คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

พยานโจทก์และพยานจำเลยเบิกความยันกันแต่จากพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยยังประสงค์จะอยู่กินเป็นสามีภริยากับโจทก์ส่วนโจทก์กลับไม่ประสงค์เช่นนั้นจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์อันจะเป็นการผิดสัญญาหมั้นดังฟ้อง

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ ประมาณ กลาง ปี 2534 โจทก์ ได้ เข้า พิธี หมั้นกับ จำเลย โดย มอบ สร้อยคอ ทองคำ หนัก 1 บาท ราคา 5,000 บาท แก่ จำเลยเป็น ของหมั้น และ ได้ สร้าง เรือนหอ บน ที่ดิน ของ จำเลย เสีย ค่าใช้จ่ายใน การ ปลูกสร้าง เป็น เงิน 200,000 บาท ต่อมา จำเลย ผิดสัญญา หมั้นโดย ไม่ยอม จดทะเบียนสมรส กับ โจทก์ และ ไม่ยอม ให้ โจทก์ร่วม ประเวณีทำให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย ต่อ ชื่อเสียง คิด เป็น เงิน 30,000 บาทรวมเป็น เงิน ค่าทดแทน 235,000 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน235,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ของ ต้นเงินดังกล่าว นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า ภายหลัง จาก โจทก์ กับ จำเลย ได้ มี การ หมั้น และแต่งงาน กัน ตาม ประเพณี แล้ว โจทก์ กับ จำเลย ได้ อยู่กิน ด้วยกัน ฉัน สามีภริยา ที่ บ้านเรือน หอ จำเลย เคย ชักชวน โจทก์ ไป จดทะเบียนสมรสให้ ถูกต้อง ตาม กฎหมาย แต่ โจทก์ กลับ เพิกเฉย และ โจทก์ ได้รับ ความเสียหายใน การ สร้าง เรือนหอ ไม่เกิน 50,000 บาท ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ทางพิจารณา โจทก์ นำสืบ ว่า เมื่อ ประมาณปลาย ปี 2534 โจทก์ ได้ หมั้น กับ จำเลย โดย มอบ สร้อยคอ ทองคำ หนัก 1 บาทราคา 5,000 บาท เป็น ของหมั้น หลังจาก นั้น โจทก์ ได้ ปลูกสร้าง เรือนหอเป็น สินสอด ลง บน ที่ดิน ของ จำเลย เสีย ค่าใช้จ่าย เป็น เงิน 200,000 บาทต่อมา เดือน พฤษภาคม 2535 โจทก์ จำเลย ทำ พิธี สมรส กัน ตาม ประเพณีและ อยู่กิน ด้วยกัน ที่ เรือนหอ ประมาณ 3 เดือน แล้ว จึง ชวน กัน ไป อยู่ ที่จังหวัด สงขลา ใน ระหว่าง ที่ โจทก์ จำเลย อยู่กิน ด้วยกัน จำเลย ไม่ยอมให้ โจทก์ร่วม ประเวณี และ โจทก์ เคย ชักชวน จำเลย ไป จดทะเบียนสมรสแต่ จำเลย ไม่ยินยอม ทำให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย นอกจาก ค่า ของหมั้นและ ค่า ปลูกสร้าง เรือนหอ แล้ว ยัง เสียหาย ต่อ ชื่อเสียง คิด เป็น เงิน30,000 บาท
จำเลย นำสืบ ว่า หลังจาก โจทก์ จำเลย ได้ ประกอบ พิธี สมรส ตาม ประเพณีแล้ว โจทก์ กับ จำเลย ได้ อยู่กิน ด้วยกัน ฉัน สามี ภริยา ที่ บ้านเรือน หอเป็น เวลา 3 เดือน ต่อ จาก นั้น โจทก์ กับ จำเลย ได้ ย้าย ไป อยู่ ที่จังหวัด สงขลา เป็น เวลา ประมาณ 2 เดือน แล้ว โจทก์ ได้ ขับไล่ จำเลยออกจาก บ้าน จำเลย จึง เดินทาง กลับมา พัก ที่ จังหวัด สตูล ใน ระหว่างที่ โจทก์ จำเลย อยู่กิน ด้วยกัน จำเลย เคย ชักชวน โจทก์ ไป จดทะเบียนสมรสให้ ถูกต้อง ตาม กฎหมาย หลาย ครั้ง แต่ โจทก์ พูดจา บ่ายเบี่ยง เรื่อย มาโจทก์ เสีย ค่าใช้จ่าย ใน การ สร้าง เรือนหอ ไม่เกิน 70,000 บาท
พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ ใน เบื้องต้น ว่าเมื่อ ปี 2534 โจทก์ หมั้น จำเลย ด้วย สร้อยคอ ทองคำ 1 เส้น หนัก 1 บาทราคา 5,000 บาท และ ปลูกเรือน หอลง ใน ที่ดิน ของ จำเลย ที่ อำเภอ เมือง สตูลจังหวัด สตูล ให้ เป็น สินสอด ต่อมา เดือน พฤษภาคม 2535 โจทก์ ประกอบพิธี สมรส กับ จำเลย ตาม ประเพณี และ อยู่อาศัย กับ จำเลย ที่ เรือนหอเป็น เวลา ประมาณ 3 เดือน จึง พา จำเลย ไป อยู่ ด้วยกัน ที่ จังหวัด สงขลาเป็น เวลา 2 เดือน หลังจาก นั้น จำเลย กลับมา อยู่ ที่ เรือนหอ ส่วน โจทก์กลับมา อยู่ ที่ บ้าน บิดา มารดา โจทก์ โดย โจทก์ จำเลย มิได้ อยู่ ด้วยกัน อีกมี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่า จำเลย ประพฤติ ผิดสัญญา หมั้นหรือไม่ โจทก์ เบิกความ ว่า โจทก์ เคย ชวน จำเลย ไป จดทะเบียนสมรสแต่ จำเลย ไม่ยอม โดย อ้างว่า ไม่ต้อง รีบ ค่อย จด ก็ ได้ นาย ม่อน พรหมเมศร์ พยานโจทก์ เบิกความ ว่า นาย ม่อน เคย พูด กับ มารดา จำเลย ช่วย ไกล่เกลี่ย ให้ อยู่กิน กัน ให้ เรียบร้อย และ จดทะเบียน กัน ให้ ถูกต้อง แต่ มารดา จำเลยเพิกเฉย และ นาย ไวพจน์ ไพศาล พยานโจทก์ เบิกความ ตอบ ทนายจำเลย ถาม ค้าน ว่า โจทก์ เคย บอก นาย ไวพจน์ หลัง โจทก์ กลับ จาก จังหวัด สงขลา ว่า จำเลย ไม่ยอม จดทะเบียน และ หนี กลับมา ส่วน พยาน จำเลย มี จำเลย เบิกความ ว่ามารดา จำเลย และ นาง พริ้ม ซึ่ง เป็น ผู้ใหญ่ ฝ่าย จำเลย ได้ บอก โจทก์ ใน วันทำการ สมรส ว่า ให้ โจทก์ พา จำเลย ไป จดทะเบียน ให้ ถูกต้อง โดย โจทก์รับปาก ว่า จะ พา จำเลย ไป จดทะเบียน ใน วันรุ่งขึ้น จำเลย พูด กับ โจทก์หลาย ครั้ง เป็น ระยะ ๆ ตลอด ระยะเวลา 5 เดือน ว่า ให้ ไป จดทะเบียนสมรส กันแต่ โจทก์ พูดจา บ่ายเบี่ยง ตลอดมา และ เหตุ ที่ จำเลย กลับ จังหวัด สตูลเพราะ โจทก์ ไล่ แต่ หลังจาก กลับมา จาก จังหวัด สงขลา แล้ว จำเลย ได้ ไป พบโจทก์ 3 ถึง 4 ครั้ง เพื่อ ให้ โจทก์ กลับ ไป อยู่ ที่ เรือนหอ แต่ โจทก์ให้ จำเลย กลับ ไป ก่อน นอกจาก นี้ จำเลย มี นาง เล็ก เพชรนาค มารดา จำเลย และ นาง พริ้ม ชูนวล มา เบิกความ เป็น พยาน จำเลย ยืนยัน ต้อง กับ คำเบิกความ ของ จำเลย ว่า นาง เล็กและนางพริ้ม บอกกล่าว แก่ โจทก์ ใน วัน ประกอบ พิธี สมรส ว่า ให้ โจทก์ พา จำเลย ไป จดทะเบียนสมรส ให้ ถูกต้องซึ่ง โจทก์ รับปาก ว่า จะ จัดการ ให้ เรียบร้อย ใน วันรุ่งขึ้น และ นาง เล็ก ยัง เบิกความ อีก ว่า ใน เดือน พฤศจิกายน 2535 จำเลย กลับมา บ้าน บอก ว่าโจทก์ ไล่ จำเลย ออกจาก บ้าน นาง เล็ก จึง แนะนำ จำเลย ให้ ไป บอก บิดา มารดา โจทก์ ต่อมา จำเลย เล่า ให้ ฟัง ว่า ได้ ไป บอก แล้ว บิดา มารดา โจทก์ บอก ว่าจะ รับ ตัว โจทก์ มา อยู่ ที่ เรือนหอ อีก แต่ โจทก์ ก็ มิได้ มา เห็นว่าพยานโจทก์ และ พยาน จำเลย ต่าง เบิกความ ยัน กัน แต่ จาก พฤติการณ์ ที่ จำเลยยอม อยู่กิน กับ โจทก์ ที่ เรือนหอ เป็น เวลา ประมาณ 3 เดือน และ ตาม ไปอยู่กิน กับ โจทก์ ที่ จังหวัด สงขลา เป็น เวลา 2 เดือน แล้ว จึง กลับมา อยู่ที่ เรือนหอ ส่วน โจทก์ ไม่ยอม กลับมา อยู่ ที่ เรือนหอ กับ จำเลย อีกและ โจทก์ เบิกความ ตอบ ทนายจำเลย ถาม ค้าน ว่า หลังจาก โจทก์ เดินทาง มาจาก จังหวัด สงขลา แล้ว นาย ม่อน เคย ไป พบ โจทก์ พูด ชักชวน โจทก์ ไป คืน ดี กับ จำเลย แต่ โจทก์ ไม่ยอม แสดง ให้ เห็นว่า จำเลย ยัง มี ความ ประสงค์จะ อยู่กิน เป็น สามี ภริยา กับ โจทก์ ส่วน โจทก์ กลับ ไม่มี ความ ประสงค์เช่นนั้น ข้อเท็จจริง จึง ไม่อาจ รับฟัง ได้ ตาม ที่ โจทก์ นำสืบ ว่า จำเลยไม่ยอม จดทะเบียนสมรส กับ โจทก์ และ ไม่ น่าเชื่อ ว่า ตลอด เวลา ที่อยู่ด้วยกัน จำเลย จะ ไม่ยอม ให้ โจทก์ร่วม ประเวณี เลย อัน จะ ถือว่า จำเลยประพฤติ ผิดสัญญา หมั้น ดัง ฟ้องโจทก์ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายก ฟ้องโจทก์ ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share