฟฟ้า ลัดวงจร นั้น เป็นเหตุสุดวิสัย เมื่อ จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ยอมรับ เช่นนั้น ข้อเท็จจริงย่อม ฟังได้ ตาม ฟ้อง ของ โจทก์ ทั้ง สอง ดังกล่าว โจทก์ ทั้ง สอง ไม่จำต้อง สืบพยานหลักฐาน เพื่อ ให้ ศาล รับฟัง ข้อเท็จจริง ดังกล่าว อีก จึง มี ประเด็นเพียง ว่า เพลิงไหม้ เกิดจาก กระแส ไฟฟ้า ลัดวงจร ที่ บ้าน ของ จำเลย ทั้ง สองและ เพลิง ลุกลาม ไป ไหม้ บ้าน ของ โจทก์ ทั้ง สอง นั้น เกิด แต่ เหตุสุดวิสัยหรือไม่ เท่านั้น ดังนั้น ที่ จำเลย ฎีกา อ้าง มา ด้วย ว่า สายไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ บ้าน ของ จำเลย ทั้ง สอง ไม่ทำ ให้ เกิด กระแส ไฟฟ้าลัดวงจร จึง เป็น เรื่อง นอกประเด็น ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ให้คง วินิจฉัย เฉพาะ ประเด็น ความเสียหาย ของ โจทก์ ทั้ง สอง นั้น เกิด แต่เหตุสุดวิสัย หรือไม่ เท่านั้น เห็นว่า กระแส ไฟฟ้า เป็น ทรัพย์ อันเป็นของ เกิด อันตราย ได้ โดยสภาพ เมื่อ กระแส ไฟฟ้า ลัดวงจร เกิดขึ้น ที่ บ้านของ จำเลย ทั้ง สอง จำเลย ทั้ง สอง จึง เป็น ผู้ มีไว้ ใน ครอบครอง ของ ตนซึ่ง กระแส ไฟฟ้า ดังกล่าว จำเลย ทั้ง สอง จะ ต้อง รับผิดชอบ เพื่อความเสียหาย อัน เกิด แต่ กระแส ไฟฟ้า ลัดวงจร นั้น เว้นแต่ จะ พิสูจน์ ได้ว่าความเสียหาย นั้น เกิด แต่ เหตุสุดวิสัย หรือ เกิด เพราะ ความผิด ของผู้ต้อง เสียหาย นั้นเอง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437วรรคสอง เมื่อ มี ประเด็น เพียง ว่า ความเสียหาย ของ โจทก์ ทั้ง สอง นั้นเกิด แต่ เหตุสุดวิสัย หรือไม่ เท่านั้น ภาระ การ พิสูจน์ ใน ประเด็น ข้อ นี้จึง ตก แก่ จำเลย ทั้ง สอง แต่ จำเลย ทั้ง สอง นำสืบ เพียง ว่า จำเลย ทั้ง สองดูแล รักษา สายไฟฟ้า ภายใน บ้าน ให้ ใช้ งาน ได้ อย่าง ปลอดภัย อยู่ เสมอและ เพิ่ง เปลี่ยน สายไฟฟ้า ภายใน บ้าน ใหม่ ขณะ เกิดเหตุ เพลิงไหม้นั้น ภายใน บ้าน ของ จำเลย ทั้ง สอง ไม่ได้ ใช้ เครื่องไฟฟ้า จำเลย ทั้ง สองไม่ได้ กระทำ โดยประมาท เลินเล่อ ให้ เกิด เพลิงไหม้ และ ไฟฟ้า ลัดวงจรเกิดขึ้น ได้ อย่างไร ก็ ไม่ทราบ เท่านั้น ข้อ นำสืบ ของ จำเลย ทั้ง สองดังกล่าว แสดง ไม่ได้ เลย ว่า กระแส ไฟฟ้า ลัดวงจร ทำให้ เกิด เพลิงไหม้ขึ้น ด้วย เหตุ อย่างไร อัน จะ บ่งชี้ ว่า เป็นเหตุ สุดวิสัย จำเลย ทั้ง สองจึง ต้อง รับผิดชอบ เพื่อ ความเสียหาย แก่ โจทก์ ทั้ง สอง ที่ ศาลอุทธรณ์ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ทั้ง สอง นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้อง ด้วย ฎีกา จำเลย ทั้ง สอง ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน