คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7495/2537

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องโจทก์คิดดอกเบี้ยไม่ชอบด้วยกฎหมายจำเลยไม่เคยได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามหนี้จากโจทก์และจำเลยมิได้เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวก็ตามแต่ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์เกินกว่า500,000บาทหรือไม่และจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ก็ได้วินิจฉัยรวมถึงประเด็นที่จำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้แล้วยกเว้นในประเด็นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่และฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ที่มิได้วินิจฉัยแต่เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่าการที่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวเป็นการไม่ชอบก็ถือได้ว่าจำเลยไม่ติดใจในข้อนี้แล้วดังนี้แม้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ไม่มีเหตุอันสมควรที่ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยและย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีใหม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยคดีไปตามประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย เป็น ลูกค้า ธนาคาร โจทก์ โดย เปิด บัญชีเดินสะพัดประเภท เงินฝาก กระแสรายวัน เลขที่ 099-1-02455-7 ไว้ กับ ธนาคารโจทก์ ซึ่ง หลังจาก เปิด บัญชี แล้ว จำเลย ได้ ทำ สัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชีกับ ธนาคาร โจทก์ จำนวน 2,000,000 บาท โดย ยอม เสีย ดอกเบี้ย ทบต้นใน อัตรา ร้อยละ 13.5 ต่อ ปี และ กำหนด จะ ชำระ เงิน ที่ กู้ เบิก เกินเกิน บัญชี พร้อม ดอกเบี้ย ให้ หมดสิ้น ภายใน วันที่ 15 กันยายน 2527ต่อมา จำเลย ได้ ทำ สัญญา เพิ่ม วงเงิน กู้ เบิกเงินเกินบัญชี กับ โจทก์อีก จำนวน 2,000,000 บาท รวมเป็น วงเงิน กู้ เบิกเงินเกินบัญชีจาก โจทก์ จำนวน 4,000,000 บาท จำเลย ได้ มอบ เงินฝาก ประจำ ของจำเลย ที่ ได้ ฝาก ไว้ กับ ธนาคาร โจทก์ จำนวน 4,000,000 บาท พร้อม ทั้งดอกเบี้ย เงินฝาก ให้ โจทก์ ไว้ เป็น ประกัน การ กู้ เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าว โดย ทำ หนังสือมอบอำนาจ ให้ โจทก์ หัก บัญชี หรือ ถอนเงิน ฝากประจำ ดังกล่าว รวมทั้ง ดอกเบี้ย ที่ เกิดขึ้น ทั้งหมด หรือ แต่ บางส่วน เข้าชำระหนี้ ตาม สัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชี ได้ ทุก เมื่อ ต่อมา จำเลยได้ เบิกเงิน เกินกว่า วงเงิน ที่ ทำ สัญญา ไว้ โจทก์ เตือน ให้ จำเลย นำ เงินเข้าบัญชี เพื่อ ลด ยอดหนี้ ให้ อยู่ ภายใน วงเงิน จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตามโจทก์ จึง ได้ ถอนเงิน ฝาก ประจำ พร้อม ดอกเบี้ย ของ จำเลย ที่ ให้ โจทก์ไว้ เป็น ประกัน ทั้งหมด 4,000,000 บาท และ นำเข้า บัญชีเดินสะพัดของ จำเลย เพื่อ ลด ยอดหนี้ ปรากฎ ว่า จำเลย ยัง เป็น หนี้ ธนาคาร โจทก์อีก เป็น เงิน 495,494.99 บาท ต่อมา จำเลย ได้ ผ่อนชำระ หนี้ ให้ โจทก์จำนวน 5,000 บาท และ จำนวน 26,111.12 บาท ปรากฎ ว่า ยอดหนี้ใน บัญชีเดินสะพัด ของ จำเลย ได้ เพิ่ม สูง ขึ้น โจทก์ ไม่ประสงค์ ให้ จำเลยกู้ เบิกเงินเกินบัญชี อีก ต่อไป จึง ให้ ทนายความ ทวงถาม จาก จำเลย 22 ครั้ง แต่ละ ครั้ง มี ระยะเวลา ห่าง กัน ไม่ น้อยกว่า สามสิบ วัน จำเลยมิได้ ชำระหนี้ ให้ โจทก์ รวม ต้นเงิน และ ดอกเบี้ย ที่ ค้างชำระ เป็น เงินทั้งสิ้น 834,041.64 บาท หนี้ ดังกล่าว เป็น จำนวน ที่ แน่นอน และ ถึง กำหนดชำระ แล้ว ซึ่ง มี จำนวน ไม่ น้อยกว่า 500,000 บาท จำเลย ได้รับ การ ทวงถามแล้ว ไม่ น้อยกว่า สอง ครั้ง แต่ละ ครั้ง มี ระยะเวลา ห่าง กัน ไม่ น้อยกว่าสามสิบ วัน จำเลย ไม่ชำระ หนี้ ให้ โจทก์ แสดง ว่า มี หนี้สินล้นพ้นตัวขอให้ มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จำเลย เด็ดขาด และ พิพากษา ให้ จำเลย เป็นบุคคล ล้มละลาย
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง เพราะ หนังสือ รับรองของ โจทก์ ได้รับ รอง ก่อน ฟ้องคดี นี้ เป็น เวลา เกินกว่า 30 วัน และหนังสือมอบอำนาจ ท้ายฟ้อง ไม่ได้ บ่ง ให้ ฟ้อง จำเลย ตลอดจน ตรา ประทับ ในหนังสือมอบอำนาจ ไม่ ตรง กับ ที่ ได้ ให้ ไว้ ที่ สำนักงาน ทะเบียน หุ้นส่วนบริษัท กรุงเทพมหานคร จำเลย ไม่เคย เป็น หนี้ โจทก์ โจทก์ คิด ดอกเบี้ยเกินกว่า ที่ กฎหมาย กำหนด และ เมื่อ ทวงถาม ให้ จำเลย ชำระหนี้ แล้วสัญญา เบิกเงินเกินบัญชี ระงับ คิด ดอกเบี้ย ทบต้น ไม่ได้ ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม จำเลย ไม่เคย ได้รับ คำบอกกล่าว จาก โจทก์ และ จำเลย ยัง มีทรัพย์สิน เป็น จำนวน มาก มิได้ เป็น ผู้ มี หนี้สินล้นพ้นตัว ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว มี คำสั่ง ให้ พิทักษ์ทรัพย์ จำเลย เด็ดขาดตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายก คำสั่งศาล ชั้นต้น ให้ ศาลชั้นต้น ดำเนินการพิจารณา ตามลำดับ ประเด็น แล้ว มี คำสั่ง ใหม่ ตาม รูปคดี
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี มี ปัญหา ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่า คำพิพากษาของ ศาลอุทธรณ์ ที่ ให้ยก คำสั่งศาล ชั้นต้น โดย ให้ ศาลชั้นต้น ดำเนินการพิจารณา ตามลำดับ ประเด็น ที่ จำเลย ให้การ ต่อสู้ ไว้ แล้ว มี คำสั่ง ใหม่ตาม รูปคดี นั้น ชอบ หรือไม่ เห็นว่า แม้ จำเลย จะ ให้การ ต่อสู้ คดี ว่าโจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์ เคลือบคลุม จำเลย ไม่ได้ เป็น หนี้ โจทก์ตาม ฟ้อง โจทก์ คิด ดอกเบี้ย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลย ไม่เคย ได้รับ หนังสือบอกกล่าว ทวงถาม หนี้ จาก โจทก์ และ จำเลย มิได้ เป็น ผู้ มี หนี้สินล้นพ้นตัวก็ ตาม แต่ ที่ ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ใน ประเด็น ว่า จำเลย เป็น หนี้ โจทก์เกินกว่า 500,000 บาท หรือไม่ และ จำเลย มี หนี้สินล้นพ้นตัว หรือไม่ก็ ได้ วินิจฉัย รวม ถึง ประเด็น ที่ จำเลย ได้ ให้การ ต่อสู้ ไว้ แล้วยกเว้น ใน ประเด็น ว่า โจทก์ มีอำนาจ ฟ้อง หรือไม่ และ ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม หรือไม่ ที่ มิได้ วินิจฉัย แต่เมื่อ จำเลย มิได้ อุทธรณ์โต้แย้ง ว่า การ ที่ ศาลชั้นต้น มิได้ วินิจฉัย ใน ประเด็น ดังกล่าว เป็น การไม่ชอบ ก็ ถือได้ว่า จำเลย ไม่ติดใจ ใน ข้อ นี้ แล้ว ดังนี้ แม้ เป็นปัญหา เกี่ยว ด้วย ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน ก็ ไม่มี เหตุอันสมควร ที่ศาลอุทธรณ์ จะ ยกขึ้น วินิจฉัย และ ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลชั้นต้น พิจารณาคดี ใหม่ ชอบ ที่ ศาลอุทธรณ์ จะ วินิจฉัย คดี ไป ตาม ประเด็น ที่ จำเลย อุทธรณ์
พิพากษา ให้ยก คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ให้ ศาลอุทธรณ์ พิจารณา คดีตาม อุทธรณ์ ของ จำเลย แล้ว มี คำพิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี

Share