แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
การชำระหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกระทำได้เมื่อหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้ที่คงเหลือสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดของจำเลยที่1ไม่มีกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ของผู้ร้องเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้คงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา856,859แม้จำเลยที่1มิได้เดินสะพัดทางบัญชีอีกนับแต่ครั้งสุดท้ายเป็นเวลากว่า10ปีแต่เมื่อไม่มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาสัญญาก็ยังไม่สิ้นสุดลงผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญาได้จนถึงวันที่จำเลยที่1ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดอันถือว่าสัญญาเลิกกันโดยปริยายนับแต่วันนั้นและสิทธิเรียกร้องของผู้ร้องเกิดขึ้นนับแต่นั้นเมื่อยื่นคำร้องขอให้บังคับทรัพย์ที่จำนองเป็นประกันหนี้ตามสัญญาดังกล่าวยังไม่พ้น10ปีหนี้จึงไม่ขาดอายุความ
ย่อยาว
คดี นี้ สืบเนื่อง มาจาก ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ พิทักษ์ทรัพย์ ของจำเลย ทั้ง สอง เด็ดขาด เมื่อ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2532
ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า เมื่อ วันที่ 4 สิงหาคม 2523 จำเลย ที่ 1เปิด บัญชีเดินสะพัด ประเภท บัญชี เงินฝาก กระแสรายวัน เลขที่ 1394 และทำ สัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชี จาก ผู้ร้อง ใน วงเงิน 4,000,000 บาทดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 14 ต่อ ปี คิด ทบต้น เป็น รายเดือน และ ในวันเดียว กัน จำเลย ที่ 1 ยัง กู้ยืม เงิน จาก ผู้ร้อง อีก จำนวน 5,000,000บาท ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 12 ต่อ ปี กำหนด ชำระ ดอกเบี้ย เป็นรายเดือน และ จะ ชำระหนี้ ทันที เมื่อ ผู้ร้อง เรียกร้อง ใน การ นี้ จำเลยที่ 1 จดทะเบียน จำนอง ที่ดิน พร้อม สิ่งปลูกสร้าง เป็น ประกันหนี้ ทั้ง สองประเภท ดังกล่าว คือ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 20129, 20130, 17627 และ โฉนดเลขที่ 11604 พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ต่อมา เมื่อ จำเลย ที่ 1 ถูก ศาล สั่งพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด ผู้ร้อง ใน ฐานะ เจ้าหนี้ มี ประกัน ได้ ยื่น คำร้องต่อ ผู้คัดค้าน เมื่อ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ขอให้ยึดทรัพย์ จำนองอันเป็น หลักประกัน ออก ขายทอดตลาด และ ให้ ผู้ร้อง ได้รับ ชำระหนี้ จากหลักประกัน ก่อน เจ้าหนี้ อื่น ใน ต้นเงิน และ ดอกเบี้ย โดย คิด แบบ ทบต้น นับแต่ วันที่ 4 สิงหาคม 2523 ถึง วันที่ 15 พฤศจิกายน 2532 ซึ่ง เป็นวันที่ จำเลย ที่ 1 ถูก พิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด และ ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ15 ต่อ ปี แบบ ไม่ ทบต้น นับแต่ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2532 เป็นต้น ไปจน ถึง วัน ขายทอดตลาด เสร็จสิ้น ผู้คัดค้าน สอบสวน แล้ว และ โดย ความเห็น ชอบของ อธิบดี กรมบังคับคดี เห็นว่า หนี้ ตาม สัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชี มี การเดินสะพัด ทาง บัญชี เพียง วันที่ 29 กรกฎาคม 2524 หลังจาก นั้น ไม่มีการ เคลื่อนไหว ทาง บัญชี มี แต่ รายการ ดอกเบี้ย และ หนี้ ตาม สัญญากู้นับแต่ กู้ยืม ไม่มี การ ชำระหนี้ ฟังได้ ว่า ผู้ร้อง ได้ ใช้ สิทธิ เลิกสัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชี และ สัญญากู้ แล้ว โดย ปริยาย อย่างน้อย ที่สุดภายใน ปี 2524 ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ต่อ ผู้คัดค้าน เมื่อ วันที่21 กุมภาพันธ์ 2535 ขอให้ บังคับ ทรัพย์ จำนอง ซึ่ง เกิน กำหนด 10 ปีหนี้ ทั้ง สอง จำนวน จึง ขาดอายุความ แต่ ผู้ร้อง เป็น เจ้าหนี้ มี ประกันคง มีสิทธิ บังคับ ชำระหนี้ ได้ จาก ทรัพย์ จำนอง แต่ จะ บังคับ ให้ ชำระดอกเบี้ย ที่ ค้าง ย้อนหลัง เกิน 5 ปี ขึ้น ไป ไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/27 จึง ให้ ผู้ร้อง ได้รับชำระหนี้ จาก ทรัพย์ จำนอง เป็น เงิน 1,020,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ 14 ต่อ ปี คิด แบบ ไม่ ทบต้น นับแต่ วัน ขายทอดตลาด ย้อนหลังขึ้น ไป 5 ปี ผู้ร้อง ไม่เห็น ด้วย กับ ความเห็น ของ ผู้คัดค้าน ดังกล่าวเพราะ สัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชี ไม่ได้ กำหนด ระยะเวลา ไว้ เมื่อ ไม่มีฝ่ายใด บอกเลิก สัญญา สัญญา ก็ ยัง คง มี อยู่ หนี้ ไม่ขาดอายุความขอให้ มี คำสั่ง แก้ไข คำสั่ง ของ ผู้คัดค้าน โดย ให้ ผู้ร้อง ได้รับ ชำระหนี้จาก การ ขายทอดตลาด ทรัพย์ จำนอง ใน ต้นเงิน จำนวน 1,020,000 บาทพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 14 ต่อ ปี คิด แบบ ทบต้น นับแต่ วันที่4 สิงหาคม 2523 ถึง วันที่ 15 พฤศจิกายน 2532 และ คิด แบบ ไม่ ทบต้นนับแต่ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2532 ถึง วัน ขายทอดตลาด ทรัพย์ จำนอง ก่อนเจ้าหนี้ อื่น
ผู้คัดค้าน ยื่น คำคัดค้าน ว่า หนี้ เบิกเงินเกินบัญชี มีการ เดินสะพัด ทาง บัญชี เพียง วันที่ 29 กรกฎาคม 2524 หลังจาก นั้นมี แต่ รายการ ดอกเบี้ย แสดง ว่า ผู้ร้อง ได้ ใช้ สิทธิ เลิกสัญญา แล้วโดย ปริยาย อย่างน้อย ที่สุด ภายใน ปี 2524 ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ต่อผู้คัดค้าน เมื่อ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ขอให้ บังคับ ทรัพย์ จำนองซึ่ง พ้น กำหนด 10 ปี หนี้ เบิกเงินเกินบัญชี ซึ่ง เป็น หนี้ ประธานขาดอายุความ แล้ว ผู้ร้อง คง มีสิทธิ บังคับ ชำระหนี้ จาก ทรัพย์ จำนองแต่ จะ บังคับ ให้ ชำระ ดอกเบี้ย ที่ ค้าง ย้อนหลัง เกิน 5 ปี ขึ้น ไป ไม่ได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/27 คำสั่ง ของ ผู้คัดค้านชอบแล้ว ขอให้ ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้น อาศัย อำนาจ ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 146 มี คำสั่ง ให้ ผู้ร้อง ได้รับ ชำระหนี้ จาก การ ขายทอดตลาด ทรัพย์จำนอง ที่ดิน โฉนด เลขที่ 20129, 20130, 21581 ตำบล ตลาดใหญ่ (สั้นใน) อำเภอ เมือง ภูเก็ต จังหวัด ภูเก็ต ที่ดิน โฉนด เลขที่ 17627 ตำบล รัษฎา (สามกอง) อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัด ภูเก็ต ที่ดิน โฉนด เลขที่ 11604 ตำบล ตลาดเหนือ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัด ภูเก็ต พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ใน ต้นเงิน ตาม สัญญาจำนอง แต่ละ ฉบับ รวม จำนวน1,020,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 14 ต่อ ปี คิด ทบต้น ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2523 เป็นต้น ไป ถึง วันที่ 15 พฤศจิกายน 2532 และดอกเบี้ย อัตรา เดียว กัน คิด ไม่ ทบต้น นับแต่ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2532เป็นต้น ไป จน ถึง วัน ขายทอดตลาด ทรัพย์ จำนอง แต่ละ แปลง ก่อน เจ้าหนี้สามัญราย อื่น
ผู้คัดค้าน อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
ผู้คัดค้าน ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ที่ ผู้ร้อง และ ผู้คัดค้าน แถลงรับ กัน นั้น ฟัง ยุติ ว่า เมื่อ วันที่ 4 สิงหาคม 2523 จำเลย ที่ 1เปิด บัญชี กระแสรายวัน เลขที่ 1394 และ ทำ สัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชีจาก ผู้ร้อง ใน วงเงิน 4,000,000 บาท ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 14 ต่อ ปีโดย คิด ทบต้น เป็น รายเดือน ตาม ประเพณี ทางการ ค้า ของ ธนาคารพาณิชย์และ มิได้ กำหนด เวลา ชำระหนี้ ไว้ ใน การ นี้ จำเลย ที่ 1 จดทะเบียนจำนอง ที่ดิน พร้อม สิ่งปลูกสร้าง เป็น ประกัน คือ ที่ดิน โฉนด เลขที่20129, 20130 ตำบล ตลาดใหญ่ (สั้นใน) อำเภอ เมือง ภูเก็ต จังหวัด ภูเก็ต พร้อม สิ่งปลูกสร้าง เป็น เงิน 350,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อ ปี ที่ดิน โฉนด เลขที่ 17627 ตำบล รัษฎา (สามกอง) อำเภอ เมือง ภูเก็ต จังหวัด ภูเก็ต และ โฉนด เลขที่ 21581 ตำบล ตลาดใหญ่ (สั้นใน) อำเภอ เมือง ภูเก็ต จังหวัด ภูเก็ต พร้อม สิ่งปลูกสร้าง เป็น เงิน 550,000 บาท ดอกเบี้ย ร้อยละ 15 ต่อ ปีที่ดิน โฉนด เลขที่ 11604 ตำบล ตลาดเหนือ อำเภอ เมือง ภูเก็ต จังหวัด ภูเก็ต พร้อม สิ่งปลูกสร้าง เป็น เงิน 120,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 18 ต่อ ปี จำเลย ที่ 1 เดินสะพัด ทาง บัญชี โดย นำ เงิน เข้าบัญชีครั้งสุดท้าย เมื่อ วันที่ 29 กรกฎาคม 2524 และ เป็น หนี้ อยู่ จำนวน4,545,853.46 บาท หลังจาก นั้น ขาด การ ติดต่อ กับ ผู้ร้อง ผู้ร้อง และจำเลย ที่ 1 ต่าง ไม่ได้ บอกเลิก สัญญา ต่อ กัน ต่อมา จำเลย ที่ 1ถูก พิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด เมื่อ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2532 ผู้ร้อง ยื่นคำร้อง ต่อ ผู้คัดค้าน เมื่อ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ขอให้ ผู้ร้องได้รับ ชำระหนี้ จาก ทรัพย์ จำนอง ใน ฐานะ เจ้าหนี้ มี ประกัน จำเลย ที่ 1เป็น หนี้ กู้ เบิกเงินเกินบัญชี โดย คิด ดอกเบี้ย ทบต้น ถึง วันที่ จำเลยที่ 1 ถูก พิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด เป็น เงิน 16,499,589.52 บาท คดี มีปัญหา ตาม ฎีกา ของ ผู้คัดค้าน ว่า หนี้ ตาม สัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชี ซึ่งเป็น หนี้ ประธาน ขาดอายุความ แล้ว หรือไม่ ซึ่ง ผู้คัดค้าน ฎีกา ว่า สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ไม่ได้ กำหนด ระยะเวลา และ มี การ เดินสะพัด ทาง บัญชีครั้งสุดท้าย ใน วันที่ 29 กรกฎาคม 2524 หลังจาก นั้น ไม่มี การ เดินสะพัดทาง บัญชี อีก ผู้ร้อง มีสิทธิ เรียกร้อง ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระหนี้ ได้ นับตั้งแต่ วันที่ มี การ เดินสะพัด ทาง บัญชี และ หัก ทอน บัญชี ครั้งสุดท้ายดังกล่าว การ ที่ ผู้ร้อง ปล่อยปละละเลย ไม่ ใช้ สิทธิเรียกร้อง ให้ จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ ถือได้ว่า ผู้ร้อง ได้ เลิกสัญญา กู้ เบิกเงินเกินบัญชีโดย ปริยาย อย่างน้อย ที่สุด ภายใน ปี 2524 ผู้ร้อง ยื่น คำร้องขอ ให้บังคับ ทรัพย์ จำนอง เมื่อ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ซึ่ง พ้น กำหนด10 ปี หนี้ ตาม สัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชี จึง ขาดอายุความ เห็นว่าการ ที่ จำเลย ที่ 1 ทำ สัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชี กับ ผู้ร้อง เป็นสัญญา บัญชีเดินสะพัด กรณี จึง ต้อง นำ บทบัญญัติ เกี่ยว ด้วย เรื่อง บัญชีเดินสะพัด มา ปรับ ซึ่ง การ ชำระหนี้ ย่อม ต้อง ปฏิบัติ ตาม วิธีการ ของสัญญา บัญชีเดินสะพัด คือ ให้ กระทำ ได้ เมื่อ หัก ทอน บัญชี และ เรียกร้องให้ ชำระหนี้ ที่ คงเหลือ เมื่อ สัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชี ของ จำเลย ที่ 1ไม่มี กำหนด ระยะเวลา ให้ ชำระหนี้ เสร็จสิ้น เมื่อใด สิทธิเรียกร้องให้ ชำระหนี้ ของ ผู้ร้อง จึง เกิดขึ้น เมื่อ มี การ หัก ทอน บัญชี และ เรียกร้องให้ ชำระหนี้ คงเหลือ อันเป็น การ เลิกสัญญา บัญชีเดินสะพัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 และ มาตรา 859 ดังนี้แม้ จำเลย ที่ 1 จะ เดินสะพัด ทาง บัญชี ครั้งสุดท้าย ใน วันที่ 29 กรกฎาคม2524 และ หลังจาก นั้น ไม่มี การ เดินสะพัด ทาง บัญชี อีก แต่เมื่อ ไม่มีฝ่ายใด บอกเลิก สัญญา ต่อ กัน สัญญา บัญชีเดินสะพัด ก็ ยัง ไม่ สิ้นสุด ลงต่อมา เมื่อ จำเลย ที่ 1 ถูก พิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด อัน ถือว่า สัญญาบัญชีเดินสะพัด ต้อง เลิกกัน ไป โดย ปริยาย นับแต่ วันที่ ศาล มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จำเลย ที่ 1 เด็ดขาด คือ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2532สิทธิเรียกร้อง ของ ผู้ร้อง ตาม สัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชี จึง เกิดขึ้นนับแต่ นั้น ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ต่อ ผู้คัดค้าน เมื่อ วันที่21 กุมภาพันธ์ 2535 ขอให้ บังคับ ทรัพย์ จำนอง จึง ยัง ไม่ พ้น กำหนด10 ปี หนี้ ตาม สัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชี อันเป็น หนี้ ประธานไม่ขาดอายุความ ผู้ร้อง มีสิทธิ คิด ดอกเบี้ย ทบต้น จน ถึง วันที่15 พฤศจิกายน 2532 ซึ่ง เป็น วันที่ ถือว่า สัญญา บัญชีเดินสะพัด เลิกกัน ได้ ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา มา นั้น ชอบแล้ว ฎีกา ของ ผู้คัดค้านฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน