คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

คำวินิจฉัยของคชก.ตำบลที่มิได้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯตามมาตรา56ย่อมถึงที่สุดแต่มาตรา58วรรคหนึ่งบัญญัติว่าในกรณีที่มีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยดังกล่าวเมื่อ ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอต่อศาลในการพิจารณาคดีของศาลให้ถือว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวเป็น คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการโดยให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาตามคำวินิจฉัยดังกล่าวในกรณีนี้โดยอนุโลมซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา221บัญญัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการคือพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการฯมาตรา24วรรคสองให้ศาลมีอำนาจแก้ไขในกรณีที่คำชี้ขาดมีข้อบกพร่องอันมิใช่สาระและอาจแก้ไขได้เช่นการคำนวณตัวเลขหรือการกล่าวอ้างถึงบุคคลหรือทรัพย์สิ่งใดผิดพลาดไปแต่การนำบทบัญญัติดังกล่่าวมาใช้บังคับเพียงเท่าที่ไม่ขัดต่อสภาพความชอบกฎหมายของคำวินิจฉัยถึงที่สุดของคชก.ตำบลโดยเฉพาะข้อที่ว่าราคาที่คชก.ตำบลวินิจฉัยให้ผู้รับโอนขายนาให้แก่ผู้เช่านาเป็นราคาตามพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา54วรรคหนึ่งหรือไม่ศาลต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานและกำหนดราคาให้ถูกต้องแล้วพิพากษาบังคับให้ขายตามราคาที่กำหนดไปได้แม้จะเป็นการแก้ไขคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของคชก.ตำบลก็ตาม

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ดำเนินการ จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ที่นา โฉนด เลขที่ 9204 แก่ โจทก์ ใน ราคา 216,000 บาท ตาม มติคชก. ตำบล ชายนา หาก จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม ก็ ให้ จำเลย ส่งมอบ โฉนด ที่ดิน แปลง ดังกล่าว ต่อ ศาล และ ให้ โจทก์ วางเงิน จำนวน 216,000 บาทแล้ว รับ โฉนด ไป ดำเนินการ จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ เอง โดย ถือเอาตาม คำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย จำเลย ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้องโจทก์ โจทก์ อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ว่า ให้ จำเลย จดทะเบียน โอน ขาย ที่นา โฉนดเลขที่ 9204 แก่ โจทก์ ใน ราคา 216,000 บาท (ไร่ ละ 8,000 บาท ) หาก จำเลยไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ โจทก์ วางเงิน ตาม จำนวน ดังกล่าว ต่อ ศาล เพื่อ ให้ จำเลยรับ ไป และ ให้ โจทก์ ไป ดำเนินการ จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ เอง โดยให้ ถือเอา ตาม คำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย จำเลย ฎีกา ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า โจทก์ เป็น ผู้เช่าที่นา พิพาท ฎีกา จำเลย ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น จำเลย ฎีกา ต่อไป ว่า มติ ของ คชก.ตำบล ชายนา ไม่ชอบ เพราะ ไม่ เรียก เจ้าของ ที่นา พิพาท เดิม เข้าร่วม ประชุม นาย ดำรงค์ สามี จำเลย ไม่ได้ เข้า ประชุม แทน เจ้าของ ที่นา พิพาท คชก. ตำบล ชายนา ไม่ วินิจฉัย ว่า โจทก์ เป็น ผู้เช่า นา หรือไม่ เสีย ก่อน เห็นว่า ตาม พระราชบัญญัติ การเช่าที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 54 วรรคสอง กล่าว ถึง เฉพาะผู้เช่า นา คือ โจทก์ กับ ผู้รับโอน คือ จำเลย เท่านั้น ฉะนั้น จึง ไม่จำต้องเรียก เจ้าของ ที่นา พิพาท เดิม เข้าร่วม ประชุม และ นาย ดำรงค์ เบิก ความ เป็น พยาน จำเลย รับ ว่า ไป ประชุม แทน จำเลย และ นาย ดำรงค์ แถลง ต่อ ที่ ประชุม รับ ว่า โจทก์ เป็น ผู้เช่า ที่นา พิพาท ข้อเท็จจริง จึงฟังได้ ตาม ที่นาย ดำรงค์ เบิกความ ฉะนั้น คชก. ตำบล ชายนา ไม่จำต้อง วินิจฉัย ข้อเท็จจริง ดังกล่าว อีก ฎีกา จำเลย ข้อ นี้ฟังไม่ขึ้น จำเลย ฎีกา ข้อ สุดท้าย ว่า ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ให้ จำเลยโอน ขาย ที่นา พิพาท ให้ โจทก์ ใน ราคา 216,000 บาท ไม่ชอบ เพราะจำเลย ซื้อ ที่นา พิพาท จาก ผู้ขาย ใน ราคา 630,000 บาท ข้อ นี้โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ซื้อ ที่นา พิพาท ไร่ ละ 8,000 บาท รวม เงิน216,000 บาท ขอให้ บังคับ ให้ จำเลย ขาย ที่ดิน ให้ โจทก์ ใน ราคา ดังกล่าวเห็นว่า พระราชบัญญัติ การเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 54 วรรคหนึ่ง บัญญัติ ว่า “ถ้า ผู้ให้เช่า นา ขาย นา ไป โดย มิได้ปฏิบัติ ตาม มาตรา 53 ไม่ว่า นา นั้น จะ ถูก โอน ต่อไป ยัง ผู้ใด ผู้เช่า นามีสิทธิ ซื้อ นา จาก ผู้รับโอน นั้น ตาม ราคา และ วิธีการ ชำระ เงิน ที่ผู้รับโอน ซื้อ ไว้ หรือ ตาม ราคา ตลาด ใน ขณะ นั้น แล้วแต่ ราคา ใด จะ สูงกว่า กัน ” ฉะนั้น คำวินิจฉัย ของ คชก. ตำบล ชายนา ที่ ให้ โจทก์ ซื้อ ที่นา พิพาท จาก จำเลย ใน ราคา ที่นา ง พยุง ขาย ให้ จำเลย จึง ไม่ต้อง ด้วย บท กฎหมาย ดังกล่าว เพราะ โจทก์ มีสิทธิ ซื้อ ที่นา พิพาท จาก จำเลยใน ราคา ที่ จำเลย ซื้อ ไว้ จาก นาง พยุง หรือ ตาม ราคา ตลาด ใน ขณะที่ มี การ ซื้อ ขาย กัน ตาม ที่ กฎหมาย กำหนด ไว้ ดังกล่าว ฎีกา จำเลยข้อ นี้ ฟังขึ้น อนึ่ง เกี่ยวกับ คำวินิจฉัย ของ คชก. ตำบล ชายนา นี้ แม้ พระราชบัญญัติ การเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม พ.ศ. 2524 จะ บัญญัติใน มาตรา 56 วรรคสอง ว่า คำวินิจฉัย ของ คชก. ตำบล ที่ มิได้ อุทธรณ์ตาม มาตรา 56 วรรคหนึ่ง ให้ เป็น ที่สุด และ ใน มาตรา 58 วรรคหนึ่งว่า ใน กรณี มี การ ฝ่าฝืน หรือไม่ ปฏิบัติ ตาม คำวินิจฉัย ดังกล่าว เมื่อผู้มีส่วนได้เสีย ร้องขอ ต่อ ศาล ใน การ พิจารณา ของ ศาล ให้ ถือว่าคำวินิจฉัย ดังกล่าว เป็น คำชี้ขาด ของ อนุญาโตตุลาการ โดย ให้ นำ บทบัญญัติว่าด้วย การ พิจารณา พิพากษา ตาม คำชี้ขาด ของ อนุญาโตตุลาการใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มา ใช้ บังคับ แก่ การ พิจารณาพิพากษา ตาม คำวินิจฉัย ดังกล่าว ใน กรณี นี้ โดย อนุโลม ซึ่ง การ พิจารณาพิพากษา ดังกล่าว นี้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 221บัญญัติ ให้ เป็น ไป ตาม กฎหมาย ว่าด้วย อนุญาโตตุลาการ คือ พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 โดย พระราชบัญญัติ นี้ บัญญัติ ใน มาตรา24 วรรคหนึ่ง ว่า “ใน กรณี ที่ ศาล เห็นว่า คำชี้ขาด ใด ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ ใช้ บังคับ แก่ ข้อพิพาท นั้น หรือ เป็น คำชี้ขาด ที่ เกิดจาก การกระทำหรือ วิธีการ อัน มิชอบ อย่างใด อย่างหนึ่ง หรือ มิได้ อยู่ ใน ขอบเขต แห่งสัญญา อนุญาโตตุลาการ ที่ มีผล ผูกพัน ตาม กฎหมาย หรือ คำขอ ของ คู่กรณีให้ ศาล มีอำนาจ ทำ คำสั่ง ปฏิเสธ ไม่รับ บังคับ ตาม คำชี้ขาด นั้น ” และ ในมาตรา 24 วรรคสอง ว่า “ใน กรณี ที่ คำชี้ขาด ใด มี ความ บกพร่องอัน มิใช่ สาระสำคัญ และ อาจ แก้ไข ให้ ถูกต้อง ได้ เช่น การ คำนวณตัวเลข หรือ การ กล่าวอ้าง ถึง บุคคล หรือ ทรัพย์ สิ่ง ใด ผิดพลาด ไป ศาล อาจแก้ไข ให้ ถูกต้อง และ มี คำพิพากษา ให้ บังคับ ตาม คำชี้ขาด ที่ ได้ แก้ไข แล้วนั้น ได้ ” แต่ ก็ เห็น ได้ว่า การ นำ บทบัญญัติ ว่าด้วย การ พิจารณา พิพากษาตาม คำชี้ขาด ของ อนุญาโตตุลาการ ดังกล่าว มา ใช้ บังคับ แก่ การ พิจารณาพิพากษา บังคับ ตาม คำวินิจฉัย ที่ ถึงที่สุด ของ คชก. ตำบล จะ ต้อง นำบทบัญญัติ ดังกล่าว มา ใช้ บังคับ เพียง เท่าที่ ไม่ ขัด ต่อ สภาพ ความชอบ ด้วยกฎหมาย ของ คำวินิจฉัย ที่ ถึงที่สุด ของ คชก. ตำบล โดยเฉพาะ ใน ข้อ ที่ ว่าราคา ที่ คชก. ตำบล วินิจฉัย ให้ ผู้รับโอน ขาย นา ให้ แก่ ผู้เช่า นาเป็น ราคา ตาม พระราชบัญญัติ การเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 54 วรรคหนึ่ง หรือไม่ มิใช่ ข้อ ที่ เป็น ดุลพินิจ เด็ดขาด ของคชก. ตำบล ใน การ พิจารณา ว่า จะ บังคับ ตาม คำวินิจฉัย ของ คชก.ตำบล หรือไม่ ศาล ต้อง พิจารณา ว่า ราคา ที่ คชก. ตำบล วินิจฉัยเป็น ราคา ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าว หรือไม่ ถ้า มิใช่ ศาล ย่อม พิจารณาจาก พยานหลักฐาน และ กำหนดราคา ให้ ถูกต้อง แล้ว พิพากษา ให้ บังคับ ให้ขาย ตาม ราคา ที่ กำหนด ไป ได้ แม้ การ พิพากษา ดังกล่าว จะ เป็น การแก้ไข คำวินิจฉัย ที่ ถึงที่สุด ของ คชก. ตำบล ซึ่ง มิใช่ เป็น การ แก้ไขตาม มาตรา 24 วรรคสอง ของ พระราชบัญญัติ อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530ดังนั้น ใน เมื่อ จำเลย ต่อสู้ ว่า ซื้อ ที่นา พิพาท ใน ราคา 630,000 บาท จึงมี ปัญหา ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ต่อไป ว่า โจทก์ มีสิทธิ ซื้อ ที่นา พิพาท จากจำเลย ใน ราคา ใด ข้อ นี้ จำเลย นำสืบ ว่า จำเลย ซื้อ ที่นา พิพาท จากนาง พยุง กับพวก ใน ราคา 630,000 บาท พยาน จำเลย มี นาย ดำรงค์ สามี จำเลย และ นาง พยุง เจ้าของ ที่ดิน มา เบิกความ สนับสนุน ศาล ตรวจ ดู รายงาน การ ประชุม คชก. ตำบล ชายนา เอกสาร หมาย จ. 4 นาย ดำรงค์ แถลงว่า นาง พยุง ได้ กู้ยืม เงิน 500,000 บาท ไม่มี เงิน ใช้ จึง ขาย ที่นา ตำบล ชายนา จำนวน 27 ไร่ ใน ราคา ไร่ ละ 25,000 บาท เป็น เงิน 675,500 บาท เห็นว่า การ ซื้อ ขาย ดังกล่าว จำเลย ไม่มี หลักฐานการ ซื้อ ขาย มา แสดง ว่า ตกลง ซื้อ ขาย กัน ใน ราคา ดังกล่าว จริง แต่ ที่ดินตั้ง อยู่ ตำบล ชายนา อำเภอ เสนา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ด้าน ทิศตะวันตก ติด ทาง สาธารณประโยชน์ ที่ จดทะเบียน โอน ขาย ไร่ ละ 8,000 บาทน่า จะ ไม่ ตรง ต่อ ความ เป็น จริง ซึ่ง โจทก์ เอง ก็ เบิกความ รับ ว่าใน ช่วง ปี 2531 ที่ดิน ที่อยู่ ใกล้เคียง กับ ที่นา พิพาท ซื้อ ขาย กัน ไร่ ละไม่เกิน 13,000 บาท ทั้ง จำเลย เอง ก็ มิได้ นำสืบ ให้ เห็นว่า ราคา ตลาดของ ที่ดิน ใกล้เคียง ซื้อ ขาย กัน ไร่ ละ เท่าใด จึง น่าเชื่อ ว่า ที่นาพิพาท มี ราคา ใน วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2531 ไร่ ละ ประมาณ 13,000 บาทข้อเท็จจริง จึง ฟังได้ ว่า ใน ขณะที่ นาง พยุง ขาย ที่นา พิพาท ให้ แก่ จำเลย ที่นา พิพาท มี ราคา ตลาด ไร่ ละ 13,000 บาท โจทก์ จึง ต้อง ซื้อ คืนใน ราคา ดังกล่าว ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ให้ โจทก์ ซื้อ ที่นา พิพาท จาก จำเลยใน ราคา ไร่ ละ 8,000 บาท รวมเป็น เงิน 216,000 บาท นั้น ศาลฎีกาไม่เห็น พ้อง ด้วย อนึ่ง ศาลฎีกา เห็นสมควร กำหนด เวลา ให้ โจทก์ชำระ ราคา ที่ จะ ขอ ซื้อ คืน ด้วย ” พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ โจทก์ ซื้อ ที่นา พิพาท จาก จำเลย ใน ราคา ไร่ ละ13,000 บาท โดย ให้ โจทก์ ชำระ ราคา ภายใน หก สิบ วันนับแต่ วัน มี คำพิพากษา ของ ศาลฎีกา มิฉะนั้น ให้ ถือว่า โจทก์ ไม่ติดใจ ขอ ซื้อ คืน นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share