แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่1ถึงที่3ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายให้ชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่ผู้ตายนำไม้ของโจทก์ไปขายแล้วไม่ส่งมอบเงินให้โจทก์กับหนี้อื่นที่ผู้ตายเป็นหนี้โจทก์เป็นการฟ้องขอรับชำระหนี้จากกองมรดกของผู้ตายและคดีถึงที่สุดการที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยที่1ถึงที่3ในฐานะทายาทโดยธรรมกับจำเลยที่4ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายชำระหนี้รายเดียวกันโดยอ้างว่าเป็นหนี้ที่เหลือจากที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อนในขณะที่คดีก่อนอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำแต่เป็นฟ้องซ้อน
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ภรรยา ของนาย สมนึก พันธุ์พัฒน์ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 เป็น บุตร ของ นาย สมนึก จำเลย ที่ 4 เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาย สมนึก เดิม นาย สมนึก เป็น กรรมการ ผู้จัดการ ของ โจทก์ นาย สมนึก ถึงแก่กรรม เมื่อ วันที่ 11 ตุลาคม 2531 ใน ระหว่าง ที่นาย สมนึก เป็น กรรมการ ผู้จัดการ ของ โจทก์ นาย สมนึก ได้ นำ ไม้ กระ ยา เลย ของ โจทก์ ไป ขาย ให้ แก่ บริษัท โรงเลื่อยจักร แพร่ไพรวัน จำกัด และ ไม่นำ เงิน ส่ง ให้ แก่ โจทก์ คือ ไม้ จาก ป่า โครงการ น้ำลีน้ำน่าน เป็น เงิน 5,520,000 บาท ต่อมา ทายาท ของ นาย สมนึก ได้ ทำ หนังสือ รับสภาพหนี้ ให้ โจทก์ ไว้ จำนวน 3,077,326 บาท จึง คง ค้าง เงิน อยู่ อีก 2,442,674 บาท และไม้ จาก ป่า โครงการ น้ำว้า-ห้วยสาลี่ เป็น เงิน 4,169,499 บาท ต่อมา ทายาท ของ นาย สมนึก ได้ ทำ หนังสือ รับสภาพหนี้ ให้ โจทก์ ไว้ จำนวน 3,460,00 บาท จึง คง ค้าง เงิน อยู่ อีก 709,499 บาท รวมเป็น เงินที่ ค้าง ทั้งสิ้น 3,152,173 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน ชำระเงิน จำนวน 3,152,173 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย
จำเลย ทั้ง สี่ ให้การ ว่า การ ที่ โจทก์ ฟ้อง ว่า นาย สมนึก ได้ นำ ไม้ ของ โจทก์ ไป ขาย ให้ แก่ บริษัท โรงเลื่อยจักร แพร่ไพรวัน จำกัด เป็น เงิน 5,520,000 บาท และ 4,169,499 บาท นั้น ไม่เป็น ความจริงเพราะ ขณะ ทำ หนังสือ รับสภาพหนี้ กับ โจทก์ โจทก์ แจ้ง ว่า นาย สมนึก มี หนี้ เกี่ยวกับ ไม้ จำนวน ดังกล่าว เพียง 3,077,325 บาท และ 3,460,000บาท เท่านั้น จำเลย จึง ได้ ยอม ตกลง รับสภาพหนี้ เงิน จำนวน ดังกล่าวหนี้ ค่า ไม้ จำนวน 5,520,000 บาท และ จำนวน 4,169,499 บาท ได้ถูก แปลงหนี้ใหม่ เป็น หนี้ ตาม หนังสือ รับสภาพหนี้ แล้ว หนี้ จำนวนดังกล่าว จึง ระงับ ไป ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง เรียกเงิน จำนวน 3,152,173 บาท จาก จำเลย อีกขอให้ ยกฟ้อง
วันนัด สืบพยานโจทก์ โจทก์ แถลงว่า หนี้ ที่ โจทก์ ฟ้อง ใน คดี นี้เป็น หนี้ ที่ เกิดจาก การ ขาย ไม้ ราย เดียว กับ ที่ โจทก์ ฟ้อง ใน คดีแพ่งหมายเลขแดง ที่ 259/2532 ของ ศาลชั้นต้น โดย ใน คดี ดังกล่าว จำเลย ที่ 1ที่ 2 และ ที่ 3 ได้ ทำ สัญญา รับสภาพหนี้ ไว้ บางส่วน โจทก์ จึง ได้ ฟ้องคดีตาม สัญญา รับสภาพหนี้ ก่อน และ ศาลชั้นต้น ได้ พิพากษาคดี ถึงที่สุด แล้วโจทก์ จึง ได้ มา ฟ้อง เรียก หนี้ ส่วน ที่ เหลือ เป็น คดี นี้ ศาลชั้นต้นเห็นว่า คดี พอ ที่ จะ วินิจฉัย ได้ แล้ว ให้ งดสืบพยาน โจทก์ จำเลย แล้วพิพากษา ให้ยก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหา ที่ จะ วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่าคดี นี้ เป็น ฟ้องซ้ำ กับ คดี ก่อน คือ คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 259/2532 ของศาลชั้นต้น หรือไม่ พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า คดี ก่อน โจทก์ ฟ้อง จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ใน ฐานะ ทายาทโดยธรรม ของ นาย สมนึก ผู้ตาย ให้ ชำระหนี้ ให้ โจทก์ ใน จำนวน หนี้ ที่ ผู้ตาย นำ ไม้ ของ โจทก์ ไป ขาย แล้ว ไม่นำ เงิน ส่งมอบ ให้ โจทก์ กับ หนี้ อื่น ที่ ผู้ตาย เป็น หนี้ โจทก์ โดยจำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ใน ฐานะ ทายาทโดยธรรม ของ ผู้ตาย ได้ ทำหนังสือ รับสภาพหนี้ ของ ผู้ตาย ให้ โจทก์ ไว้ เป็น หลักฐาน เป็น การ ฟ้องขอรับ ชำระหนี้ จาก ทรัพย์สิน ใน กอง มรดก ของ ผู้ตาย โดย มี ประเด็น ข้อพิพาทที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ว่า ผู้ตาย เป็น หนี้ โจทก์ ค่า นำ ไม้ ของ โจทก์ ไป ขาย แล้วไม่นำ เงิน ส่งมอบ ให้ โจทก์ กับ หนี้ อื่น ดัง ฟ้อง ของ โจทก์ เพียงใด หรือไม่ซึ่ง คดี นั้น ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ใน ฐานะทายาทโดยธรรม ของ ผู้ตาย ชำระหนี้ ของ ผู้ตาย ให้ แก่ โจทก์ และ คดีถึงที่สุดแล้ว การ ที่ โจทก์ มา ฟ้องคดี นี้ ขอให้ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ใน ฐานะทายาทโดยธรรม ของ ผู้ตาย กับ จำเลย ที่ 4 ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดกของ ผู้ตาย รับผิด ชำระหนี้ ที่ ผู้ตาย นำ ไม้ ราย เดียว กับ ใน คดี ก่อน ไป ขายแล้ว ไม่นำ เงิน ส่งมอบ ให้ โจทก์ โดย อ้างว่า หนี้ ดังกล่าว มี จำนวนเงินมาก กว่า ที่ โจทก์ ฟ้อง ใน คดี ก่อน โจทก์ จึง นำ หนี้ ที่ เหลือ มา ฟ้องคดี นี้นั้น เห็น ได้ว่า การ ฟ้อง ของ โจทก์ ใน คดี นี้ เป็น การ ฟ้อง ขอรับ ชำระหนี้จาก ทรัพย์สิน ใน กอง มรดก ของ ผู้ตาย เช่นเดียว กับ การ ฟ้องคดี ก่อนและ คดี นี้ มี ประเด็น ข้อพิพาท ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย โดย อาศัย เหตุอย่างเดียว กับ คดี ก่อน ใน ส่วน ที่ ว่า ผู้ตาย เป็น หนี้ โจทก์ ค่า นำ ไม้ของ โจทก์ ไป ขาย แล้ว ไม่นำ เงิน ส่งมอบ ให้ โจทก์ เพียงใด หรือไม่ แม้จะ ได้ความ ดังกล่าว กรณี ก็ มิใช่ เป็น การ ฟ้องซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 เพราะ ขณะที่ โจทก์ยื่นฟ้อง คดี นี้ คดี ก่อน อยู่ ใน ระหว่าง พิจารณา ของ ศาลชั้นต้น ยัง มิได้มี คำพิพากษาถึงที่สุด ฎีกา ของ โจทก์ ฟังขึ้น แต่ อย่างไร ก็ ดี การ ที่โจทก์ ได้ ยื่น คำฟ้อง คดี ก่อน ต่อ ศาลชั้นต้น และ คดี ก่อน อยู่ ใน ระหว่าง การพิจารณา ของ ศาลชั้นต้น โจทก์ ได้ นำ คดี นี้ ซึ่ง เป็น เรื่อง เดียว กัน นั้น มายื่นฟ้อง จำเลย ต่อ ศาลชั้นต้น อีก จึง เป็น การ ฟ้องซ้อน กับ คดี ก่อนต้องห้าม ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)และ ปัญหา ดังกล่าว เป็น ปัญหาข้อกฎหมาย อัน เกี่ยว ด้วย ความสงบ เรียบร้อยของ ประชาชน แม้ จะ มิได้ มี คู่ความ ฝ่ายใด ยกขึ้น กล่าวอ้าง ศาลฎีกา ก็ มีอำนาจ ยก ปัญหา นี้ ขึ้น วินิจฉัย ได้เอง ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา ให้ยกฟ้อง นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ใน ผล ”
พิพากษายืน