แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
คำว่า”บิดา”ตามพระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัดฯ มาตรา16ทวิและ19หมายถึงทั้งบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะบทบัญญัติดังกล่าวที่กำหนด คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหาได้มุ่งถึงสถานะของผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียงฝ่ายเดียวเป็นสาระสำคัญไม่แต่คำนึงถึงเชื้อชาติตามความเป็นจริง จำเลยแจ้งความอันเป็นเท็จโดยกรอกข้อความในใบสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัดว่าบิดาจำเลยเป็นคนสัญชาติไทยและจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปี4โดยรู้อยู่ว่าไม่เป็นความจริงจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา137และพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัดฯมาตรา64
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย แจ้ง ข้อความ โดย วิธีการ กรอก ใบ สมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาจังหวัด แบบ สจ. 1 ข้อ 7 ว่า ตน มี บิดา ชื่อนาย กวางห่าง แซ่กอ สัญชาติ ไทย และ ข้อ 10 ว่า ตน มี ความรู้ สอบไล่ ได้ ชั้น มัธยม ปี ที่ 4 อันเป็น ความเท็จ แก่ นาย อุดม ปลัดอำเภอ รักษา ราชการ แทน นายอำเภอ เชียงยืน เจ้าพนักงาน ผู้ทำ หน้าที่ รับสมัคร ความจริง แล้ว บิดา ของ จำเลย เป็น คนต่างด้าว สัญชาติ จีน และ จำเลยมี ความรู้ เพียง สอบไล่ ได้ ชั้น ประถม ปี ที่ 4 ยัง ไม่สำเร็จ ชั้น มัธยมปี ที่ 4 ขอให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137, 91พระราชบัญญัติ การเลือกตั้ง สมาชิกสภาจังหวัด พ.ศ. 2482 มาตรา 64และ สั่ง เพิกถอน สิทธิ เลือกตั้ง ของ จำเลย มี กำหนด เวลา 8 ปี
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 พระราชบัญญัติ การเลือกตั้ง สมาชิกสภาจังหวัด พ.ศ. 2482มาตรา 64 เป็น การกระทำ หลายกรรม ต่างกัน เรียง กระทง ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 รวม 2 กระทง จำคุก กระทง ละ 6 เดือนและ ปรับ กระทง ละ 1,000 บาท รวม จำคุก 12 เดือน ปรับ 2,000 บาทเพิกถอน สิทธิ การเลือกตั้ง ของ จำเลย มี กำหนด 8 ปี โทษ จำคุก ให้ รอการลงโทษไว้ มี กำหนด 2 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 หาก จำเลย ไม่ชำระค่าปรับ ให้ จัดการ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟังได้ เป็นยุติ ตาม ที่ ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 วินิจฉัย มา และ คู่ความมิได้ ฎีกา โต้แย้ง ว่า ใน วัน เวลา และ สถานที่เกิดเหตุ ตาม ฟ้อง จำเลยเป็น คน สัญชาติ ไทย โดย กำเนิด ซึ่ง มี บิดา ที่ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นคนต่างด้าว เชื้อชาติ จีน สัญชาติ จีน ได้ สมัคร รับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาจังหวัด มหาสารคาม เขต อำเภอ เชียงยืน ต่อ เจ้าพนักงาน ตาม พระราชบัญญัติ การเลือกตั้ง สมาชิกสภาจังหวัด พ.ศ. 2482 และ แจ้งข้อความ โดย วิธี กรอก ใบ สมัคร รับเลือกตั้ง สมาชิกสภาจังหวัด แบบ สจ. 1ข้อ 7 ว่า จำเลย มี บิดา ชื่อ นาย กวางห่าง แซ่กอ เป็น คน สัญชาติ ไทย และ ข้อ 10 ว่า จำเลย มี ความรู้ สอบไล่ ได้ ชั้น มัธยม ปี ที่ 4 มี ปัญหา ว่าจำเลย ได้ กระทำผิด ตาม ฟ้อง หรือไม่ เห็นว่า ตาม พระราชบัญญัติการเลือกตั้ง สมาชิกสภาจังหวัด พ.ศ. 2482 มาตรา 19 บัญญัติ ว่า”บุคคล ผู้ มี สัญชาติ ไทย ซึ่ง บิดา เป็น คนต่างด้าว จะ เป็น ผู้ สมัคร ได้ ต้องมี คุณสมบัติ ตาม มาตรา 16 ทวิ และ มี คุณสมบัติ อย่างใด อย่างหนึ่งดัง ต่อไป นี้ ด้วย คือ
(1) เป็น ผู้ ได้ เข้า เรียน อยู่ ใน โรงเรียน ตาม กำหนด เวลา และ สอบไล่ได้ไม่ ต่ำกว่า ระดับ มัธยม ศึกษา ตอน ปลาย ตาม หลัก สูตร ของกระทรวงศึกษาธิการ หรือ ตาม แผนการ ศึกษา ของ ชาติ หรือ ได้ เข้า เรียนอยู่ ใน โรงเรียน หรือ สถาบัน การศึกษา อื่น ใน ประเทศ ตาม กำหนด เวลามา โดย ตลอดจน มี ความรู้ ตาม ที่ กระทรวงศึกษาธิการ เทียบเท่า หรือ รับรองว่า เทียบ ได้ไม่ ต่ำกว่า ระดับ มัธยม ศึกษา ตอน ปลาย ตาม หลัก สูตร ของกระทรวงศึกษาธิการ หรือ แผนการ ศึกษา ของ ชาติ
(2)…. ฯลฯ ”
ตาม บทบัญญัติ ที่ กำหนด คุณสมบัติ ของ ผู้มีสิทธิ สมัคร รับเลือกตั้งดังกล่าว หา ได้ มุ่ง ถึง สถานะ ของ บุคคล ผู้สมัครรับเลือกตั้ง แต่เพียงฝ่ายเดียว เป็น สาระสำคัญ ไม่ แต่ จะ ต้อง คำนึง ถึง เชื้อชาติ ตามความ เป็น จริง เพราะ การ เป็น บิดา มารดา เป็น ข้อเท็จจริง อาศัย ความเกี่ยวข้อง ทาง สายโลหิต แม้ บุคคล นอก สมรส ซึ่ง ตาม กฎหมาย ถือว่าผู้ให้กำเนิด เป็น บิดา ไม่ได้ แต่ ผู้ให้กำเนิด ก็ เป็น บิดา ได้ ตาม พฤตินัยนอกจาก นี้ ยัง คำนึง ถึง วัย และ ประสบการณ์ ตลอดจน ความผูกพัน ต่อ ภูมิภาคที่ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง เกี่ยวข้อง อยู่ ด้วย ใน เขต เลือกตั้ง ประกอบ กันทั้งนี้ เพื่อ ให้ ได้ สมาชิกสภาจังหวัด ที่ เป็น บุคคล อยู่ ใน ภูมิภาคซึ่ง สามารถ เข้า มา มี ส่วน ร่วม ใน การ บริหาร และ พัฒนา จังหวัด ได้ อย่างมี ประสิทธิภาพ จาก วัตถุประสงค์ ดังกล่าว แล้ว จึง เห็นว่า ผู้ สมัครรับเลือกตั้ง เป็น สมาชิกสภาจังหวัด ที่ มี บิดา เป็น คนต่างด้าว จึงไม่จำต้อง เป็น บิดา ที่ชอบ ด้วย กฎหมาย ดังนั้น คำ ว่า “บิดา ” ตามพระราชบัญญัติ การเลือกตั้ง สมาชิกสภาจังหวัด พ.ศ. 2482 มาตรา 19และ มาตรา 16 ทวิ จึง หมายถึง ทั้ง บิดา ที่ชอบ ด้วย กฎหมาย และ บิดาที่ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คดี มี ปัญหา วินิจฉัย ต่อไป ว่า จำเลย มี ความรู้สอบไล่ ได้ ชั้น มัธยม ปี ที่ 4 หรือไม่ โจทก์ มี นาย ประมูล จรูญรักษ์ ผู้อำนวยการ โรงเรียน บ้านเชียงยืน เป็น พยาน เบิกความ ว่า พยาน รับ ราชการ อยู่ ที่ โรงเรียน บ้านเชียงยืน ตั้งแต่ ปี 2502 จน ถึง ปัจจุบัน เมื่อ ปี 2522 จำเลย ได้ สมัคร เข้า ศึกษา ใน หลัก สูตรการศึกษา ผู้ใหญ่ แบบ เบ็ดเสร็จ ระดับ 4 เทียบเท่า มัธยม ศึกษา ตอนต้นซึ่ง จะ ต้อง เรียน ทั้งหมด 3 เท อม จึง จะ จบ หลัก สูตร หาก ศึกษา จบ จะ ได้วุฒิมัธยม ปี ที่ 3 จำเลย เรียน อยู่ เพียง 1 เท อม จึง ไม่ จบ หลัก สูตรปรากฏ หลักฐาน ตาม เอกสาร หมาย จ. 3 และ จ. 4 ซึ่ง ตาม เอกสาร หมาย จ. 3และ จ. 4 เป็น รายงาน ที่นาย ประมูล รายงาน ต่อ นายอำเภอ เชียงยืน ผู้บังคับบัญชา จึง เชื่อ ได้ว่า รายงาน ตาม ความจริง คำเบิกความ ของนาย ประมูล ประกอบ เอกสาร ดังกล่าว จึง มี น้ำหนัก อันควร แก่ การ รับฟัง ที่ จำเลย อ้างว่า จำเลย ศึกษา จบ หลัก สูตร ชั้น มัธยม ปี ที่ 4 จากโรงเรียน แสงศรวิทยา ตาม ใบสุทธิ เอกสาร หมาย ล. 3 นั้น จำเลย ไม่มี พยานหลักฐาน อื่น มา สืบ สนับสนุน ให้ รับฟัง ได้ ตาม ที่ อ้างนอกจาก นี้ ตาม เอกสาร หมาย ล. 3 ระบุ ว่า จำเลย จบ หลัก สูตร ชั้น มัธยม ปี ที่ 4เมื่อ ปี 2504 ซึ่ง หาก เป็น จริง ตาม นั้น จำเลย ก็ ไม่ น่า มา สมัครเข้า ศึกษา ใน หลัก สูตร การศึกษา ผู้ใหญ่ แบบ เบ็ดเสร็จ ระดับ 4 ซึ่ง มีวุฒิเมื่อ ศึกษา จบ หลัก สูตร เพียง มัธยม ปี ที่ 3 ตาม เอกสาร หมาย จ. 3และ จ. 4 อีก ที่ จำเลย อ้างว่า จำเลย ศึกษา จบ ชั้น มัธยม ปี ที่ 4ตาม เอกสาร หมาย ล. 3 จึง ไม่มี น้ำหนัก ให้ รับฟัง พยานหลักฐาน ของ จำเลยไม่สามารถ หักล้าง พยานหลักฐาน ของ โจทก์ ได้ ข้อเท็จจริง จึง รับฟัง ได้ตาม พยานหลักฐาน โจทก์ ว่า จำเลย ไม่ จบ การศึกษา ชั้น มัธยม ปี ที่ 4จำเลย รู้ อยู่ แล้ว ว่า บิดา ของ จำเลย เป็น คน สัญชาติ จีน และ รู้ อยู่ว่า ตน ไม่ จบ ชั้น มัธยม ปี ที่ 4 ไม่มี สิทธิ สมัคร รับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาจังหวัด แต่ กลับ แจ้งความ อันเป็นเท็จ โดย กรอก ข้อความใน ใบ สมัคร รับเลือกตั้ง สมาชิกสภาจังหวัด ว่า บิดา จำเลย เป็น คน สัญชาติไทย และ จำเลย จบ การศึกษา ชั้น มัธยม ปี ที่ 4 จำเลย จึง มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 พระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด พ.ศ. 2482 มาตรา 64 ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายกฟ้อง โจทก์ นั้น ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ”
พิพากษากลับ ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137พระราชบัญญัติ การเลือกตั้ง สมาชิกสภาจังหวัด พ.ศ. 2482 มาตรา 64การกระทำ ของ จำเลย เป็น กรรมเดียว ผิด ต่อ กฎหมาย หลายบท ให้ ลงโทษ ตามพระราชบัญญัติ การเลือกตั้ง สมาชิกสภาจังหวัด พ.ศ. 2482 มาตรา 64อันเป็น บทหนัก ที่สุด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 6 เดือนและ ปรับ 1,000 บาท เพิกถอน สิทธิ เลือกตั้ง จำเลย มี กำหนด 8 ปี จำเลยไม่เคย ต้องโทษ จำคุก มา ก่อน ประกอบ กับ จำเลย ได้รับ เลือกตั้ง ให้ เป็นสมาชิกสภาจังหวัด แสดง ว่า จำเลย เคย สร้าง คุณ ประโยชน์ ให้ ประชาชน มา ก่อนหลังจาก จำเลย ลาออก แล้ว ผู้ว่าราชการจังหวัด มหาสารคาม มี หนังสือ ชมเชยใน การปฏิบัติหน้าที่ ของ จำเลย จำเลย ไม่ควร ต้องโทษ จำคุก จึง รอ การลงโทษ จำคุก จำเลย ไว้ มี กำหนด 2 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56ไม่ชำระ ค่าปรับ ให้ จัดการ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30