คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8086/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์ไม่ชำระเงินมัดจำให้จำเลยที่1ซึ่งตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกำหนดให้เงินมัดจำเป็นส่วนหนึ่งของการชำระเงินตามสัญญาเงินดังกล่าวจึงเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินที่โจทก์มีหน้าที่ต้องเสนอชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่1เมื่อโจทก์ไม่เสนอโจทก์ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา210จำเลยที่1มีสิทธิที่จะไม่ชำระหนี้จนกว่าโจทก์จะชำระหนี้หรือขอชำระหนี้ตอบแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา369

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 8 พฤษภาคม 2534 จำเลย ที่ 2ซึ่ง เป็น หุ้นส่วน ผู้จัดการ ของ จำเลย ที่ 1 ตกลง ขาย ที่ดิน จำนวน14 แปลง เนื้อที่ รวม 1,445 ตารางวา ให้ แก่ โจทก์ ใน ราคา 10,100,000บาท โดย โจทก์ ได้ ชำระ เงินมัดจำ จำนวน 100,000 บาท ให้ แก่ จำเลยที่ 1 ใน วัน ทำ สัญญา ส่วน ที่ เหลือ อีก 10,000,000 บาท จะ ชำระให้ จำเลย ที่ 1 ใน วัน จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ โดย จำเลย ที่ 1 ตกลงจะ จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ให้ แก่ โจทก์ ภายใน วันที่ 30 มิถุนายน 2534ต่อมา วันที่ 21 มิถุนายน 2534 โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 ตกลง จะ ไปดำเนินการ จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ กัน ใน วันที่ 28 มิถุนายน 2534จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ไม่ไป ดำเนินการ จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ที่ดิน ดังกล่าว ให้ แก่ โจทก์ ทำให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย ขอให้ บังคับจำเลย ทั้ง สอง ไป จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ดังกล่าว ทั้ง 14 แปลงให้ แก่ โจทก์ โดย ปลอด จำนอง หรือ โดย มี ภาระ จำนอง แต่ ให้ เอา ราคาที่ดิน จำนวน 10,000,000 บาท ชำระ ให้ แก่ ผู้รับจำนอง ก่อน หาก มีเงิน เหลือ ก็ ให้ จำเลย ทั้ง สอง รับ ไป หาก ไม่พอ ชำระหนี้ จำนง และ โจทก์ต้อง ออก ไป ก่อน ก็ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ชดใช้ เงิน จำนวน นี้ แก่ โจทก์หาก จำเลย ทั้ง สอง ไม่ ดำเนินการ จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ดังกล่าวให้ แก่ โจทก์ ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย ทั้ง สองและ หาก เป็น การ พ้นวิสัย ที่ จะ บังคับ ให้ จำเลย ทั้ง สอง จดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ดังกล่าว ให้ แก่ โจทก์ ได้ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกันรับผิด คืนเงิน มัดจำ 100,000 บาท และ ชดใช้ ค่าเสียหาย เป็นจำนวนเงิน 10,000,000 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ทั้ง สอง ขาดนัด ยื่นคำให้การ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกันจดทะเบียน โอน ขาย ที่ดิน ทั้ง 14 โฉนด โดย ปลอด ภาระติดพัน ใด ๆให้ แก่ โจทก์ ให้ โจทก์ ชำระ เงิน 10,100,000 บาท (สิบ ล้าน หนึ่ง แสน บาท )แก่ จำเลย ทั้ง สอง ใน วัน จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาทหาก จำเลย ทั้ง สอง ไม่ ดำเนินการ ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนาของ จำเลย ทั้ง สอง โดย ให้ โจทก์ นำ เงิน 10,100,000 บาท (สิบ ล้านหนึ่ง แสน บาท ) ชำระหนี้ จำนอง เพื่อ ปลด จำนอง ก่อน หาก หนี้ จำนองเกินกว่า เงิน จำนวน นี้ โจทก์ ต้อง ออก เงินเพิ่ม ไป เท่าใด ให้ จำเลยทั้ง สอง ร่วมกัน ชดใช้ เงิน ที่ โจทก์ ชำระ เพื่อ ปลดหนี้ ให้ แก่ โจทก์พร้อม กับ ชำระ ค่าธรรมเนียม ต่าง ๆ ใน การ ดำเนินการ ทำนิติกรรม ดังกล่าวให้ แก่ โจทก์ คำขอ อื่น ของ โจทก์ นอก นี้ ให้ยก
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า โจทก์ ยัง ไม่ได้ชำระ เงิน ค่า มัดจำ จำนวน100,000 บาท ให้ จำเลย ที่ 1 ตาม สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทเอกสาร หมาย จ. 3 ข้อ 3 กำหนด ให้ เงินมัดจำ ดังกล่าว เป็น ส่วน หนึ่งของ ราคา ที่ดินพิพาท ที่ โจทก์ มี หน้าที่ ต้อง เสนอ ที่ จะ ทำการ ชำระหนี้ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 หาก โจทก์ ไม่ เสนอ โจทก์ ซึ่ง ถือว่า เป็น เจ้าหนี้ ก็เป็น อัน ได้ ชื่อ ว่า ผิดนัด ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 210และ เนื่องจาก สัญญาจะซื้อจะขาย เป็น สัญญาต่างตอบแทน จำเลย ที่ 1ย่อม มีสิทธิ ที่ จะ ไม่ยอม ชำระหนี้ จนกว่า โจทก์ จะ ชำระหนี้ หรือ ขอ ปฎิบัติการ ชำระหนี้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 ข้อเท็จจริงไม่พอ ฟัง ว่า จำเลย ทั้ง สอง เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา และ คดี นี้ โจทก์ เสนอที่ จะ ชำระหนี้ ให้ จำเลย ไม่ครบ ถ้วน ตาม สัญญาจะซื้อจะขาย ฉะนั้นโจทก์ จะ ฟ้อง ศาล ให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง โอน ที่ดินพิพาท ให้ โจทก์และ รับ เงิน ค่าที่ดิน พิพาท จาก โจทก์ ไม่ได้ ฎีกา โจทก์ ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน

Share