คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 747/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่วินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์ให้เสร็จสิ้นภายใน60วันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาตรา25วรรคสองและโจทก์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายใน1ปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวตามมาตรา26วรรคหนึ่งเมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีโดยล่วงเลยกำหนดนั้นจึงไม่มีสิทธิฟ้องและประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44ข้อ2ที่ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแก้ไขค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนได้เมื่อเห็นว่าราคาที่ดินที่ถูกเวนคืนสูงขึ้นและราคาที่จ่ายให้ผู้ถูกเวนคืนไปแล้วหรือราคาเบื้องต้นที่กำหนดและประกาศไปแล้วไม่เป็นธรรมก็หามีผลบังคับให้เป็นคุณแก่โจทก์ไม่เพราะการฟ้องคดีของโจทก์ได้เสร็จเด็ดขาดไปก่อนแล้ว

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด เลขที่68690 ตำบล สามเสนใน อำเภอพญาไท กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 40 ตารางวา พร้อม สิ่งปลูกสร้าง บน ที่ดิน คือ บ้าน ไม้ 2 ชั้นเลขที่ 166/1 เมื่อ วันที่ 31 ธันวาคม 2530 ได้ มี พระราชกฤษฎีกากำหนด เขต ที่ดิน ใน บริเวณ ที่ ที่ จะ เวนคืน ใน ท้องที่ อำเภอ ปากเกร็ด อำเภอ เมืองนนทบุรี จังหวัด นนทบุรี และ เขต บางเขน เขต ดุสิต เขต พญาไท เขต ปทุมวัน เขต บางรัก เขต ยานนาวา เขต ห้วยขวาง เขตบางกะปิ เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2530เพื่อ สร้าง ทาง พิเศษ สาย แจ้งวัฒนะ – บาง โคล่ และสาย พญาไท – ศรีนครินทร์ ที่ดิน ของ โจทก์ ดังกล่าว ทั้งหมด พร้อมสิ่งปลูกสร้าง บน ที่ดิน ถูก จำเลย เวนคืน โดย จำเลย กำหนด ค่าทดแทนที่ดิน ให้ โจทก์ ตารางวา ละ 7,000 บาท เป็น เงิน 280,000 บาท ซึ่งไม่ เหมาะสม และ ไม่เป็นธรรม โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย แจ้ง ผลการ พิจารณา ว่าการ กำหนด ค่าทดแทน เหมาะสม และ เป็น ธรรม แล้วต่อมา เมื่อ มี ประกาศ คณะ รักษา ความสงบ เรียบร้อย แห่งชาติ ฉบับที่ 44จำเลย จ่าย ค่าทดแทน ที่ดิน เพิ่ม ให้ โจทก์ อีก 182,000 บาท โจทก์ เห็นว่าค่าทดแทน ที่ดิน ไม่ เหมาะสม และ ไม่เป็นธรรม เพราะ ที่ดิน ของ โจทก์อยู่ ใน ย่านชุมชน ซึ่ง มี การ พัฒนา เป็น ย่านพาณิชยกรรม การ คมนาคมสะดวก ค่าทดแทน ที่ดิน สมควร ตก ตารางวา ละ 24,000 บาท ซึ่ง โจทก์จะ ได้รับ เป็น เงิน 960,000 บาท แต่ โจทก์ ได้รับ มา แล้ว 2 ครั้งเป็น เงิน 462,000 บาท จำเลย จะ ต้อง จ่าย ให้ โจทก์ อีก 498,000 บาทพร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 9.5 ต่อ ปี นับแต่ วัน ทำ สัญญาซื้อขายถึง วันฟ้อง เป็น เวลา 4 ปี 4 เดือน เป็น เงิน ค่า ดอกเบี้ย 205,010 บาทรวมเป็น เงิน 703,010 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน 703,010 บาทพร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 9.5 ต่อ ปี จาก ต้นเงิน 498,000 บาทนับ ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ กล่าว คือ เมื่อ โจทก์ได้รับ ค่าทดแทน แล้ว โจทก์ ยื่น อุทธรณ์ ต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อ วันที่ 29 พฤษภาคม 2532 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ วินิจฉัย แล้ว เมื่อ วันที่ 29 กันยายน 2532 ถ้า โจทก์ไม่พอ ใจ คำวินิจฉัย จะ ต้อง ฟ้องคดี ภายใน 1 ปี นับแต่ วันที่ ทราบคำวินิจฉัย แต่ โจทก์ ฟ้องคดี นี้ เมื่อ วันที่ 18 สิงหาคม 2536 จึง เกินกำหนด ระยะเวลา 1 ปี กรณี ค่าทดแทน ของ โจทก์ จึง เสร็จเด็ดขาดไป ก่อน ที่ ประกาศ คณะ รักษา ความสงบ เรียบร้อย แห่งชาติ ฉบับที่ 44มีผล บังคับ ใช้ ค่าทดแทน ที่ โจทก์ ได้รับ กำหนด ขึ้น ตาม ราคาประเมินทุนทรัพย์ เพื่อ เรียกเก็บ ค่าธรรมเนียม ใน การ จดทะเบียน สิทธิ และนิติกรรม เป็น เกณฑ์ และ เป็น ราคา ที่ สูง กว่า ราคา ที่ดิน ที่ ได้ ตีราคาเพื่อ ประโยชน์ แก่ การ เสีย ภาษีบำรุงท้องที่ เพื่อ สงเคราะห์ผู้ถูกเวนคืน ที่ดิน ที่ ได้รับ ความ เดือดร้อน จึง เป็น ค่าทดแทน ที่เหมาะสม และ เป็น ธรรม แล้ว ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ว่าโจทก์ เป็น ผู้ทรงกรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 68690 ตำบล สามเสนใน อำเภอ พญาไท กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 40 ตารางวา ซึ่ง มี พระราชกฤษฎีกา กำหนด ให้ เป็น เขต เวนคืน เพื่อ สร้าง ทาง พิเศษสาย แจ้งวัฒนะ – บาง โคล่ และ สาย พญาไท – ศรีนครินทร์ ใน ปี 2530คณะกรรมการ กำหนดราคา เบื้องต้น ได้ กำหนด ค่าทดแทน ที่ดิน ให้โจทก์ เป็น เงิน 280,000 บาท โจทก์ ไม่พอ ใจ ได้ ใช้ สิทธิ อุทธรณ์ ต่อรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย เมื่อ วันที่ 29 พฤษภาคม 2532รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย ได้ แจ้ง ผล การ พิจารณา อุทธรณ์ให้ โจทก์ ทราบ เมื่อ วันที่ 29 กันยายน 2532 ว่า ราคา ค่าทดแทน ที่คณะกรรมการ กำหนด ให้ โจทก์ เหมาะสม และ เป็น ธรรม แล้ว เห็นว่าเมื่อ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย รับ อุทธรณ์ ของ โจทก์ แล้วมี หน้าที่ ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย อุทธรณ์ โจทก์ ให้ เสร็จสิ้น ภายใน 60 วันนับแต่ วันที่ ได้รับ คำอุทธรณ์ คือ ภายใน วันที่ 28 กรกฎาคม 2532ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 25 วรรคสอง ดังนั้น โจทก์ มีสิทธิ ฟ้องคดี ต่อ ศาล ได้ ภายใน 1 ปีนับแต่ วันที่ พ้น กำหนด เวลา 60 วัน ดังกล่าว คือ ภายใน วันที่ 28กรกฎาคม 2533 ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง แต่ โจทก์ ไม่ฟ้อง คดี ภายใน กำหนดโจทก์ มา ยื่น คำฟ้อง คดี นี้ วันที่ 18 สิงหาคม 2536 ล่วงเลย กำหนด เวลาดังกล่าว โจทก์ ไม่มี สิทธิ ฟ้องคดี นี้ แม้ ต่อมา จะ มี ประกาศ คณะ รักษาความสงบ เรียบร้อย แห่งชาติ ฉบับที่ 44 ข้อ 2 ให้ เพิ่มเติมพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา10 ทวิ ซึ่ง มีผล ใช้ บังคับ ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม 2534 โดย ให้ อำนาจรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย ที่ จะ แก้ไข ค่าทดแทน อสังหาริมทรัพย์ที่ ถูก เวนคืน ได้ เมื่อ เห็นว่า ราคา ที่ดิน ที่ ถูก เวนคืน สูง ขึ้น และ ราคาที่ จ่าย ให้ ผู้ถูกเวนคืน ไป แล้ว หรือ ราคา เบื้องต้น ที่ กำหนด และ ประกาศไป แล้ว ไม่เป็นธรรม ก็ ตาม แต่ ประกาศ คณะ รักษา ความสงบ เรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ข้อ 2 หา มีผล บังคับ ให้ เป็น คุณ แก่ โจทก์สำหรับ คดี นี้ แต่อย่างใด เพราะ ประกาศ คณะ รักษา ความสงบ เรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ดังกล่าว ข้อ 5 กำหนด ว่า การ แก้ไข เพิ่มเติมพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 10 ทวิ ให้ มีผล ใช้ บังคับ แก่ การ เวนคืน ซึ่ง การ กำหนดราคาเบื้องต้น การ จัดซื้อ การ จ่าย หรือ การ วางเงิน ค่าทดแทน การ อุทธรณ์หรือ การ ฟ้องคดี ยัง ไม่ เสร็จเด็ดขาด ใน วันที่ ประกาศ คณะ รักษาความสงบ เรียบร้อย แห่งชาติ ฉบับนี้ ใช้ บังคับ ด้วย เท่านั้น แต่ กรณีของ โจทก์ การ ฟ้องคดี ได้ เสร็จเด็ดขาด แล้ว ใน ปี 2533 คำฟ้อง ของโจทก์ จึง มิได้ รับ ประโยชน์ จาก การ แก้ไข เพิ่มเติม พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ตาม ประกาศคณะ รักษา ความสงบ เรียบร้อย แห่งชาติ ฉบับที่ 44 แต่อย่างใดฎีกา โจทก์ ปัญหา นี้ ฟังไม่ขึ้น คดี ไม่จำต้อง วินิจฉัย ปัญหา อื่น ตาม ฎีกาโจทก์ อีก ”
พิพากษายืน

Share