คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7952/2543

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การคำนวณค่าขึ้นศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 150 จะต้องพิจารณาจากคำฟ้องแต่ละคดีเป็นเกณฑ์ โดยหลักจะต้องคำนวณตามทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกร้องมาในคดีนั้น เว้นแต่ทุนทรัพย์แต่ละข้อหาไม่มีความเกี่ยวพันกัน สามารถแยกจากกันได้โดยชัดแจ้ง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและตามสัญญากู้ยืมอีก 2 ฉบับ โดยจำเลยทำคำขอสินเชื่อจากโจทก์และได้รับอนุมัติจากโจทก์ในลักษณะต่อเนื่องกัน สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงยินยอมให้โจทก์นำหนี้ในบัญชีกระแสรายวันเป็นส่วนหนึ่งของเงินที่เบิกเกินบัญชีได้ และจำเลยได้จำนองอาคารชุดและที่ดินไว้แก่โจทก์เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ดังกล่าว มูลหนี้ในแต่ละข้อหาจึงมีความเกี่ยวเนื่องผูกพันกันและกัน การคำนวณค่าขึ้นศาลจึงต้องคำนวณจากทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องทั้งคดี

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินจำนวน9,714,741.96 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ของต้นเงิน6,501,836.22 บาท และต้นเงิน 2,091,093.48 บาท และต้นเงิน3,372 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์หากไม่ชำระขอให้ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ถ้าไม่พอชำระให้ยึดทรัพย์อื่นของจำเลยทั้งสามออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้จนครบถ้วน

จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา

จำเลยที่ 3 ให้การว่า จำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาค้ำประกันในวงเงิน200,000 บาท และทำสัญญาจำนองประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จำนวนเงินรับผิดเพียง 300,000 บาท ไม่ได้ค้ำประกันหนี้ทุกชนิดของจำเลยที่ 1ไม่ได้ตกลงรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไม่ได้ตกลงว่าหากบังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้แล้วจะชำระส่วนที่ขาดให้ ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันฉบับลงวันที่ 7 มีนาคม 2533 ส่วนเอกสารฉบับอื่น ๆ ที่มีชื่อ จำเลยที่ 3เกิดจากการฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 โดยความยินยอมของโจทก์ให้จำเลยที่ 1 นำเอกสารไปให้จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อโดยโจทก์ไม่ได้ชี้แจงจำเลยที่ 3 จึงรับผิดต่อโจทก์เพียง 300,000 บาท

ศาลชั้นต้นพิพากษา ให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจำนวนเงิน 6,041,756.17 บาท พร้อมดอกเบี้ยทบต้นรายเดือนอัตราร้อยละ16.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2539 ถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2539อัตราร้อยละ 16.25 ต่อปี นับแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2539 ถึงวันที่ 26 ธันวาคม2539 และดอกเบี้ยไม่ทบต้นอัตราร้อยละ 16.25 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวรวมกับดอกเบี้ยทบต้นที่คำนวณได้ นับแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2539 ถึงวันที่ 20กุมภาพันธ์ 2540 ดอกเบี้ยไม่ทบต้นอัตราร้อยละ 18 ต่อปี นับแต่วันที่ 21กุมภาพันธ์ 2540 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ในหนี้ดังกล่าวให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมรับผิดจำนวนเงิน 850,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยทบต้นรายเดือนอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2533ถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2533 อัตราร้อยละ 18 ต่อปี นับแต่วันที่ 26พฤศจิกายน 2533 ถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2533 อัตราร้อยละ 17 ต่อปีนับแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2533 ถึงวันที่ 23 ธันวาคม 2533 อัตราร้อยละ17.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2533 ถึงวันที่ 2 กรกฎาคม 2534อัตราร้อยละ 18 ต่อปี นับแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2534 ถึงวันที่ 11 กรกฎาคม2534 อัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2534 ถึงวันที่ 15มีนาคม 2535 อัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 16 มีนาคม 2535ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2536 อัตราร้อยละ 17 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 มีนาคม2536 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2536 อัตราร้อยละ 16.75 ต่อปี นับแต่วันที่ 1กรกฎาคม 2536 ถึงวันที่ 1 สิงหาคม 2536 อัตราร้อยละ 16.5 ต่อปีนับแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2536 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2536 อัตราร้อยละ16 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2536 ถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2536 อัตราร้อยละ15.75 ต่อปี นับแต่วันที่ 26 ตุลาคม 2536 ถึงวันที่ 14 ธันวาคม 2536อัตราร้อยละ 15.25 ต่อปี นับแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2536 ถึงวันที่ 17มกราคม 2537 อัตราร้อยละ 14.75 ต่อปี นับแต่วันที่ 18 มกราคม 2537ถึงวันที่ 14 มีนาคม 2537 อัตราร้อยละ 14.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 15 มีนาคม2537 ถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2537 อัตราร้อยละ 14.75 ต่อปี นับแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2537 ถึงวันที่ 30 มกราคม 2538 อัตราร้อยละ15 ต่อปี นับแต่วันที่ 31 มกราคม 2538 ถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2534อัตราร้อยละ 15.25 ต่อปี นับแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2538 ถึงวันที่ 20เมษายน 2538 อัตราร้อยละ 15.75 ต่อปี นับแต่วันที่ 21 เมษายน 2538ถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2538 อัตราร้อยละ 16 ต่อปี นับแต่วันที่ 18พฤษภาคม 2538 ถึงวันที่ 14 มิถุนายน 2538 อัตราร้อยละ 16.25 ต่อปีนับแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2538 ถึงวันที่ 16 กรกฎาคม 2538 อัตราร้อยละ16.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 17 กรกฎาคม 2538 ถึงวันที่ 18 ตุลาคม 2538อัตราร้อยละ 16.75 ต่อปี นับแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 10กรกฎาคม 2539 อัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 กรกฎาคม2539 ถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2539 อัตราร้อยละ 16.25 ต่อปี นับแต่วันที่ 4ธันวาคม 2539 ถึงวันที่ 26 ธันวาคม 2539 และดอกเบี้ยไม่ทบต้นอัตราร้อยละ 16.25 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวรวมกับดอกเบี้ยทบต้นที่คำนวณได้นับแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2539 ถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์2540 ดอกเบี้ยไม่ทบต้นอัตราร้อยละ 18 ต่อปี นับแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์2540 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้จำนวนเงิน 2,091,093.48 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปีของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 1 มีนาคม 2538 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเบี้ยประกันภัยจำนวนเงิน 3,372บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ของจำนวนเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 21 มิถุนายน 2540 ซึ่งเป็นวันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ หากจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ชำระให้บังคับจำนองยึดอาคารชุดนิรันดร์คอนโดมิเนียม 1 เอ ทะเบียนอาคารชุดเลขที่ 6/2532ห้องชุดเลขที่ 61/1 ถึง 61/5, 61/48 ถึง 61/50 ตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 218975 ตำบลบางนา อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร และอาคารชุดนิรันดร์คอนโดมิเนียม 1 ไอ ทะเบียนอาคารชุดเลขที่ 3/2533ห้องชุดเลขที่ 77/4 ถึง 77/6 ตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 226703 ตำบลบางนา อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นของจำเลยที่ 1 และยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 42452 ตำบลบางเมือง (บางด้วน) อำเภอเมืองสมุทรปราการ (เมือง) จังหวัดสมุทรปราการ พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเป็นของจำเลยที่ 3 ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ ถ้าไม่พอชำระให้ยึดทรัพย์อื่นของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้จนครบถ้วน กับให้ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความ 12,000 บาท เฉพาะค่าขึ้นศาลให้จำเลยที่ 2และที่ 3 ร่วมรับผิดตามทุนทรัพย์ที่ตนต้องรับผิดต่อโจทก์

โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกร้องแต่ละข้อหาดังที่ศาลชั้นต้นเรียกเก็บ หรือจะต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกร้องรวมทั้งคดี เห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 150 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในคดีที่คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์นั้น อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องหรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทและตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ (1)(ก)กำหนดให้เรียกโดยอัตราสองบาทห้าสิบสตางค์ต่อทุกหนึ่งร้อยบาทแต่ไม่ให้เกินสองแสนบาท เห็นว่า การคำนวณค่าขึ้นศาลจะต้องพิจารณาจากคำฟ้องแต่ละคดีเป็นเกณฑ์ โดยหลักแล้วจะต้องคำนวณตามทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกร้องมาในคดีนั้น เว้นแต่ทุนทรัพย์แต่ละข้อหาไม่มีความเกี่ยวพันกัน สามารถแยกจากกันได้โดยชัดแจ้งเช่นกรณีที่โจทก์หลายคนร่วมกันฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในมูลละเมิดหรือในกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายมีมูลมาจากจำเลยผิดสัญญาจำนวนหนึ่งและเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเห็นได้ว่าทั้งสองกรณีความเสียหายของโจทก์แต่ละคน หรือค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องแต่ละข้อหาสามารถแยกจากกันได้โดยชัดเจน โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลแต่ละข้อหา สำหรับข้อเท็จจริงในคดีนี้รับฟังเป็นยุติว่าโจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและตามสัญญากู้ยืมอีก 2 ฉบับ โดยจำเลยที่ 1 ทำคำขอสินเชื่อจากโจทก์และได้รับอนุมัติจากโจทก์ในลักษณะต่อเนื่องกัน โดยเฉพาะตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงว่า จำเลยที่ 1 ยินยอมให้โจทก์นำหนี้ในบัญชีกระแสรายวันเป็นส่วนหนึ่งของเงินที่เบิกเกินบัญชีได้ นอกจากนี้จำเลยที่ 2 และที่ 3เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วมและจำเลยที่ 1 ได้จำนองอาคารชุด และจำเลยที่ 3 ได้จำนองที่ดินไว้แก่โจทก์เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ดังกล่าว จึงเห็นได้ว่ามูลหนี้ในแต่ละข้อหามีความเกี่ยวเนื่องผูกพันกันและกัน การคำนวณค่าขึ้นศาลจึงต้องคำนวณจากทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องทั้งคดี ดังนั้น ที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งข้อ (1)(ก) จึงชอบแล้ว ที่ศาลชั้นต้นเรียกค่าขึ้นศาลจากโจทก์แต่ละข้อหาศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของโจทก์ฟังขึ้น”

พิพากษากลับ ให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เรียกเก็บเกินจาก 200,000 บาทแก่โจทก์

Share