คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา4บัญญัตินิยามคำว่า”ขาย”หมายความรวมถึงจำหน่ายจ่ายแจกแลกเปลี่ยนส่งมอบหรือมีไว้เพื่อขายฉะนั้นการขายหรือมีไว้เพื่อขายจึงเป็นความผิดอย่างเดียวกันการที่จำเลยขาย เมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับจำนวน4เม็ดและต่อมาในเวลาใกล้เคียงกันค้นพบได้ที่ตัวจำเลยจำนวน60เม็ดกับในห้องพักของจำเลยอีกจำนวน1,100เม็ดเมทแอมเฟตามีนของกลางทั้งสามจำนวนถือเป็นจำนวนเดียวกับที่จำเลยขายและมีไว้ในครอบครองเพื่อขายในเวลาเดียวกันและต่อเนื่องกันการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวคือการขายนั่นเองแม้จำเลยให้การรับสารภาพว่าขายและมีไว้ในครอบครองเพื่อขายเมทแอมเฟตามีนเป็นสองกรรมตามฟ้องแต่กรณีนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา225ประกอบกับมาตรา195วรรคสอง

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย กระทำผิด ต่อ กฎหมาย หลายกรรม ต่างกัน กล่าว คือจำเลย มีไว้ ใน ครอบครอง เพื่อ ขาย ซึ่ง เมทแอมเฟตามีน อันเป็น วัตถุ ออกฤทธิ์ ใน ประเภท 2 จำนวน 1,164 เม็ด น้ำหนัก รวม 81.48 กรัมโดย ไม่ได้ รับ อนุญาต และ ฝ่าฝืน ต่อ กฎหมาย และ ขาย เมทแอมเฟตามีน ดังกล่าว จำนวน 4 เม็ด น้ำหนัก ไม่ปรากฏ แน่ชัด ให้ แก่ สาย ลับผู้ล่อซื้อ ไป ใน ราคา 80 บาท เหตุ เกิด ที่ แขวง คลองมหานาค เขต ป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงาน จับ จำเลย ได้ พร้อม ด้วย ธนบัตร ฉบับ ละ 10 บาท จำนวน 8 ฉบับ รวมเป็น เงิน80 บาท ซึ่ง เป็น ธนบัตร ที่ ได้ มาจาก การ ขาย เมทแอมเฟตามีน และ ตรวจค้น พบ เมทแอมเฟตามีน ที่ เหลือ จาก การ ขาย ให้ แก่ สาย ลับ ผู้ล่อซื้อ จำนวน 1,160 เม็ด กับ ได้ เมทแอมเฟตามีน อีก จำนวน 4 เม็ด ยึด ไว้ เป็น ของกลาง ขอให้ ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 มาตรา 4, 6, 13 ทวิ , 62, 89, 106, 106 ทวิ , 116ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 91, 92 ริบ เมทแอมเฟตามีน ของกลาง ให้ แก่ กระทรวงสาธารณสุข คืน ธนบัตร ของกลาง จำนวน 80 บาท ที่ ใช้ล่อ ซื้อ แก่ เจ้าของ และ เพิ่มโทษ จำเลย ตาม กฎหมาย
จำเลย ให้การรับสารภาพ และ รับ ว่า เคย ต้องโทษ และ พ้นโทษ มา แล้วจริง ตาม ฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด กระทง แรก ตาม พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 13 ทวิ ,62 วรรคหนึ่ง ประกอบ ด้วย มาตรา 89 และ 106 ทวิ เป็น ความผิด สอง บทแต่ เนื่องจาก โทษ เท่ากัน จึง ลงโทษ ตาม มาตรา 62 วรรคหนึ่ง , 106 ทวิให้ จำคุก 16 ปี สำหรับ ความผิด กระทง หลัง ให้ ลงโทษ ตาม มาตรา 13 ทวิ ,89 ให้ จำคุก 5 ปี รวม จำคุก 21 ปี เพิ่มโทษ จำคุก หนึ่ง ใน สาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เป็น จำคุก 28 ปี จำเลย ให้การรับสารภาพ เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา มีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษ ให้กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คง จำคุก 14 ปี ริบ เมทแอมเฟตามีน ของกลาง ให้ แก่ กระทรวงสาธารณสุข และ คืน ธนบัตร ของกลาง จำนวน 80 บาท ที่ ใช้ ล่อ ซื้อ แก่ เจ้าของ
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ วัตถุที่ ออกฤทธิ์ ต่อ จิต และ ประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง และ106 ทวิ ให้ จำคุก 5 ปี มาตรา 13 ทวิ และ 89 จำคุก 5 ปี รวม จำคุก10 ปี เพิ่มโทษ หนึ่ง ใน สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เป็น จำคุก13 ปี 4 เดือน จำเลย ให้การรับสารภาพ เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา มีเหตุบรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คง จำคุก6 ปี 8 เดือน นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
โจทก์ ฎีกา โดย อัยการ สูงสุด รับรอง ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟัง ยุติ ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ว่า จำเลย มี เมทแอมเฟตามีน จำนวน 1,164 เม็ด ไว้ ใน ครอบครอง เพื่อ ขาย และ ขาย เมทแอมเฟตามีน ดังกล่าว จำนวน 4 เม็ด และ ปรากฏว่า ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ลงโทษ จำเลย ฐาน มีไว้ ใน ครอบครองเพื่อ ขาย และ ฐาน ขาย เมทแอมเฟตามีน เป็น 2 กรรม แต่ ลงโทษ ฐาน มีไว้ ใน ครอบครอง เพื่อ ขาย แตกต่าง กัน โดย ศาลชั้นต้น ลงโทษ จำคุก 16 ปีศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ลงโทษ จำคุก 5 ปี โจทก์ ฎีกา เฉพาะ ฐาน มีไว้ใน ครอบครอง เพื่อ ขาย ให้ ลงโทษ ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น เห็นว่าคดี นี้ โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ฐาน มี เมทแอมเฟตามีน ไว้ ใน ครอบครอง เพื่อ ขาย และ ฐาน ขาย เมทแอมเฟตามีน อันเป็น วัตถุ ออกฤทธิ์ ใน ประเภท 2ซึ่ง พระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 13 ทวิ บัญญัติ ห้าม มิให้ ผู้ใด ผลิต ขาย นำเข้า หรือ ส่งออกซึ่ง วัตถุ ออกฤทธิ์ ใน ประเภท 2 และ มี บท กำหนด โทษ ตาม มาตรา 89 กับมาตรา 62 วรรคหนึ่ง บัญญัติ ห้าม มิให้ ผู้ใด มีไว้ ใน ครอบครอง หรือ ใช้ประโยชน์ ใด ๆ ซึ่ง วัตถุ ออกฤทธิ์ ทุก ประเภท และ มี บท กำหนด โทษ ตามมาตรา 106 ทวิ และ มาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติ ดังกล่าว ได้ วิเคราะห์ศัพท์ คำ ว่า “ขาย ” ว่า หมายความ รวม ถึง จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยนส่งมอบ หรือ มีไว้ เพื่อ ขาย ฉะนั้น การ ขาย หรือ มีไว้ เพื่อ ขาย ตาม นัย แห่งพระราชบัญญัติ ฉบับนี้ จึง เป็น ความผิด อย่างเดียว กัน และ ตาม ข้อเท็จจริงที่ โจทก์ นำสืบ ปรากฏว่า จำเลย ขาย เมทแอมเฟตามีน ให้ แก่ สาย ลับ จำนวน 4 เม็ด ต่อมา ใน เวลา ใกล้เคียง กัน ค้นพบ ได้ ใน ตัว จำเลย จำนวน 60 เม็ดและ ค้น ได้ ใน ห้องพัก ของ จำเลย อีก จำนวน 1,100 เม็ด เมทแอมเฟตามีน ของกลาง ทั้ง สาม จำนวน จึง เป็น จำนวน เดียว กับ ที่ จำเลย ขาย และ มีไว้ใน ครอบครอง เพื่อ ขาย ใน เวลา เดียว กัน และ ต่อเนื่อง กัน การกระทำของ จำเลย ดังกล่าว จึง เป็น ความผิด กรรมเดียว คือ การ ขาย นั่นเองจำเลย หา ได้ มี ความผิด ฐาน มี เมทแอมเฟตามีน จำนวน 1,160 เม็ด ไว้ ใน ครอบครอง เพื่อ ขาย อีก กรรมหนึ่ง แต่อย่างใด ไม่ แม้ จำเลย จะ ให้การรับสารภาพ ตาม ฟ้อง ว่า ขาย และ มีไว้ ใน ครอบครอง เพื่อ ขาย เมทแอมเฟตามีน เป็น 2 กรรม ก็ ตาม แต่ กรณี นี้ เป็น ปัญหาข้อกฎหมาย ที่ เกี่ยวกับความสงบ เรียบร้อย ศาลฎีกา มีอำนาจ ยกขึ้น วินิจฉัย ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 225 ประกอบ มาตรา 195วรรคสอง ที่ ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ลงโทษ จำเลย เป็น อีกกรรมหนึ่ง จึง ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา และ ที่ โจทก์ ฎีกา ขอให้ลงโทษ จำเลย หนัก ขึ้น ใน ความผิด ฐาน มี เมทแอมเฟตามีน ไว้ เพื่อ ขาย จำนวน 1,160 เม็ด นั้น ก็ คือ การ ฎีกา ขอให้ ลงโทษ จำเลย ใน ฐาน ขาย เมทแอมเฟตามีน จำนวน ดังกล่าว ให้ หนัก ขึ้น นั่นเอง เมื่อ ความผิด ฐาน ขาย เมทแอมเฟตามีน จำนวน 4 เม็ด ให้ แก่ สาย ลับ กับ ความผิด ฐาน เพื่อ ขาย เมทแอมเฟตามีน จำนวน 1,160 เม็ด ที่ ยึด ได้ ใน ภายหลัง เป็น ความผิด กรรมเดียว กัน จึง เห็นสมควร กำหนด โทษ ที่ จะ ลง แก่ จำเลยใหม่ เพื่อ ให้ เหมาะสม แก่ รูปคดี ฎีกา โจทก์ ฟังขึ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ วัตถุที่ ออกฤทธิ์ ต่อ จิต และ ประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง ,89 เพียง กรรมเดียว ให้ ลงโทษ จำคุก 12 ปี เพิ่มโทษ หนึ่ง ใน สาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เป็น จำคุก 16 ปี ลดโทษ กึ่งหนึ่งตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คง จำคุก 8 ปี นอกจาก ที่ แก้ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share