แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
คดีก่อนอัยการเป็นโจทก์ฟ้องเพื่อประโยชน์ของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1562อันเป็นการฟ้องแทนจำเลยซึ่งห้ามมิให้ฟ้องโจทก์ซึ่งเป็นบุพการีคำพิพากษาศาลฎีกาในกรณีดังกล่าวจึงมีผลผูกพันจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคแรกที่พิพากษายืนตามศาลล่างทั้งสองว่าจำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์เมื่อประเด็นพิพาทในคดีนี้มีเพียงว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเท่านั้นคดีก็ไม่ต้องสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยอีกต่อไป คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งแปลงแต่ให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมแทนโจทก์ด้วยและขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ถือกรรมสิทธิ์รวมออกจากโฉนดจึงเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30และไม่พ้นอายุความห้ามมิให้ฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา240ซึ่งใช้เฉพาะสำหรับกรณีฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237เท่านั้น
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย เป็น บุตร โจทก์ โจทก์ และ จำเลย เป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1035 จำเลย ขาย ที่ดิน บางส่วน ให้นาย สุนทร และ ได้ ดำเนินการ รังวัด แบ่งแยก ที่ดิน ออก เป็น แปลง ๆ โฉนด ที่ดิน เลขที่ 27362 ซึ่ง แบ่งแยก จาก โฉนด เลขที่ 1035 จึง เป็นที่ดิน ที่ มี ชื่อ โจทก์ และ จำเลย ถือ กรรมสิทธิ์รวม กัน โจทก์ ได้ ครอบครองทำประโยชน์ ใน ที่ดิน ตั้งแต่ เป็น โฉนด เลขที่ 1035 จน เปลี่ยน มา เป็นเลขที่ 27362 โดย จำเลย มิได้ เกี่ยวข้อง ต่อมา จำเลย ขอให้ พนักงานอัยการเป็น โจทก์ ฟ้องโจทก์ คดี นี้ เป็น จำเลย ให้ แบ่งแยก ที่ดิน เป็น ส่วน ของ จำเลยโจทก์ ใน คดี นี้ ให้การ ต่อสู้ ว่า ที่ดิน ดังกล่าว มิใช่ ของ จำเลย แต่ เป็นของ โจทก์ ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง ศาลอุทธรณ์ และ ศาลฎีกา พิพากษายืนและ คดีถึงที่สุด แล้ว ที่ดินพิพาท ส่วน ที่ มี ชื่อ เป็น ของ จำเลย นั้นย่อม เป็น ของ โจทก์ ขอให้ ศาล พิพากษา เพิกถอน ชื่อ จำเลย ที่ ถือกรรมสิทธิ์รวม ออกจาก โฉนด ที่ดิน เลขที่ 27362 และ ให้ ที่ดิน ตกเป็นกรรมสิทธิ์ ของ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ มี กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน เพียง 4 ไร่ เศษส่วน คดี ที่ จำเลย ให้ พนักงานอัยการ เป็น โจทก์ ฟ้องโจทก์ คดี นี้ เป็น จำเลยซึ่ง ศาลชั้นต้น มี คำพิพากษา ยกฟ้อง ก็ ยัง ฟัง ไม่ ยุติ ว่า จำเลย ถูก เพิกถอนกรรมสิทธิ์ และ โจทก์ เป็น ผู้ ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาท แทน จำเลยและ แม้ ต่อมา ศาลฎีกา จะ มี คำพิพากษา ยืน ตาม ศาลล่าง แต่ ก็ มิได้ พิพากษาเพิกถอน กรรมสิทธิ์ ของ จำเลย คำพิพากษา ศาลฎีกา จึง ไม่ชอบ โจทก์ ฟ้องคดี เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ เพิกถอน ชื่อ จำเลย ออกจาก เจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 27362 และ ให้ ใส่ ชื่อ โจทก์ แทน
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ให้ ศาลชั้นต้นดำเนินการ พิจารณา และ พิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ก่อน พนักงานอัยการ กรมอัยการ เป็น โจทก์ ฟ้องเพื่อ ประโยชน์ ของ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562อันเป็น การ ฟ้อง แทน จำเลย ซึ่ง ต้องห้าม มิให้ ฟ้องโจทก์ ซึ่ง เป็น บุพการีคำพิพากษา ศาลฎีกา คดี ดังกล่าว จึง มีผล ผูกพัน จำเลย ซึ่ง เป็น คู่ความใน คดี นี้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรกเมื่อ ปรากฏว่า คดี ดังกล่าว ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา ต้อง กัน ว่า จำเลยมี ชื่อ ถือ กรรมสิทธิ์ ใน โฉนด ที่ดินพิพาท แทน โจทก์ และ ศาลฎีกา พิพากษายืนผล แห่ง คำพิพากษา ศาลฎีกา ย่อม ผูกพัน คู่ความ เมื่อ ประเด็น พิพาทใน คดี นี้ มี เพียง ว่า โจทก์ หรือ จำเลย เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาทเท่านั้น คดี ก็ ไม่จำเป็น ต้อง สืบพยานโจทก์ และ พยาน จำเลย อีก ต่อไปเพราะ ผล แห่ง คำพิพากษา ศาลฎีกา ดังกล่าว ผูกพัน คู่ความ ชัดเจน แล้ว ว่าจำเลย มี ชื่อ ถือ กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท แทน โจทก์
โจทก์ ฟ้อง อ้างว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาททั้ง แปลง แต่ ให้ จำเลย ถือ กรรมสิทธิ์รวม แทน โจทก์ ด้วย และ ขอให้ เพิกถอนชื่อ จำเลย ที่ ถือ กรรมสิทธิ์รวม ออกจาก โฉนด จึง เป็น กรณี ที่ โจทก์ใช้ สิทธิ ติดตาม เอาคืน ซึ่ง ทรัพย์สิน ของ ตน จาก จำเลย ผู้ ไม่มี สิทธิจะ ยึดถือ ไว้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ซึ่งไม่มี กำหนด อายุความ จึง ไม่อยู่ ใน บังคับ ของ ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 193/30 ที่ ให้ มี กำหนด อายุความ 10 ปี ดัง ที่จำเลย กล่าวอ้าง ใน คำ แก้ ฎีกา และ กรณี เช่นนี้ ก็ ไม่ เข้า เกณฑ์ พ้นอายุความ ห้าม มิให้ ฟ้องร้อง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240เพราะ อายุความ ห้าม ฟ้อง ตาม มาตรา 240 ที่ กำหนด ห้าม มิให้ ฟ้องร้องเมื่อ พ้น ปี หนึ่ง นับแต่ เวลา ที่ เจ้าหนี้ ได้ รู้ ต้นเหตุ อันเป็น มูลให้ เพิกถอน หรือ พ้น 10 ปี นับแต่ ได้ ทำนิติกรรม นั้น ใช้ เฉพาะ สำหรับกรณี ฟ้อง เพิกถอน การ ฉ้อฉล ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237เท่านั้น แต่ คดี นี้ เป็น การ ฟ้อง เพิกถอน ชื่อ จำเลย ที่ ถือ กรรมสิทธิ์แทน ออกจาก โฉนด ที่ดินพิพาท อันเป็น การ ใช้ สิทธิ ติดตาม เอาคืน ซึ่งกรรมสิทธิ์ ใน ทรัพย์สิน ของ โจทก์ หาใช่ เป็น การ ฟ้อง เพิกถอน การ ฉ้อฉล ไม่
พิพากษากลับ ให้ บังคับคดี ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น