แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
เมื่อศาลวินิจฉัยให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นแก่โจทก์โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคาร ออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วรรคท้ายคดีนี้ไม่มีการวางเงินค่าทดแทนดังนั้นวันที่เริ่มต้นคิดดอกเบี้ยคือวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนซึ่งมาตรา11วรรคแรกบัญญัติว่าในกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา10ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวทั้งหมดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายกันเมื่อวันที่8มีนาคม2531จำเลยจึงต้องจ่ายเงินค่าที่ดินที่ถูกเวนคืนแก่โจทก์ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่8มีนาคม2531คือภายในวันที่6กรกฎาคม2531ซึ่งเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา26วรรคท้ายจำเลยจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยให้แก่โจทก์นับแต่วันที่6กรกฎาคม2531 โจทก์ฎีกาว่าคณะกรรมการปรองดองและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยขาดความรอบคอบและไม่เป็นธรรมโดยโจทก์ไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอย่างไรบ้างและที่ถูกต้องทั้งตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายควรจะเป็นอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้กล่าวโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 21 มิถุนายน 2523 ได้ มี พระราชกฤษฎีกากำหนด แนว ทางหลวง ที่ จะ สร้าง ทางหลวง พิเศษ สาย พระประแดง -บางแค -ตลิ่งชัน -บางบัวทอง ตอน พระประแดง -บางแค -ตลิ่งชัน พ.ศ. 2523เพื่อ สร้าง ทางหลวง พิเศษ ปรากฏว่า บริเวณ ที่ดิน ซึ่ง กำหนด ไว้ ใน แผนที่ทางหลวง พิเศษ ผ่าน เข้า ไป ใน ที่ดิน ของ โจทก์ เป็น เนื้อที่ 67 ตารางวาจำเลย ได้ กำหนดราคา ทดแทน ให้ แก่ โจทก์ เป็น เงิน 36,900 บาท ซึ่ง เป็นราคา ที่ ต่ำกว่า ราคา ที่ แท้จริง โจทก์ ได้ ยื่น อุทธรณ์ ต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดย ขอให้ กำหนดราคา ค่าทดแทน ตาม ราคา ใน วัน ใช้ บังคับพระราชกฤษฎีกา ฯ ใน ราคา ตารางวา ละ 7,000 บาท คณะกรรมการ อุทธรณ์ได้ กำหนดราคา ที่ดิน ของ โจทก์ ตารางวา ละ 1,200 บาท แต่ โจทก์ เห็นว่าเป็น ราคา ต่ำกว่า ราคา ที่ เป็น จริง มาก ขอให้ บังคับ จำเลย กำหนด ค่าทดแทนให้ โจทก์ ตาม ความเป็นธรรม และ เป็น จริง ใน ราคา ตารางวา ละ 7,000 บาทที่ดิน ของ โจทก์ 67 ตารางวา คิด เป็น เงิน ค่าทดแทน จำนวน 469,000 บาทเมื่อ นำ ค่าทดแทน ที่ โจทก์ ได้รับ ไป แล้ว เป็น เงิน 80,400 บาท มา หัก ออกแล้ว ยัง ขาด ค่าทดแทน ที่ โจทก์ ควร ได้รับ อีก จำนวน 388,600 บาท พร้อมดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 2 กรกฎาคม 2523ซึ่ง เป็น วันที่ ใช้ บังคับ พระราชกฤษฎีกา ฯ จน ถึง วันฟ้อง รวมเป็น ต้นเงินและ ดอกเบี้ย จำนวน 638,761.25 บาท และ ให้ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย ใน ต้นเงิน388,600 บาท ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วัน ถัด จาก วันฟ้องเป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระหนี้ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ได้ กำหนด ค่าทดแทน การ เวนคืน ที่ดินให้ แก่ โจทก์ โดย ถูกต้อง ตาม หลักเกณฑ์ ที่ กฎหมาย กำหนด ไว้ แล้ว โจทก์ จึงไม่มี สิทธิ คิด ดอกเบี้ย ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ใช้ เงิน แก่ โจทก์ จำนวน 17.88 บาทคำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ชำระ เงินเพิ่ม ให้ แก่โจทก์ จำนวน 93,800 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีนับแต่ วันที่ 2 กรกฎาคม 2523 ซึ่ง เป็น วันที่ พระราชกฤษฎีกา ฯใช้ บังคับ เป็นต้น ไป จนกว่า ชำระ เสร็จ นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้น
โจทก์ และ จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง ที่ ยุติ ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ฟังได้ ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด ที่ 7379แขวง บางแค เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 100 ตารางวา เมื่อ วันที่ 21 มิถุนายน 2523 ได้ มี พระราชกฤษฎีกา กำหนด แนว ทางหลวงที่ จะ สร้าง ทางหลวง พิเศษ สาย พระประแดง -บางแค -ตลิ่งชัน -บางบัวทองตอน พระประแดง -บางแค -ตลิ่งชัน พ.ศ. 2523 ประกาศ ใน ราชกิจจานุเบกษาเมื่อ วันที่ 2 กรกฎาคม 2523 โดย มีผล ใช้ บังคับ ใน วันที่ 3 กรกฎาคม2523 ที่ดิน ของ โจทก์ ดังกล่าว ถูก เวนคืน เป็น เนื้อที่ 67 ตารางวาต่อมา เมื่อ พ.ศ. 2530 จำเลย ได้ เข้า ครอบครอง ที่ดิน ของ โจทก์ ที่ ถูกเวนคืน โดย ได้ ทำ สัญญาซื้อขาย กัน ใน วันที่ 8 มีนาคม 2531 และ จำเลยกำหนด เงิน ค่าทดแทน ให้ แก่ โจทก์ จำนวน 36,900 บาท โจทก์ ได้ มี หนังสือยื่น อุทธรณ์ ต่อ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม ขอ ค่าทดแทน ที่ดินเพิ่มขึ้น รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม ได้ กำหนด ค่าทดแทน ที่ดินให้ แก่ โจทก์ ใน ราคา ตารางวา ละ 1,200 บาท และ โจทก์ ได้รับ เงิน ค่าทดแทนใน ส่วน ที่ เพิ่มขึ้น ไป แล้ว
ที่ จำเลย ฎีกา ว่า จำเลย จะ ต้อง เสีย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ของ ต้นเงิน จำนวน 93,800 บาท ตั้งแต่ วันที่ 4 กรกฎาคม2531 ซึ่ง เป็น วันที่ ต้อง มี การ จ่ายเงิน หรือ วางเงิน ค่าทดแทนมิใช่ วันที่ 2 กรกฎาคม 2523 ซึ่ง เป็น วันที่ พระราชกฤษฎีกา ฯใช้ บังคับ นั้น พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคท้าย บัญญัติ ว่า ใน กรณี ที่ รัฐมนตรี หรือศาล วินิจฉัย ให้ ชำระ เงิน ค่าทดแทน เพิ่มขึ้น ให้ ผู้มีสิทธิ ได้รับเงิน ค่าทดแทน ได้รับ ดอกเบี้ย ใน อัตรา สูงสุด ของ ดอกเบี้ย เงินฝาก ประเภทฝาก ประจำ ของ ธนาคาร ออมสิน ใน จำนวน ที่ เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นับแต่ วันที่ ต้อง มี การ จ่าย หรือ วางเงิน ค่าทดแทน นั้น และ มาตรา 11 วรรคแรกบัญญัติ ว่า ใน กรณี ที่ มี การ ตกลง ซื้อ ขาย อสังหาริมทรัพย์ กัน ได้ ตามมาตรา 10 ให้ เจ้าหน้าที่ หรือ ผู้ซึ่ง ได้รับ มอบหมาย จาก เจ้าหน้าที่จ่ายเงิน ค่า อสังหาริมทรัพย์ ดังกล่าว ทั้งหมด ให้ แก่ เจ้าของ หรือผู้ครอบครอง โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ภายใน หนึ่ง ร้อย ยี่สิบ วัน นับแต่ วันที่ทำ สัญญาซื้อขาย คดี นี้ ได้ มี การ ทำ สัญญาซื้อขาย กัน เมื่อ วันที่ 8มีนาคม 2531 จำเลย จึง ต้อง จ่ายเงิน ค่าที่ดิน ที่ ถูก เวนคืน แก่ โจทก์ภายใน หนึ่ง ร้อย ยี่สิบ วัน นับแต่ วันที่ 8 มีนาคม 2531 ซึ่ง ก็ คือภายใน วันที่ 6 กรกฎาคม 2531 ดังนั้น วันที่ ต้อง มี การ จ่ายเงินค่าทดแทน ตาม มาตรา 26 วรรคท้าย ก็ คือ วันที่ 6 กรกฎาคม 2531จำเลย จึง ต้อง จ่าย ดอกเบี้ย ให้ แก่ โจทก์ ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีนับแต่ วันที่ 6 กรกฎาคม 2531 หาใช่ วันที่ 2 กรกฎาคม 2523 ซึ่ง เป็นวันที่ พระราชกฤษฎีกา ฯ ใช้ บังคับ ดัง ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ส่วน ฎีกาของ โจทก์ ที่ ขอให้ กำหนดราคา ที่ดิน ที่ ถูก เวนคืน ให้ แก่ โจทก์ ตาม ฟ้อง นั้นฎีกา ของ โจทก์ กล่าว โดย สรุป ได้ว่า คณะกรรมการ ปรองดอง และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กำหนด ค่าทดแทน ให้ แก่ โจทก์ โดย ขาด ความ รอบคอบ และไม่เป็นธรรม โดย โจทก์ ไม่ได้ โต้แย้ง หรือ คัดค้าน คำวินิจฉัย ของศาลอุทธรณ์ ว่า ไม่ถูกต้อง ตาม ข้อเท็จจริง หรือ ข้อกฎหมาย อย่างไร บ้างและ ที่ ถูกต้อง ทั้ง ตาม ข้อเท็จจริง และ ข้อกฎหมาย ควร จะ เป็น อย่างไรจึง เป็น ฎีกา ที่ ไม่ได้ กล่าว โดยชัดแจ้ง ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย นับแต่ วันที่6 กรกฎาคม 2531 นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์สำหรับ ฎีกา ของ โจทก์ ให้ยก