แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
เมื่อเจ้ามรดกตายทายาทซึ่งเป็นผู้เยาว์มีมารดาเป็นผู้เทนโดยชอบธรรมมารดาของทายาทผู้เยาว์มิได้ฟ้องคดีมรดกเสียภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันเจ้ามรดกตาย ต่อมาเมื่อผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะแล้วจะมาฟ้องคดีมรดกเองหาได้ไม่ เพราะกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. ม.183.
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ที่ ๑ เป็นน้องนางเปลื้องเจ้ามรดก โจทก์ที่ ๒ เป็นบุตรของน้องนางเปลื้อง จำเลยเป็นน้องนางเปลื้องและบุตรของน้องนางเปลื้องจำเลยหลอกลวงให้โจทก์ที่ ๑ ซึ่งอ่านหนังสือไม่ออกใช้ลงชื่อในหนังสือแบ่งมรดก ส่วนโจทก์ที่ ๒ นั้นในขณะทำสัญญาแบ่งมรดกยังเป็นผู้เยาว์อยู่ การแบ่งมรดกจึงเป็นโมฆะ ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดกที่ดินเฉพาะส่วนของโจทก์ในโฉนดที่ ๗๕๙, ๗๖๐ เสีย และใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของร่วมรับมรดกด้วย
จำเลยต่อสุ้ว่ามิได้หลอกลวงให้โจทก์ที่ ๑ ลงชื่อในสัญญาแบ่งมรดก โจทก์ที่ ๑ ได้รับส่วนแบ่งไปแล้ว ส่วนโจทก์ที่ ๒ แม้จะไม่ได้ลงชื่อในสัญญาแบ่งมรดก นางบุญเรือนที่โจทก์ที่ ๒ ก็ได้ลงชื่อแทน ทั้งนางหนักมารดาโจทก์ที่ ๒ ก็ได้รู้เห็นและพอใจ และตัดฟ้องว่าโจทก์ขาดอายุความ
นางบุญเรือนร้องสอดขอเข้าเป็นจำเลยร่วมด้วย
ศาลชั้นต้นฟังว่า โจทก์ที่ ๒ บอกล้างนิติกรรมสัญญาแบ่งมรดกได้ เพราะขณะนั้นมารดาโจทก์ที่ ๒ ยังมีชีวิตอยู่ลงชื่อแทนน้องไม่ได้ สำหรับโจทก์ที่ ๑ นั้นฟังได้ว่าถูกหลอกลวง คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ พิพากษาให้เพิกถอนการโอนรับมรดกเสีย ให้แบ่งมรดกเป็น ๕ ส่วนให้โจทก์จำเลยได้คนละส่วน
จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะโจทก์ที่ ๒ ว่ามีส่วนได้เพียง ๑ ใน ๖ ของส่วนแบ่งส่วนหนึ่ง
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาไม่เชื่อว่าโจทก์ที่ ๑ ถูกหลอกลวงให้ลงชื่อในสัญญาแบ่งมรดก ส่วนโจทก์ที่ ๒ นั้นเห็นว่าเป็นผู้มีมารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม มารดาโจทก์๒ จะต้องฟ้องคดีเสียภายใน ๑ ปีนับแต่วันเข้ามรดกวายชนม์ตาม ป.พ.พ. ม.๑๒๕๔ กรณ๊ไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ม.๑๘๓ พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์.