คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

ในสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่าโจทก์ผู้ขายเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าโดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราวดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา572แต่สัญญาดังกล่าวนอกจากใช้ชื่อว่าหนังสือสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขแล้วข้อความตามหนังสือสัญญาดังกล่าวเห็นได้ว่าเป็นสัญญาซื้อขายรถยนต์โดยโจทก์ผู้ขายยอมให้จำเลยผู้ซื้อผ่อนชำระราคามีเงื่อนไขว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เมื่อผู้ซื้อผ่อนชำระราคาครบถ้วนแล้วทั้งในกรณีผิดนัดผิดสัญญาหรือทรัพย์ตามสัญญาสูญหายก็ยังให้สิทธิผู้ขายได้รับชำระค่ารถส่วนที่ยังค้างชำระเต็มราคาค่ารถที่ซื้อขายแสดงให้เห็นว่ากรณีจะเป็นประการใดก็ตามคู่กรณีมีเจตนาให้ผู้ขายได้รับชำระราคารถยนต์ที่ซื้อขายจนครบถ้วนเท่านั้นไม่มีข้อตกลงว่าถ้าผู้ซื้อผิดนัดผิดสัญญาให้ผู้ขายริบบรรดาเงินที่ผู้ซื้อได้ใช้มาแล้วและผู้ขายเข้าครองรถยนต์เป็นของตนดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา574สัญญาพิพาทจึงเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิตามมาตรา459หาใช่สัญญาเช่าซื้อไม่การที่ผู้ขายกำหนดเงื่อนไขการรักษาการใช้และการเอาประกันภัยรถยนต์ในระหว่างผ่อนใช้ราคาไม่ครบก็ดีให้ผู้ซื้อต้องมีผู้ค้ำประกันในการปฏิบัติตามสัญญาก็ดีก็เป็นเพียงการสงวนทรัพย์สินและแสวงหาหลักประกันของผู้เขายเพื่อให้ได้รับชำระราคาครบถ้วนแน่นอนยิ่งขึ้นเท่านั้นหาเป็นเหตุให้สัญญากลายเป็นการเช่าซื้อไม่ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขระบุว่าแม้ว่าสัญญาฉบับนี้จะผ่านการโอนการต่ออายุหรือการเปลี่ยนมืออย่างใดหรือตัวยานยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาต้องประสบความสูญเสียเสียหายหรือย่อยยับประการใดผู้ซื้อก็หาหลุดพ้นจากหน้าที่รับผิดตามสัญญาฉบับนี้แต่อย่างใดไม่ข้อสัญญาดังกล่าวมีความหมายรวมตลอดถึงยานยนต์สูญหายไปเพราะเหตุถูกคนร้ายลักไปด้วยฉะนั้นเมื่อระหห่างที่จำเลยชำระเงินค่าซื้อรถยนต์ตามสัญญายังไม่ครบถ้วนรถถูกคนร้ายลักไปยังไม่ได้กลับคืนมาจำเลยก็ยังคงต้องรับผิดชำระราคารถยนต์แก่โจทก์จนครบถ้วนข้อสัญญาดังกล่าวข้างต้นเป็นการยกเว้นบทบัญญัติมาตรา372วรรคแรกซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิใช่กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนคู่สัญญาย่อมตกลงกันให้เป็นอย่างอื่นได้ข้อสัญญานั้นจึงไม่ตกเป็นโมฆะตามมาตรา114 เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องชำระราคารถยนต์ให้โจทก์แม้รถนั้นจะสูญหายไปแต่จำเลยมิได้ชำระจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้วจึงเป็นผลให้สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขฉบับพิพาทสิ้นสุดลงคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามมาตรา391จำเลยต้องคืนรถให้โจทก์และโจทก์ต้องคืนเงินค่ารถที่ได้รับไว้แล้วพร้อมดอกเบี้ยให้จำเลยแต่ปรากฏว่ารถยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาสูญหายเพราะถูกลักไปยังไม่ได้คืนจำเลยไม่สามารถส่งรถยนต์คืนให้โจทก์ได้จำเลยที่1จึงต้องชำระราคารถให้แทนโดยชำระเฉพาะส่วนที่ยังส่งไม่ครบพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันเลิกสัญญาตามมาตรา224.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ทำ สัญญา ซื้อขาย มี เงื่อนไข กับ โจทก์โดย ซื้อ รถยนต์ ใน ราคา 92,670 บาท ชำระ เงิน วัน ทำ สัญญา 12,000บาท ที่เหลือ ชำระ เป็น งวดๆ งวดละ 2,689 รวม 30 งวด จำเลย ที่ 2เป็น ผู้ค้ำประกัน ใน ฐานะ ลูกหนี้ ร่วม จำเลย ชำระ เงิน งวด ให้ โจทก์เพียง 4 งวด แล้ว ไม่ ชำระ อีก ขอ ให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน ที่ค้าง 69,932 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่ วัน ผิดนัดจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า รถยนต์ ที่ พิพาท ถูก ขโมย ไป โจทก์ ได้ รับเงิน จาก บริษัท ประกันภัย แล้ว จึง ไม่ ถูก โต้แย้ง สิทธิ ไม่ มีอำนาจฟอ้ง โจทก์ มา ฟ้อง เรียก ค่าเสียหาย ว่าด้วย การ เช่าซื้อฟ้อง โจทก์ ขาด อายุความ
จำเลย ที่ 2 ขาดนัด ยื่น คำให้การ และ ขาดนัด พิจารณา
ศาลชั้นต้น พิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ จำเลย ทั้งสอง ร่วมกัน ชำระ ราคา รถยนต์ที่ ค้าง อยู่ 69,914 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2521 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า จาก ข้อความ ตาม หนังสือ สัญญา เห็น ได้ ว่าเป็น สัญญา ซื้อขาย รถยนต์ โดย ผู้ขาย ยอม ให้ ผู้ซื้อ ผ่อน ชำระ ราคามี เงื่อนไข ว่า จะ โอน กรรมสิทธิ์ ให้ เมื่อ ผู้ซื้อ ผ่อน ชำระ ราคาครบถ้วน แล้ว ไม่ มี ข้อความ ตอนใด แสดง ให้ เห็น ว่า ผู้ขาย เอาทรัพย์สิน ออก ให้ เช่า และ ให้ คำมั่น ว่า จะ ขาย ทรัพย์สิน นั้นหรือ จะ ให้ ทรัพย์สิน นั้น ตก เป็น สิทธิ แก่ ผู้เช่า โดย เงื่อนไขที่ ผู้เช่า ได้ ใช้ เงิน เป็น จำนวน เท่านั้น เท่านี้ คราว ดัง ที่บัญญัติ ไว้ ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 ทั้ง ใน กรณีผิดนัด ผิดสัญญา หรือ ทรัพย์ ตาม สัญญา สูญหาย ก็ ยัง ให้ สิทธิ ผู้ขายได้ รับ ชำระ ค่า รถ ส่วน ที่ ยัง ค้าง ชำระ เต็ม ราคา ค่า รถ ที่ซื้อ ขาย ตาม สัญญา ข้อ 4, 5, 9, 10, 11 และ 12 แสดง ให้ เห็น ว่ากรณี จะ เป็น ประการ ใด ก็ ตาม คู่สัญญา มี เจตนา ให้ ผู้ขาย ได้ รับชำระ ราคา รถยนต์ ที่ ซื้อ ขาย จน ครบถ้วน เท่านั้น หา ได้ มี ข้อตกลงที่ พอ จะ แสดง ให้ เห็น ว่า ถ้า ผู้ซื้อ ผิดนัด ผิด สัญญา ให้ ผู้ขายริบ บรรดา เงิน ที่ ผู้ซื้อ ได้ ใช้ มา แล้ว และ ผู้ขาย เข้า ครองรถยนต์ เป็น ของ ตน ดัง ที่ บัญยัติ ไว้ ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 574 แต่ อย่างใด ไม่ สัญญา เอกสาร หมาย จ.2 และ ล.1 จึง เป็นสัญญา ซื้อขาย โดย มี เงื่อนไข ใน การ โอน กรรมสิทธิ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 หา ใช่ สัญญา เช่าซื้อ ไม่การ ที่ ผู้ขาย กำหนด เงื่อนไข การ รักษา การ ใช้ และ การ เอา ประกันภัยรถยนต์ ใน ระหว่าง ผ่อน ใช้ ราคา ไม่ ครบถ้วน ตาม สัญญา ข้อ 6 และ7 ก็ดี ให้ ผู้ซื้อ ต้อง มี ผู้ค้ำประกัน ใน การ ปฏิบัติ ตาม สัญญาก็ ดี ก็ เป็น เพียง การ สงวน ทรัพย์สิน และ แสวงหา หลักประกัน ของผู้ขาย เพื่อ ให้ ได้ รับ ชำระ ราคา ครบถ้วน แน่นอน ยิ่งขึ้น เท่านั้นหา เป็น เหตุ ให้ กลับกลาย เป็น สัญญา เช่าซื้อ ไป ได้ ไม่ ฎีกาจำเลย ที่ 1 ฟัง ไม่ ขึ้น
อนึ่ง ข้อเท็จจริง ปรากฏ ว่า หลังจาก โจทก์ และ จำเลย ทำ สัญญา ซื้อขายมี เงื่อนไข เอกสาร หมาย จ.2 และ ล.1 แล้ว 6 เดือน รถยนต์ คัน ที่ซื้อขาย กัน ก็ ถูก ลัก ไป จน บัดนี้ ยัง ไม่ ได้ รถยนต์ คัน ดังกล่าวกลับคืน มา จึง มี ปัญหา ว่า จำเลย ที่ 1 จะ ต้อง รับ ผิด ชำระ ราคารถยนต์ ที่ ยัง เหลือ หรือไม่ พิเคราะห์ แล้ว หนังสือ สัญญา ซื้อขายมี เงื่อนไข เอกสาร หมาย จ.2 และ ล.1 ข้อ 4 ระบุ ว่า ‘แม้ ว่า สัญญาฉบับนี้ จะ ผ่าน การ โอน การ ต่อ อายุ หรือ การ เปลี่ยนมือ อย่างใดๆหรือ ตัว ยานยนต์ อัน เป็น วัตถุ แห่ง สัญญา ต้อง ประสบ ความ สูญเสียเสียหาย หรือ ย่อยยับ ประการใด ผู้ซื้อ ก็ หา หลุดพ้น จาก หน้าที่รับผิด ตาม สัญญา ฉบับนี้ แต่ อย่างใด ไม่ฯลฯ’ ศาลฎีกา เห็น ว่าคำว่า ยานยนต์ อัน เป็น วัตถุ แห่ง สัญญา ต้อง ประสบ ความ สูญเสีย ตามสัญญา ข้อนี้ มี ความหมาย รวม ตลอดถึง ยานยนต์ สูญหาย ไป เพราะ เหตุถูก คนร้าย ลัก ไป ด้วย ฉะนั้น เมื่อ ระหว่าง ที่ จำเลย ชำระ เงินค่า ซื้อ รถยนต์ ตาม สัญญา ยัง ไม่ ครบถ้วน รถยนต์ ดังกล่าว ได้ หายไป หรือ เสียหาย ด้วย ประการ ใดๆ ก็ ตาม จำเลย ก็ ยัง คง ต้อง รับผิดชำระ ราคา รถยนต์ ให้ แก่ โจทก์ จน ครบถ้วน ข้อสัญญา ดังกล่าว เป็นการ ยกเว้น บทบัญญัติ มาตรา 372 วรรคแรก แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่ง บัญญัติ ว่า ‘นอกจาก กรณี ที่กล่าว ไว้ ใน สอง มาตรา ก่อน ถ้า การ ชำระ หนี้ ตก เป็น พ้น วิสัยเพราะ เหตุ อย่างใด อย่างหนึ่ง อัน จะ โทษ ฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใด ก็ ไม่ ได้ไซร้ ท่าน ว่า ลูกหนี้ หา มี สิทธิ จะ รับ ชำระ หนี้ ตอบแทน ไม่’บทบัญญัติ ดังกล่าว นี้ มิใช่ กฎหมาย อัน เกี่ยวด้วย ความ สงบ เรียบร้อยหรือ ศีลธรรม อันดี ของ ประชาชน คู่ สัญญา ย่อม ตกลง กัน เป็น อย่างอื่นได้ สัญญา ข้อ 4 แห่ง เอกสาร หมาย จ.2 และ ล.1 จึง ไม่ ตก เป็น โมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 114 เมื่อ ข้อเท็จจริง ปรากฏตาม เอกสาร หมาย ล.2 ว่า น้องชาย จำเลย ขับ รถยนต์ คัน ที่ ซื้อขายกัน ไป รับจ้าง แล้ว สูญหาย ไป ตั้งแต่ วันที่ 9 กรกฎาคม 2521 จำเลยจึง ต้อง รับผิด ชำระ ราคา รถยนต์ ตาม สัญญา ข้อ 4 เมื่อ จำเลย มิได้ชำระ ตั้งแต่ งวด เดือน กรกฎาคม 2521 จำเลย จึง เป็น ฝ่าย ผิด สัญญาโจทก์ มี สิทธิ บอกเลิก สัญญา ได้ ข้อเท็จจริง ปรากฏ ว่า โจทก์ ได้บอกเลิก สัญญา แก่ จำเลย ทั้งสอง ตั้งแต่ วันที่ 24 ตุลาคม 2521ตาม เอกสาร หมาย จ.3 จำเลย ทั้งสอง ได้ รับ หนังสือ บอกเลิก สัญญาดังกล่าว แล้ว ตาม เอกสาร หมาย จ.4 และ จ.5 จึง เป็น ผล ให้ สัญญาซื้อขาย มี เงื่อนไข เอกสาร หมาย จ.2 และ ล.1 สิ้นสุด ลง คู่ สัญญาแต่ละ ฝ่าย จำต้อง กลับคืน สู่ ฐานะ เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 จำเลย ที่ 1 ต้อง คืน รถยนต์ให้ โจทก์ และ โจทก์ ต้อง คืน เงิน ค่า รถ ที่ ได้ รับ ไว้ แล้วพร้อม ดอกเบี้ย ให้ จำเลย ที่ 1 แต่ ปรากฏ ว่า รถยนต์ อัน เป็น วัตถุแห่ง สัญญา สูญหาย เพราะ ถูก ลัก ไป ยัง ไม่ ได้ คืน จำเลย ที่ 1 ไม่สามารถ ส่ง รถยนต์ คืน ให้ โจทก์ ได้ จำเลย ที่ 1 จึง ต้อง ชำระ ราคารถ ให้ แทน โดย ชำระ เฉพาะ ส่วน ที่ ยัง ส่ง ไม่ ครบ พร้อมด้วย ดอกเบี้ย แต่ ที่ ศาลอุทธรณ์ ให้ จำเลย ทั้งสอง ร่วมกัน ชำระ ดอกเบี้ย อัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตั้งแต่ วัน ผิดนัด จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์นั้น ยัง ไม่ ชอบ เพราะ หลังจาก เลิก สัญญา กัน แล้ว เงื่อนไขข้อ ตกลง ต่างๆ ใน สัญญา ย่อม ระงับ สิ้นไป จะ นำ มา ใช้ บังคับ แก่กัน ต่อ ไป ไม่ ได้ จำเลย ทั้งสอง จึง ไม่ จำต้อง ชำระ ดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ 15 ต่อปี ตาม สัญญา ข้อ 5 วรรคสอง อีก ต่อไป จะ ต้องนำ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 มา ใช้ บังคับ แทน โดย คิดดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7 ครึ่ง ต่อปี นับแต่ วัน เลิก สัญญา ไปจนกว่า จะ ชำระ ให้ โจทก์ เสร็จ
พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ทั้งสอง ร่วมกัน ชำระ ดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่ วันที่ 20 กรกฎาคม 2521 ถึง วันที่24 ตุลาคม 2521 หลังจาก นั้น ให้ คิด ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์

Share