คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

หนังสือยินยอมให้ผ่อนชำระหนี้เอกสารหมายล.2เป็นเพียงหนังสือของโจทก์ที่มีถึง ป. แจ้งว่าโจทก์ยอมรับการขอผ่อนชำระหนี้ต่างๆของ ถ. ที่มีต่อโจทก์เป็นรายเดือนตามที่ ป. เสนอขอผ่อนชำระหนี้แทนมาหาใช่เป็นการทำสัญญาระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับ ป. ลูกหนี้คนใหม่แต่ประการใดไม่ทั้งหนังสือดังกล่าวก็ไม่ได้พูดถึงหนี้ของจำเลยที่มีต่อโจทก์เลยกรณีจึงไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้หนี้ที่จำเลยมีต่อโจทก์จึงยังคงมีอยู่เช่นเดิมไม่ระงับสิ้นไป หนังสือรับสภาพหนี้และรับใช้หนี้ของ ท. ที่ทำไว้แก่โจทก์ตามเอกสารหมายล.1เป็นเพียงหนังสือที่ ท.ทำขึ้นฝ่ายเดียวโดย ท. ยอมตนเข้าเป็นลูกหนี้ของโจทก์เพื่อชำระหนี้ตามเช็คที่ ท.เป็นผู้สั่งจ่ายซึ่ง ถ. และจำเลยนำมาทำสัญญาขายลดไว้แก่โจทก์โดยโจทก์กับ ท. มิได้มีการทำสัญญากันเพื่อให้หนี้ของจำเลยที่มีต่อโจทก์ตามสัญญาขายลดเช็คระงับสิ้นไปและมาบังคับตามหนี้ดังที่ระบุไว้ในเอกสารหมายล.1แต่อย่างใดกรณีจึงไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากจำเลยมาเป็น ท. หนี้ตามสัญญาขายลดเช็คของจำเลยจึงไม่ระงับสิ้นไป สิทธิเรียกร้องตามสัญญาขายลดเช็คไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิมคือมีอายุความ10ปีนับแต่วันที่เช็คพิพาทถึงกำหนดเวลาใช้เงิน ฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยค้างส่งเกิน4ปีนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คฟ้องโจทก์ส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยค้างส่งจึงขาดอายุความโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเอาแก่จำเลยนั้นจำเลยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในปัญหานี้ว่าไม่ถูกต้องอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย นำ เช็ค 4 ฉบับ มา ทำ สัญญา ขาย ลดกับ โจทก์ แต่ ธนาคาร ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน เช็ค ทั้ง สี่ ฉบับ จำเลย ต้องรับผิด ตาม สัญญา ขายลดเช็ค ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน ตามเช็ค แก่โจทก์ รวม 297,500 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ถึง วันฟ้อง 332,265.25 บาท
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ยอมรับ เอา นาย เทียมและนายปรัชญา เป็น ผู้ชำระหนี้ แทน จำเลย และ โจทก์ ได้รับ ชำระหนี้ ตาม สัญญา ขายลดเช็คจาก คน ทั้ง สอง ตลอดมา จำเลย จึง ไม่มี หนี้สิน ใด ๆ ติด ค้าง อยู่ กับโจทก์ โจทก์ ไม่มี สิทธิ คิด ดอกเบี้ย จาก จำเลย ดอกเบี้ย ที่ โจทก์คิด เกินกว่า อัตรา ที่ กฎหมาย กำหนด และ เรียก ดอกเบี้ย ค้าง ส่ง เกินกว่า5 ปี คดี โจทก์ ขาดอายุความ เพราะ ฟ้อง เกิน 1 ปี
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 297,500 บาท แก่โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 18 มกราคม 2527เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ปัญหา ข้อ แรก มี ว่า หนี้ ตาม ฟ้องโจทก์ระงับ ไป โดย การ แปลงหนี้ใหม่ ด้วย เปลี่ยน ตัว ลูกหนี้ ตาม หนังสือรับสภาพหนี้ และ รับ ใช้ หนี้ เอกสาร หมาย ล. 1 และ หนังสือ ยินยอม ให้ ผ่อนชำระหนี้ เอกสาร หมาย ล. 2 หรือไม่ สำหรับ หนังสือ ยินยอม ให้ ผ่อนชำระ หนี้เอกสาร หมาย ล. 2 นั้น เห็นว่า หนี้ ของ จำเลย ที่ มี ต่อ โจทก์ ตาม สัญญาขายลดเช็ค จะ ระงับ สิ้นไป โดย การ แปลงหนี้ใหม่ ด้วย เปลี่ยน ตัว ลูกหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350 ก็ ต่อเมื่อ โจทก์ และนาย ปรัชญา ทำ สัญญา กัน ว่า โจทก์ ยอมรับ นาย ปรัชญา เป็น ลูกหนี้ แทน จำเลย แต่ เอกสาร หมาย ล. 2 เป็น เพียง หนังสือ ของ ผู้จัดการ โจทก์สาขา ศรีย่าน ที่ มี ถึง นาย ปรัชญา แจ้ง ว่า โจทก์ ยอมรับ การ ขอ ผ่อนชำระ หนี้ ต่าง ๆ ของ นาย ถวัลย์ ที่ มี ต่อ โจทก์ รวม ประมาณ 1,700,000 บาท เป็น รายเดือน จนกว่า จะ หมด ตาม ที่นาย ปรัชญา เสนอ ขอ ผ่อนชำระ หนี้ แทน มา หาใช่ เป็น การ ทำ สัญญา ระหว่าง โจทก์ กับ นาย ปรัชญา แต่ ประการใด ไม่ ทั้ง หนังสือ ดังกล่าว ก็ มิได้ พูด ถึง หนี้ ของ จำเลย ที่ มี ต่อ โจทก์ ด้วยแม้ จะ มี การ กล่าว ถึง เช็คพิพาท ทั้ง สี่ ฉบับที่ จำเลย นำ ไป ขาย ลด ไว้กับ โจทก์ แต่ ก็ เป็น เพียง การ ย้ำ ให้ ชัดแจ้ง ว่า การ ยอม ผ่อนผัน ให้ผ่อนชำระ หนี้ นั้น ไม่เป็น ผล ให้ คดีอาญา ที่ โจทก์ แจ้งความ ร้องทุกข์ต่อ เจ้าพนักงาน ตำรวจ เกี่ยวกับ เช็ค จำนวน 13 ฉบับ ซึ่ง รวม ถึงเช็คพิพาท 4 ฉบับ ระงับ ไป จนกว่า จะ ได้รับ ชำระหนี้ ตามเช็ค เหล่านั้นครบถ้วน แสดง ให้ เห็นว่า โจทก์ ไม่ได้ มี เจตนา ที่ จะ ให้ หนี้ เดิม ระงับกรณี จึง มิใช่ เป็น การ แปลงหนี้ใหม่ ด้วย เปลี่ยน ตัว ลูกหนี้ หนี้ ที่ จำเลยมี ต่อ โจทก์ จึง ยัง คง มี อยู่ เช่น เดิม ไม่ระงับ สิ้นไป ส่วน หนังสือรับสภาพหนี้ และ รับ ใช้ หนี้ ของ นาย เทียม ศิรินพวงศากร ที่ ทำ ไว้ แก่ โจทก์ ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 นั้น เห็นว่า เป็น เพียง หนังสือ ที่นาย เทียม ทำ ขึ้น ฝ่ายเดียว โจทก์ มิได้ ลงชื่อ ด้วย และ หนังสือ ดังกล่าว มี ข้อความว่า นาย เทียม ยอมรับ ผิด ชำระหนี้ ตามเช็ค ที่นาย ถวัลย์ และ จำเลย ทำ สัญญา ขาย ลด ไว้ กับ โจทก์ จำนวน 13 ฉบับ เป็น เงิน 1,197,000 บาทซึ่ง รวม ถึง เช็คพิพาท 4 ฉบับ ที่ จำเลย ทำ สัญญา ขาย ลด ไว้ กับ โจทก์ ด้วยเพราะ นาย เทียม เป็น ผู้สั่งจ่าย ใน วัน ทำ หนังสือ นาย เทียม ชำระหนี้ ให้ โจทก์ 180,000 บาท และ ได้ ออก เช็ค ลงวันที่ ล่วงหน้า 25 ฉบับผ่อนชำระ หนี้ ที่ ยัง เป็น หนี้ อยู่ อีก 1,017,000 บาท เป็น เวลา 24 เดือนโดย นาย เทียม ตกลง ว่า หาก นาย เทียม ผิดนัด ชำระหนี้ งวดหนึ่งงวดใด ให้ โจทก์ เรียกร้อง ให้ นาย เทียม ชำระหนี้ ที่ ค้างชำระ ทั้งหมด ได้ ทันที และ การ ยอมรับ สภาพ หนี้ และ รับ ใช้ หนี้ ตาม หนังสือ นี้ ไม่เป็น การ ตัด สิทธิโจทก์ ที่ จะ เรียกร้อง หรือ ฟ้องร้อง บังคับคดี แก่ นาย ถวัลย์ และ จำเลย ตาม สัญญา ขายลดเช็ค ที่ บุคคล ทั้ง สอง ทำ กับ โจทก์ แต่ ประการใด ดังนี้เมื่อ เอกสาร หมาย ล. 1 เป็น กรณี ที่นาย เทียม มี เจตนา ฝ่ายเดียว ยอม ตน เข้า เป็น ลูกหนี้ ของ โจทก์ เพื่อ ชำระหนี้ ตามเช็ค ที่นาย เทียม เป็น ผู้สั่งจ่าย ซึ่ง นาย ถวัลย์ และ จำเลย นำ มา ทำ สัญญา ขาย ลด โดย โจทก์ กับ นาย เทียม มิได้ มี การ ทำ สัญญา กัน เพื่อ ให้ หนี้ ของ จำเลย ที่ มี ต่อ โจทก์ ตาม สัญญา ขายลดเช็ค ระงับ สิ้นไป และ มา บังคับ ตาม หนี้ ดัง ที่ ระบุไว้ ใน เอกสาร หมาย ล. 1 แต่อย่างใด กรณี จึง มิใช่ เป็น การ แปลง หนี้ใหม่ ด้วย เปลี่ยน ตัว ลูกหนี้ ดังนั้น หนี้ ตาม สัญญา ขายลดเช็ค ที่ จำเลย ทำกับ โจทก์ จึง ยัง ไม่ระงับ สิ้นไป
ปัญหา ต่อมา มี ว่า ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ หรือไม่ เห็นว่าโจทก์ ฟ้อง จำเลย ขอให้ ชำระ เงิน ตาม สัญญา ขายลดเช็ค สิทธิเรียกร้องของ โจทก์ ตาม สัญญา ขายลดเช็ค ไม่มี กฎหมาย บัญญัติ เรื่อง อายุความ ไว้โดยเฉพาะ จึง ต้อง บังคับ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164เดิม คือ มี อายุความ 10 ปี นับแต่ วันที่ เช็คพิพาท ถึง กำหนด เวลา ใช้ เงินใน เดือน มิถุนายน 2525 โจทก์ ฟ้อง เมื่อ วันที่ 18 มกราคม 2532ยัง ไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์ จึง ไม่ขาดอายุความ ฟ้องโจทก์ มิได้ บังคับจำเลย ชำระ เงิน ตามเช็ค พิพาท ดังนั้น จะ นำ อายุความ ลักษณะ ตั๋วเงินตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 ซึ่ง มี อายุความ 1 ปีมา ใช้ บังคับ แก่ คดี นี้ ตาม ที่ จำเลย ฎีกา หาได้ไม่
ส่วน ฎีกา ของ จำเลย ที่ ว่า โจทก์ ฟ้อง เรียก ดอกเบี้ย ค้าง ส่งเกิน 5 ปี นับแต่ วันที่ ธนาคาร ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน ตามเช็ค ฟ้องโจทก์ส่วน ที่ เกี่ยวกับ ดอกเบี้ย ค้าง ส่ง จึง ขาดอายุความ โจทก์ ไม่มี สิทธิเรียก ดอกเบี้ย เอา แก่ จำเลย นั้น จำเลย มิได้ ยก ข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมาย ขึ้น โต้แย้ง คัดค้าน คำวินิจฉัย ของ ศาลอุทธรณ์ ใน ปัญหา นี้ว่า ไม่ถูกต้อง อย่างไร จึง เป็น ฎีกา ที่ ไม่ ชัดแจ้ง ขัด ต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับ วินิจฉัย
พิพากษายืน

Share