คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

คำเบิกความของผู้เสียหายที่ยืนยันในเบื้องต้นว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ชิงเอาสร้อยคอของผู้เสียหายไปโดยมีสิบตำรวจเอก ป.ผู้จับจำเลยเบิกความสนับสนุนว่าชั้นจับกุมผู้เสียหายได้แจ้งความดังกล่าวให้พยานทราบอีกทั้งผู้เสียหายยังให้การดังกล่าวต่อพนักงานสอบสวนโดยมีสาระสำคัญสอดคล้องกับคำเบิกความซึ่งเป็นการกระทำทันทีหลังจากเกิดเหตุแล้วใหม่ๆโดยไม่มีโอกาสคิดไตร่ตรองเพื่อปรักปรำให้ร้ายจำเลยทั้งการที่ผู้เสียหายลงชื่อรับรองไว้ในบัญชีทรัพย์ถูกประทุษร้ายกับบัญชีทรัพย์ถูกประทุษร้ายได้คืนแสดงว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้ยึดสร้อยคอของผู้เสียหายที่ถูกจำเลยชิงเอาไปได้จากจำเลยจริงและให้ผู้เสียหายรับคืนไปโดยเหตุที่สิบตำรวจเอก ป. และพันตำรวจตรี ศ. พนักงานสอบสวนได้ปฏิบัติการไปตามหน้าที่ไม่มีเหตุให้ต้องทำบันทึกตามเอกสารที่กล่าวมาเพื่อกลั่นแกล้งจำเลยพยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักมั่นคงรับฟังลงโทษจำเลยได้แต่ ปืนไฟแช็กที่จำเลยได้ใช้จี้ผู้เสียหายนั้นเป็น สิ่งเทียมอาวุธปืน มิใช่ อาวุธปืนตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯจึงไม่ต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา340ตรี

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 11 ธันวาคม 2536 เวลา กลางวันจำเลย พา อาวุธ มีดปลายแหลม ติดตัว ไป ใน เมือง หมู่บ้าน และ บริเวณ ปากซอย ลือชา อันเป็น ทางสาธารณะ โดย ไม่มี เหตุสมควร และ ตาม วัน เวลา ดังกล่าว จำเลย ได้ ชิงทรัพย์ เอา สร้อยคอ ทองคำ หนัก 1 สลึง จำนวน 1 เส้นราคา 1,300 บาท ของ นางสาว สมพิศ พันธ์ขัน ผู้เสียหาย ไป โดยทุจริต โดย จำเลย ได้ ใช้ สิ่งเทียมอาวุธปืน จี้ ที่ ตัว ผู้เสียหาย ขู่เข็ญ ว่า จะ ใช้กำลัง ประทุษร้าย ยิง เสีย ให้ ตาย หาก ขัดขืน ทั้งนี้ เพื่อ ให้ ความสะดวกแก่ การ ลักทรัพย์ หรือ พา ทรัพย์ นั้น ไป ยึดถือ เอา ทรัพย์ นั้น ใน การชิงทรัพย์ ดังกล่าว จำเลย ใช้ รถจักรยานยนต์ หมายเลข ทะเบียนกรุงเทพมหานคร 3พ-5702 เป็น ยานพาหนะ เพื่อ การกระทำ ผิด และ พา ทรัพย์นั้น ไป หรือ เพื่อ ให้ พ้น จาก การ จับกุม เหตุ เกิด ที่ แขวง สามเสนใน เขต ราชเทวี กรุงเทพมหานคร ตาม วัน เวลา ดังกล่าว เจ้าพนักงาน จับ จำเลย ได้ พร้อม สิ่งเทียมอาวุธปืน 1 กระบอก อาวุธ มีดปลายแหลม 1 เล่มสร้อยคอ ทองคำ ของ ผู้เสียหาย และ รถจักรยานยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียนกรุงเทพมหานคร 3พ-5702 เป็น ของกลาง ก่อน คดี นี้ จำเลย เคย ต้องคำพิพากษาถึงที่สุด ให้ ลงโทษ จำคุก 1 ปี 6 เดือน ฐาน วิ่งราวทรัพย์ตาม คดีอาญา หมายเลขแดง ที่ 2443/2530 ของ ศาลจังหวัด ชลบุรี เมื่อ วันที่27 ตุลาคม 2530 ใน ขณะ กระทำผิด จำเลย อายุ เกิน 17 ปี และ จำเลย กลับมากระทำผิด ใน คดี นี้ ภายใน 5 ปี นับแต่ วัน พ้นโทษ ขอให้ ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339, 340 ตรี , 371, 92, 91 และ สั่ง ริบสิ่งเทียมอาวุธปืน มีดปลายแหลม และ รถจักรยานยนต์ หมายเลข ทะเบียนกรุงเทพมหานคร 3พ-5702 ของกลาง และ เพิ่มโทษ จำเลย ตาม กฎหมาย
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ แต่ ยอมรับ ว่า เป็น บุคคล คนเดียว กับ จำเลยใน คดี ที่ โจทก์ ขอให้ เพิ่มโทษ ตาม ฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 340 ตรี และ มาตรา 371 การกระทำของ จำเลย เป็น ความผิด หลายกรรม ต่างกัน ให้ ลงโทษ ทุกกรรม เป็น กระทงความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐาน ชิงทรัพย์ จำคุก 18 ปีฐาน พา อาวุธ ปรับ 90 บาท รวม จำคุก 18 ปี และ ปรับ 90 บาท เพิ่มโทษหนึ่ง ใน สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เป็น จำคุก 24 ปี และ ปรับ120 บาท หาก ไม่ชำระ ค่าปรับ ให้ จัดการ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 29, 30 ริบ สิ่งเทียมอาวุธปืน และ มีดปลายแหลม ของกลางส่วน รถจักรยานยนต์ ของกลาง ไม่ใช่ ทรัพย์สิน ที่ จำเลย ได้ ใช้ ใน การกระทำความผิด อัน จะ พึง ริบ ได้ ให้ยก คำขอ
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก ฟ้อง ความผิด ฐาน ชิงทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 ประกอบ มาตรา 340 ตรี คง ลงโทษจำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ปรับ 90 บาท ยก คำขอ ให้ เพิ่มโทษจำเลย คืน สิ่งเทียมอาวุธปืน และ อาวุธ มีด ของกลาง แก่ เจ้าของ นอกจากที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกาของ โจทก์ ว่า จำเลย กระทำผิด ฐาน ชิงทรัพย์ ตาม ฟ้อง หรือไม่ โจทก์ มีนางสาว สมพิศ พันธ์ขัน ผู้เสียหาย เป็น ประจักษ์พยาน เบิกความ ว่า ตาม วัน เวลา และ สถานที่เกิดเหตุ ตาม ฟ้อง ขณะ ผู้เสียหาย กำลัง จะ เดิน ขึ้นสะพาน ลอย เห็น จำเลย กำลัง เดิน สวน ลง มา จำเลย เดิน ชน และ ผลัก ผู้เสียหายล็อก คอ ผู้เสียหาย ไว้ แล้ว ชัก อาวุธปืน ออก มา ซึ่ง ผู้เสียหาย ทราบภายหลัง ว่า เป็น ปืน ไฟ แช็ก จำเลย ได้ พูด ขู่ ผู้เสียหาย ว่า อย่า ร้องมิฉะนั้น จะ ยิง แล้ว ใช้ มือ กระชาก สร้อยคอ ของ ผู้เสียหาย แต่ ผู้เสียหายสะบัด หลุด และ ร้อง ให้ คน ช่วย จำเลย จึง วิ่งหนี ไป ที่ รถจักรยานยนต์ที่ จอด ไว้ บริเวณ สะพาน ลอย ห่าง จาก ที่เกิดเหตุ ประมาณ 10 เมตร จำเลยขึ้น คร่อม รถจักรยานยนต์ แต่ รถจักรยานยนต์ ล้ม ลง ประชาชน บริเวณ นั้นช่วย กัน จับ ตัว จำเลย ไว้ ต่อมา ได้ มี เจ้าพนักงาน ตำรวจ มา และ นำ จำเลยส่ง พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจ นครบาลพญาไท จาก คำเบิกความ ของ ผู้เสียหาย ดังกล่าว ผู้เสียหาย ยืนยัน ใน เบื้องต้น ว่า จำเลย เป็นคนร้าย ที่ ชิง เอา สร้อยคอ ของ ผู้เสียหาย ไป ซึ่ง โจทก์ ยัง มี สิบตำรวจเอก ประสิทธิ์ บุทราม ผู้ จับ จำเลย เป็น พยาน เบิกความ ว่า เมื่อ พยาน ตรวจ ท้องที่ มา ถึง ที่เกิดเหตุ พบ จำเลย และ ผู้เสียหาย ผู้เสียหายแจ้ง ให้ พยาน ทราบ ว่า จำเลย ใช้ อาวุธปืน และ อาวุธ มีด จี้ กระชาก สร้อยคอของ ผู้เสียหาย ไป พยาน ทำการ ค้นตัว จำเลย พบ สร้อยคอ ทองคำ 1 เส้นอาวุธ มีดปลายแหลม 1 เล่ม และ ปืน ไฟ แช็ก 1 อัน จึง ยึด ไว้ เป็น ของกลางแจ้ง ข้อหา แก่ จำเลย ว่า กระทำผิด ฐาน ชิงทรัพย์ และ ได้ บันทึก การ จับกุม ไว้ตาม เอกสาร หมาย จ. 5 ผู้เสียหาย ได้ ให้การ ต่อ พนักงานสอบสวนใน วันเกิดเหตุ ว่า จำเลย ใช้ อาวุธปืน จี้ และ กระชาก สร้อยคอ ของผู้เสียหาย ไป โดย ให้ รายละเอียด ใน ข้อ สาระสำคัญ สอดคล้อง กับ คำเบิกความตาม คำให้การ ชั้นสอบสวน เอกสาร หมาย จ. 1 และ ยัง ได้ ลงลายมือชื่อใน บัญชีทรัพย์ ถูก ประทุษร้าย กับ บัญชีทรัพย์ ถูก ประทุษร้าย ได้ คืนตาม เอกสาร หมาย จ. 2 และ จ. 3 การ ที่ ผู้เสียหาย ให้การ ต่อ พนักงานสอบสวนดังกล่าว ได้ กระทำ ทันที หลังจาก เกิดเหตุ แล้ว ใหม่ ๆ โดย ไม่มี โอกาสคิด ไตร่ตรอง เพื่อ ปรักปรำ ให้ ร้าย จำเลย ทั้ง การ ที่ ผู้เสียหาย ลงชื่อรับรอง ไว้ ใน เอกสาร หมาย จ. 2 และ จ. 3 ก็ แสดง ให้ เห็นว่า เจ้าพนักงานตำรวจ ได้ ยึด สร้อยคอ ได้ จาก จำเลย จริง และ ให้ ผู้เสียหาย รับ คืน ไปคำเบิกความ ของ ผู้เสียหาย ประกอบ คำเบิกความ ของ สิบตำรวจเอก ประสิทธิ์ และ พยานหลักฐาน ใน การ สอบสวน ตาม ที่ วินิจฉัย มา มี น้ำหนัก รับฟัง ได้ว่าจำเลย กระทำผิด ฐาน ชิงทรัพย์ ตาม ฟ้องโจทก์ ส่วน ที่ ผู้เสียหาย เบิกความตอบ ทนายจำเลย ถาม ค้าน ว่า เมื่อ จำเลย พูด ขู่ และ ผู้เสียหาย ตกใจ ร้อง ขึ้นนั้น จำเลย ได้ ยก มือ ไหว้และ พูด ขอ โทษ ว่า ทักคน ผิด เมื่อ จำเลย วิ่งหนี ไปแล้ว ผู้เสียหาย พบ ว่า สร้อยคอ ยัง อยู่ ที่ คอ ผู้เสียหาย มิได้ ขาด หลุด ไปแต่อย่างใด ศาลฎีกา เห็นว่า คำเบิกความ ของ ผู้เสียหาย ดังกล่าวเป็น การ ช่วยเหลือ มิให้ จำเลย ต้อง ถูก ลงโทษ ทางอาญา และ เพื่อ เบิกความให้ ต้อง กับ ข้อต่อสู้ ของ จำเลย ที่ อ้างว่า จำเลย คิดว่า ผู้เสียหายเป็น เพื่อน สมัย เรียน หนังสือ ด้วยกัน จึง เดิน ตาม ผู้เสียหาย ขึ้น ไปบน สะพาน ลอย เพื่อ หยอกล้อ โดย ใช้ ปืน ไฟ แช็กของกลาง จี้ ผู้เสียหายให้ ตกใจ เท่านั้น คำเบิกความ ของ ผู้เสียหาย ส่วน นี้ จึง เชื่อถือ ไม่ได้และ ข้อต่อสู้ ของ จำเลย ก็ มี ข้อ พิรุธ เพราะ หาก จำเลย มิได้ กระทำผิดก็ ไม่มี เหตุผล อัน ใด ที่ จะ ต้อง วิ่งหนี เร่งร้อน จะ รีบ ขับ รถจักรยานยนต์หนี ไป โดย มี ผู้เสียหาย วิ่ง ตาม ร้องขอ ความ ช่วยเหลือ จน ประชาชนบริเวณ นั้น จับ ตัว จำเลย ไว้ นอกจาก นี้ สิบตำรวจเอก ประสิทธิ์ และ พัน ตำรวจ ตรี ศรีสุข พนักงานสอบสวน ก็ ปฏิบัติการ ไป ตาม หน้าที่ ไม่มี เหตุ อัน ใด ให้ ต้อง ทำ บันทึก ตาม เอกสาร หมาย จ. 1 ถึง จ. 5 เพื่อกลั่นแกล้ง จำเลย พยานหลักฐาน ที่ โจทก์ นำสืบ มา จึง มี น้ำหนัก มั่นคงพยาน จำเลย ไม่มี น้ำหนัก หักล้าง ได้ ฎีกา ของ โจทก์ ฟังขึ้น อย่างไร ก็ ตามจำเลย ได้ ใช้ ปืน ไฟ แช็กซึ่ง เป็น สิ่งเทียมอาวุธปืน มิใช่ อาวุธปืนตาม พระราชบัญญัติ อาวุธปืน ฯ จึง ไม่ต้อง รับโทษ หนัก ขึ้น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี แต่ ศาลฎีกา เห็นว่า ที่ ศาลชั้นต้นกำหนด โทษ จำคุก จำเลย ฐาน ชิงทรัพย์ 18 ปี นั้น หนัก เกิน ไป เพราะจำเลย ใช้ เพียง ปืน ไฟ แช็กจี้ ผู้เสียหาย เท่านั้น จึง เห็นสมควร กำหนด โทษให้ เหมาะสม ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 วรรคสอง ให้ ลงโทษ จำคุก 10 ปี เพิ่มโทษ จำคุก หนึ่ง ใน สามตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เป็น จำคุก 13 ปี 4 เดือน ให้ริบสิ่งเทียมอาวุธปืน และ มีดปลายแหลม ของกลาง นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตามคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share