คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7237/2537

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวมให้เฉพาะโจทก์และยื่นคำร้องขอให้เรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีและยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้แบ่งที่ดินให้โจทก์ร่วมเมื่อโจทก์และโจทก์ร่วมมิได้ฎีกาเกี่ยวกับเรื่องนี้โจทก์ร่วมจึงเป็นบุคคลนอกคดีศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาโจทก์ที่ขอให้แบ่งที่ดินให้โจทก์ร่วมด้วย

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 202เนื้อที่ 64 ไร่ 3 งาน 64 ตารางวา ร่วม กับ จำเลย ทั้ง สาม และ นาย สมไชย ปลื้มไสยยาศน์ โดย โจทก์ มี กรรมสิทธิ์ เนื้อที่ 10 ไร่ แต่ ปรากฏว่า ที่ดิน ดังกล่าว มี จำนวน เนื้อที่ เกินกว่า ที่ ระบุ ไว้ ใน โฉนด ถึง ประมาณ25 ไร่ ซึ่ง โจทก์ มี กรรมสิทธิ์รวม ด้วย เนื้อที่ ประมาณ 3 ไร่ 3 งาน 50ตารางวา โจทก์ และ นาย สมไชย ประสงค์ จะ ขอ แบ่งแยก โฉนด ที่ดิน ออก เป็น สัดส่วน แต่ จำเลย ทั้ง สาม เพิกเฉย ทำให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สาม แบ่งแยก ที่ดินพิพาท ให้ โจทก์ จำนวน13 ไร่ 3 งาน 50 ตารางวา โดย ทิศเหนือ ติด ที่ดิน โฉนด เลขที่ 41ทิศใต้ ติด ที่ดิน ที่ จำเลย ทั้ง สาม ครอบครอง ทิศตะวันออก ติด คลอง ต้น ไทรและ ทิศตะวันตก ติด คลอง อ้อม หาก ไม่ ดำเนินการ ให้ ถือเอา คำพิพากษาแทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย ทั้ง สาม ถ้า ไม่สามารถ ทำได้ ให้ นำ ที่ดินพิพาท ออก ขายทอดตลาด นำ เงิน มา แบ่ง ให้ โจทก์ ตาม ส่วน
โจทก์ ยื่น คำร้องขอ ให้ เรียก นาย สมไชย ปลื้มไสยยาศน์ เข้า มา เป็น โจทก์ร่วม ศาลชั้นต้น อนุญาต
จำเลย ทั้ง สาม ให้การ ทำนอง เดียว กัน ว่า โจทก์ มิใช่ เจ้าของกรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท ที่ แท้จริง แต่ เป็น เพียง ผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน นาง ลำใย กับ นาย สุวรรณ แก้วสีเขียว เท่านั้น ที่ดินพิพาท มิได้ มี เนื้อที่ดิน เกินกว่า ที่ ระบุ ไว้ ใน โฉนด หาก มี เนื้อที่ดิน ส่วนที่ เกิน โจทก์ ก็ ไม่มี กรรมสิทธิ์ และ โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า ที่ดิน โฉนด เลขที่ 202เลขที่ ดิน 44 มี เนื้อที่ 78 ไร่ 3 งาน 89 ตารางวา มี อาณาเขตทั้ง เส้น ปากกา สีแดง และ มี สี ม่วง รวมกัน ตาม แผนที่ พิพาท เอกสาร หมาย ล. 2ให้ จำเลย ทั้ง สาม แบ่งแยก โฉนด ที่ดิน ดังกล่าว ให้ โจทก์ และ โจทก์ร่วมโดย แบ่ง ที่ดินพิพาท ออก เป็น 31,589 ส่วน โจทก์ มี กรรมสิทธิ์4,866.6 ส่วน และ โจทก์ร่วม มี กรรมสิทธิ์ 5,344.4 ส่วน หาก จำเลยทั้ง สาม ไม่ ดำเนินการ แบ่งแยก โฉนด ให้ โจทก์ และ โจทก์ร่วม ให้ ถือเอาคำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย ทั้ง สาม โดย ถือว่า โจทก์ ได้รับที่ดินพิพาท ทาง ด้าน ทิศเหนือ ลง มา และ โจทก์ร่วม ได้รับ ที่ดินพิพาท ทางด้าน ทิศใต้ ขึ้น ไป ทั้งนี้ จน ครบ ตาม ส่วน ของ โจทก์ และ โจทก์ร่วม
จำเลย ทั้ง สาม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์ และ ให้ยก คำสั่ง และคำพิพากษา ศาลชั้นต้น ส่วน ที่ เกี่ยวกับ โจทก์ร่วม
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ที่ โจทก์ ฎีกา ขอให้ แบ่ง ที่ดิน ให้ โจทก์ร่วมด้วย นั้น เห็นว่า คดี นี้ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายก คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้นที่ ให้ เรียก โจทก์ร่วม เข้า มา ใน คดี และ ยก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น เกี่ยวกับโจทก์ร่วม โดย โจทก์ และ โจทก์ร่วม มิได้ ฎีกา เกี่ยวกับ เรื่อง นี้คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ใน ส่วน นี้ จึง ยุติ โจทก์ร่วม จึง เป็น บุคคล นอก คดีศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ที่ดิน โฉนด เลขที่ 202 เลขที่ ดิน 44ตำบล ศีรษะจรเข้น้อย อำเภอบางพลี จังหวัด สมุทรปราการ มี เนื้อที่ 78 ไร่ 3 งาน 89 ตารางวา มี อาณาเขต ทั้ง เส้น ปากกา สีแดง และ สี ม่วงรวมกัน ตาม แผนที่ พิพาท เอกสาร หมาย ล. 2 ให้ จำเลย ทั้ง สาม แบ่งแยกที่ดิน ตาม โฉนด ดังกล่าว ให้ โจทก์ โดย แบ่ง ที่ดิน ออก เป็น 31,589 ส่วนโจทก์ มี กรรมสิทธิ์ 4,866.6 ส่วน โดย ได้รับ ที่ดิน ทาง ทิศเหนือ ลง มา จนครบ ส่วน ของ โจทก์ หาก จำเลย ทั้ง สาม ไม่ ดำเนินการ แบ่งแยก ให้ ถือเอาคำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย ทั้ง สาม นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไปตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share