แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ความผิดฐานมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นและฐานพาอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนมาตรา7,8ทวิวรรคหนึ่ง,72วรรคสาม,72ทวิวรรคสองและประมวลกฎหมายอาญามาตรา371ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ3เดือนศาลอุทธรณ์ภาค2พิพากษายืนจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218จำเลยฎีกาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันตนเอง พอสมควรแก่เหตุ และขอให้ยกฟ้องนั้นเป็นการฎีกาโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จำเลยฎีกาว่าเมื่อทางนำสืบของโจทก์ฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดแต่เพียงผู้เดียวแตกต่างไปจากคำฟ้องที่ว่าจำเลยกับพวกร่วมกันกระทำผิดเช่นนี้จะต้องยกฟ้องนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดแล้วไม่ว่าจำเลยจะร่วมกระทำผิดกับผู้อื่นหรือกระทำความผิดตามลำพังก็ตามจำเลยย่อมต้องถูกลงโทษดังนั้นข้อแตกต่างดังกล่าวจำเลยกล่าวอ้างจึงมิใช่สาระสำคัญทั้งจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้ศาลจึงลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80,83, 288, 91, 371 พระราชบัญญัติ อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และ สิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490มาตรา 7, 8 ทวิ , 72, 72 ทวิ
จำเลย ให้การรับสารภาพ ฐาน มี และ พา อาวุธปืน โดย ไม่ได้ รับ อนุญาตส่วน ข้อหา พยายามฆ่า จำเลย ให้การ ต่อสู้ อ้าง เหตุ ป้องกัน
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288, 83, 91, 371 พระราชบัญญัติ อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และ สิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7,8 ทวิ วรรคหนึ่ง , 72 วรรคสาม , 72 ทวิ วรรคสอง เป็น ความผิดหลายกรรม เรียง กระทง ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ลงโทษฐาน พยายามฆ่าผู้อื่น จำคุก 12 ปี ฐาน มี อาวุธปืน มี ทะเบียน ของ ผู้อื่นจำคุก 6 เดือน ฐาน พา อาวุธปืน มี ทะเบียน ของ ผู้อื่น ลงโทษ ตามพระราชบัญญัติ อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและ สิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง , 72 ทวิวรรคสอง ซึ่ง เป็น บทที่ มี โทษหนัก ที่สุด จำคุก 6 เดือน คำให้การ ของจำเลย ชั้นสอบสวน เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา คดี อยู่ บ้าง สำหรับข้อหา พยายามฆ่า และ จำเลย รับสารภาพ ข้อหา เกี่ยวกับ พระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา คดี มีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษให้ หนึ่ง ใน สาม สำหรับ ข้อหา พยายามฆ่า และ ลดโทษ กึ่งหนึ่ง สำหรับข้อหา มี และ พา อาวุธปืน ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว คง ลงโทษข้อหา พยายามฆ่า จำคุก 8 ปี ข้อหา มี อาวุธปืน มี ทะเบียน ของ ผู้อื่นจำคุก 3 เดือน ฐาน พา อาวุธปืน ของ ผู้อื่น จำคุก 3 เดือน รวม จำคุก8 ปี 6 เดือน
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ ใน เบื้องต้น ว่า จำเลยมี อาวุธปืน ซึ่ง มี ทะเบียน และ เครื่องกระสุนปืน ไว้ ใน ครอบครอง โดยไม่ได้ รับ อนุญาต ตาม กฎหมาย และ จำเลย พา อาวุธปืน และ เครื่องกระสุนปืนไป ใน เมือง หมู่บ้าน และ ทางสาธารณะ โดย ไม่ได้ รับ ใบอนุญาตให้ มี อาวุธปืน ติดตัว ทั้ง ตาม วัน เวลา และ สถานที่เกิดเหตุ จำเลย ใช้อาวุธปืน ลูกซอง สั้น ที่ พา ติดตัว ไป ดังกล่าว ยิง ผู้เสียหาย ทั้ง สองจน ได้รับ อันตรายแก่กาย ถึง สาหัส ปรากฏ ตาม รายงาน การ ตรวจ ชันสูตรบาดแผล ของ แพทย์ เอกสาร หมาย จ. 1 และ จ. 2 สำหรับ ความผิด ฐาน มีอาวุธปืน มี ทะเบียน ของ ผู้อื่น และ ฐาน พา อาวุธปืน มี ทะเบียน ของ ผู้อื่นตาม พระราชบัญญัติ อาวุธปืน ฯ มาตรา 7, 8 ทวิ วรรคหนึ่ง , 72 วรรคสาม.72 ทวิ วรรคสอง และ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 นั้น ศาลชั้นต้นพิพากษา ลงโทษ จำคุก จำเลย กระทง ละ 3 เดือน ศาลอุทธรณ์ ภาค 2พิพากษายืน จึง ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 จำเลย ฎีกา ว่า การกระทำของ จำเลย เป็น การ ป้องกัน ตนเอง พอสมควร แก่ เหตุ และ ขอให้ ยกฟ้อง นั้นเป็น การ โต้เถียง ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกา ใน ความผิด ทั้ง สอง ฐานดังกล่าว จึง ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ตาม บทบัญญัติ แห่งกฎหมาย ดังกล่าว
ปัญหา ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ ต้อง วินิจฉัย ต่อไป มี ว่า เมื่อ ทางนำสืบของ โจทก์ ฟังได้ ว่า จำเลย กระทำผิด แต่เพียง ผู้เดียว แตกต่าง ไป จากคำฟ้อง ที่ ว่า จำเลย กับพวก ร่วมกัน กระทำผิด เช่นนี้ จะ ต้อง ยกฟ้อง หรือไม่เห็นว่า เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า จำเลย กระทำผิด แล้ว ไม่ว่า จำเลยจะ ร่วม กระทำผิด กับ ผู้อื่น หรือ กระทำผิด ตาม ลำพัง ก็ ตาม จำเลย ย่อม ต้องถูก ลงโทษ ดังนั้น ข้อแตกต่าง ดัง จำเลย กล่าวอ้าง จึง มิใช่ สาระสำคัญทั้ง จำเลย ก็ มิได้ หลงต่อสู้ ศาล จึง ลงโทษ จำเลย ตาม ข้อเท็จจริงที่ ได้ความ นั้น ได้
พิพากษายืน