คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 756/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาต้องกันให้ยกฟ้องโจทก์โดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยจับสุกรของโจทก์ร่วมไปโดยมีเจตนาเพื่อจะนำเงินที่ขายสุกรได้มาหักหนี้ที่โจทก์ร่วมเป็นหนี้จำเลยดังที่ได้เคยปฏิบัติต่อกันมาจำเลยไม่มีเป็นเจตนาทุจริตลักสุกรของโจทก์ร่วมดังนี้การที่โจทก์ร่วมฎีกาว่ามิได้ยินยอมให้จับสุกรสุกรยังเป็นกรรมสิทธิ์ของตนอยู่จำเลยจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์และฎีกาที่หยิบยกคำพยานขึ้นกล่าวอ้างเพื่อให้ศาลฟังว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตนั้นเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา220.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2526 เวลา กลางวัน จำเลยได้ บังอาจ เข้า ไป ใน บริเวณ บ้าน อัน เป็น เคหสถาน ที่ อยู่ อาศัยของ นาย สงคราม เตียนสำรวย โดย ไม่ ได้ รับ อนุญาต แล้ว บังอาจ ลักสุกร จำนวน 234 ตัว ราคา 585,000 บาท ของ นาย สงคราม เตียนสำรวยผู้เสียหาย ซึ่ง เป็น ผู้ มี อาชีพ กสิกรรม จาก เล้า สุกร ใน บริเวณเคหสถาน ไป โดย ทุจริต ขอ ให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2525มาตรา 11 ให้ จำเลย คืน หรือ ใช้ ราคา สุกร จำนวน 585,000 บาท แก่ผู้เสียหาย
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
นาย สงคราม เตียนสำรวย ผู้เสียหาย ร้อง ขอ เข้า เป็น โจทก์ร่วมศาลชั้นต้น อนุญาต
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ร่วม อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
โจทก์ร่วม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ‘คดี นี้ ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ศาลชั้นต้นและ ศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า โจทก์ร่วม มี อาชีพ เลี้ยง สุกรขาย ส่วน จำเลย เป็น พ่อค้า ขาย อาหาร สุกร โจทก์ร่วม เป็น หนี้ ค่ารำและ ปลายข้าว จำเลย วัน เกิดเหตุ จำเลย มา จับ สุกร จาก เล้า ของ โจทก์โจทก์ร่วม ไป โดย มี เจตนา จะ นำ เงิน ที่ ขาย สุกร ได้ หัก หนี้ ที่โจทก์ร่วม เป็น หนี้ จำเลย อยู่ ดัง ที่ โจทก์ร่วม และ จำเลย ได้ เคยปฏิบัติ ต่อกัน มา หลายครั้ง แล้ว ก่อน เกิดเหตุ จำเลย ไม่ มี เจตนาทุจริต ลัก สุกร ของ โจทก์ร่วม โจทก์ร่วม ฎีกา ข้อ 2.1 ว่า ‘เมื่อข้อเท็จจริง ฟัง ได้ ว่า จำเลย ได้ จับ สุกร จาก เล้า ของ โจทก์ร่วมไป จริง โดย ที่ โจทก์ร่วม มิได้ ยินยอม ให้ จับ และ สุกร ยัง เป็นกรรมสิทธิ์ ของ โจทก์ร่วม อยู่ จำเลย จึง มี ความผิด ฐาน ลักทรัพย์นั้น เห็น ว่า ฎีกา ของ โจทก์ร่วม ดังกล่าว เท่ากับ เป็น ฎีกา เพื่อให้ ศาล ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า จำเลย เอา สุกร ของ โจทก์ร่วม ไป โดยมี เจตนา ทุจริต อัน เป็น ความผิด ฐาน ลักทรัพย์ นั่นเอง จึง เป็นฎีกา โต้แย้ง ใน ปัญหา ข้อเท็จจริง ส่วน ฎีกา ใน ประการ อื่นๆ ตามฎีกา ข้อ 2.1 ซึ่ง โจทก์ ร่วม หยิบยก คำพยาน ขึ้น กล่าวอ้าง เพื่อ ให้ศาล ฟัง ว่า จำเลย มี เจตนา ทุจริต นั้น ก็ เป็น ฎีกา โต้แย้ง ใน ปัญหาข้อเท็จจริง เช่นกัน ฎีกา ของ โจทก์ร่วม จึง ต้องห้าม ตาม บทกฎหมายดังกล่าว ข้างต้น ศาลฎีกา รับ วินิจฉัย ให้ ไม่ ได้’
พิพากษา ยก ฎีกา ของ โจทก์ร่วม

Share