แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
จำเลยได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้แก่กระทรวงศีกษาธิการ ยอมรับผิดใช้เงินจำนวนหนึ่ง ถ้าสมุหบัญชีในโรงเรียนช่างพิมพ์วัดสังเวชทุจริตต่อหน้าที่ ครั้นต่อมาได้มีหระราชบัญญัติครู ตั้งคุรุสภาขึ้นเป็นนิติบุคคล และคณะรัฐมนตรี ให้โอนโรงเรียนช่างพิมพ์วัดสังเวชมาขึ้นแก่คุรุสภา ในตอนหลังนี้ สมุหบัญชีผู้นั้นได้ทุจริตยักยอกเงินในหน้าที่ขึ้น ดังนี้ กระทรวงศึกษาธิการย่อมไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นโจทก์ฟ้องร้องบังคับให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
ย่อยาว
คดีนี้ ได้ความว่า เมื่อพ.ศ.๒๔๘๖ จำเลยได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้แก่โจทก์ ยอมรับผิดใช้เงินจำนวนหนึ่ง หนึ่ง ถ้านายเสรี โพิธิลิป ผู้เป็นสมุหบัญชีในโรงเรียนช่างพิมพ์วัดสังเวช ทุจริตต่อหน้าที่ ต่อมา พ.ศ. ๒๔๘๘ ได้มี พ.ร.บ.ครู ตั้งคุรุสภาขึ้นเป็นนิติบุคคล คณะรัฐนมนตรีจึงโอนโรงเรียนช่างพิมพ์วัดสังเวชขึ้นแก่คุรุสภา และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงพิมพ์คุรุสภา ในพ.ศ.๒๔๙๐ ปรากฎว่า นายเสรี โพธิลิป ได้ทำการทุจริต ยักยอกเงินในหน้าที่จนถึงศาลพิพากษาลงโทษ โจทก์จึงมาฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า คุรุสภา ซึ่งเป็นเจ้าของโรงพิมพ์ มิได้อยู่ในบังคับบัญชาของกระทรวงศึกษาธิการตามพระราชบัญญัติครู เพราะเป็นนิติบุคคลต่างหาก มีคณะกรรมการควบคุมบริหารตามความในพระราชบัญญัติซึ่งกล่าว ฉะนั้นเมื่อได้โอนโรงเรียนช่างพิมพ์วัดสังเวชมาให้แก่คุรุสภา การทุจริตของนายเสรีก็ได้เกิดขึ้นภายหลังการโอน กระทรวงศึกษาธิการย่อมไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นโจทก์ฟ้องร้องบังคับจำเลยให้ใช้เงินแก่โจทก์ หรือคุรุสภาตามสัญญาค้ำประกัน
จึงพิพากษายืน ในข้อที่โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลย